วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

Reformation , Martin Luther และดนตรีตะวันตก


ในช่วง ศตวรรษที่ 16 ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วง Late Renaisance มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นคือ การปฏิรูปศาสนา (Reformation) โดยนักบวชชาวเยอรมันชื่อ Martin Luther เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ โดยมีสาเหตุจาก ศาสนจักรในช่วงนี้กำลังเสื่อมถอยลงเนื่องจากพฤติกรรมของพวกพระหรือแม้กระทั่งพระสันตะปาปาเอง ผู้ที่มีอำนาจทางศาสนาเหล่านั้นต่างใช้อำนาจศาสนาในทางที่ผิดเช่น การขายใบใถ่บาป ซึ่งผู้ที่มีฐานะสามารถใถ่บาปได้แต่ผู้คนที่ยากจนนั้นไม่สามารถใถ่บาปได้เพราะไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน หรือการที่พระคาร์ดินัลและบิชอปต่างทำตัวหรูหราฟุ่มเฟือยในขณะที่ประชาชนยากจน นักบวชอยากมีภรรยา และที่ปรากฎความเลวร้ายที่ชัดเจนที่สุดคือการซื้อขายตำแหน่งกัน แม้กระทั่งพระสันตะปาปาบางพระองค์ได้รับการครหาว่าติดสินบนเช่นกัน
แต่ยังมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยอยู่หลายคนและเริ่มออกมาคัดค้านการกระทำนี้ แต่ศาสนจักรมีอำนาจมากมาย ผู้ที่กล้าออกมาคัดค้านทั้งหลายจึงถูกหาว่าเป็นพวกนอกศาสนาและถูกจับประหารชีวิตไปหลายคน แต่ Martin Luther สามารถแผ่ขยายอิทธิพลได้อย่างกว้างขวางจนสามารถแยกตัวออกมาเป็นอีกนิกายคือนิกายโปรแตสแตนท์ได้สำเร็จ
จุดเริ่มต้นคือ Martin Luther ได้เดินทางเข้าสู่กรุงโรมและได้เห็นความเสื่อมโทรมนี้ เมื่อเขากลับไปเยอรมัน เขาได้เขียนเอกสารการโจมตีการกระทำอันชั่วร้ายต่างๆนานา มาติดที่ประตูของวิหารวิทเทนเบิร์ก หลังจากนั้นชาวเยอรมันต่างได้รับรู้ถึงความเลวร้ายมากขึ้นด้วยการเผยแพร่โดยเทคโนโลยีการพิมพ์ในสมัยนั้น เมื่อพระสันตะปาปาทราบข่าวจึงออกคำสั่งให้ Martin Luther หยุดการกระทำเหล่านั้นแต่เขาได้ปฏิเสธที่จะทำตาม พระสันตปาปาจึงออกคำสั่งบูลล์เพื่อคว่ำบาตรและขับไล่ออกจากศาสนจักร แต่ Martin Luther และผู้สนับสนุนได้เผาคำสั่งนั้นกลางตลาดวิทเทนเบิร์ก เขาจึงถูกประนามว่าเป็นพวกนอกศาสนา
แนวคิดพื้นฐานของ Martin Luther มีอยู่ว่ามนุษย์สามารถหลุดพ้นก็โดยมีศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นและเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงไม่ต้องการพระหรือการบริการของศาสนจักรคาทอลิกมาคั่นขวางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจถึงคำสอนได้อย่างแท้จริงและไม่ตกเป็นเหยื่อของเหล่าพระผู้ละโมบที่ต้องการหาประโยชน์จากศาสนา Martin Luther จึงได้แปลพระคัมภีร์ไบเบิ้ลทั้งหมดเป็นภาษาเยอรมันเรียกว่า German new Testament เพื่อให้ง่ายต่อประชาชนจะเข้าใจได้ ภายหลังอังกฤษเองก็ใช้วิธีนี้ในรัชสมัยของสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1
นอกจากนี้ Martin Luther ยังได้เปลี่ยนคำสวดในพิธีทางศานาจากภาษาละตินเป็นภาษาเยอรมันโดยนำมาจาก Chant เดิม ต่อมาเพื่อให้ชาวบ้านสามารถคุ้นเคยได้ง่ายจึงนำทำนองชาวบ้านมาใช้ในเพลงสวดเรียกว่า Chorale ซึ่งมีอยู่สองชนิดคือ แต่งทำนองขึ้นมาใหม่ โดยมาก Martin Luther มักจะเป็นผู้แต่งใหม่ แบบที่สองคือ Contrafacta เป็นการนำทำนอง Chant เดิมมาใช้หรือการนำทำนองที่ชาวบ้านคุ้นเคยอยู่แล้วมาใส่คำสวดภาษาเยอรมัน นอกจาก Martin Luther ที่แต่งทำนองใหม่เองแล้ว ยังมีนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันอีกสองคนที่แต่ง Chorale คือ Hans leo Hassler และ Michael Praetorius การเรียกแนวต่างๆของเพลงสวดก็ถูกเปลี่ยนชื่อด้วยเช่นกัน เช่น Duplum ถูกเปลี่ยนเป็น Bicinium ,Triplum ถูกเปลี่ยนเป็น Tricinium เป็นต้น
บท Chorale ของ Martin Luther ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Ein’feste burg ist unser Gott (A mighty fortressis our God) Chorale บทนี้เป็นบทที่สำคัญมากที่สุดเปรียบได้กับสัญลักษณ์ของการปฏิรูปศาสนา (Reformation) นอกจากนี้ยังส่งอิทธิพลต่อนักประพันธ์เพลงหลายคนได้นำ Chorale บทนี้ไปใช้ในผลงานของตนเพื่อใช้สื่อสารถึงการปฎิรูปศาสนา นักประพันธ์เพลงจำนวนมากที่นำ Chorale บทนี้ไปใช้ในผลงานของตน เช่น Johann Walter ได้นำไปใช้ใน Geistliches Gesangbuchlein และ Lupus Hellinck ได้ใช้ทำนองนี้และจัดพิมพ์โดย George Rhaw รวมอยู่ใน Newe deudsche geistliche Gesang จัดพิมพ์เมื่อปี 1544 ทั้งสองคนนี้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน
นอกจากนักประพันธ์เพลงรุ่นหลังก็ยังคงนิยมนำ Chorale บทนี้ไปใช้ในงานของตนเช่น

Johann Pachebel นักประพันธ์เพลงและนัก organ ชาวเยอรมันในช่วงยุคบาโรค นำมาทำเป็น Chorale prelude
Dietrich Buxtehude นักประพันธ์เพลงในยุคบาโรคได้ประพันธ์เพลง Organ Chorale BuxWV. 184 โดยใช้ทำนองจาก Chorale บทนี้
Johann Sebastian Bach นักประพันธ์เพลงในช่วงปลายยุคบาโรคได้นำ Chorale บทนี้ไปใช้ใน Chorale Cantata BWV. 80 , Choralgesange BWV.302-303 (for 4 voices) , Chorale Prelude BWV. 720 for Organ ซึ่งต่อมา Leopold Stokowski ผู้อำนวยเพลงที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 20 และเป็น orchestrator ที่มีชื่อเสียงด้วย ได้นำไปเรียบเรียงสำหรับวงดุริยางค์
J.L.Felix Mendelssohn-Bartholdy นักประพันธ์เพลงในยุคโรแมนติก ได้นำทำนอง Chorale บทนี้มาใช้ในท่อนสุดท้ายของ Symphony no. 5 in D minor “Reformation” op.107 เพื่อการรำลึกถึงการปฏิรูปศาสนานำโดย Martin Luther
Joseph Joachim Raff นักประพันธ์เพลงและครูสอนดนตรีในยุคโรแมนติกได้ประพันธ์ Overture “Ein’feste burg ist unser Gott”op.127
Giacomo Meyerbeer นักประพันธ์อุปรากรในยุคโรแมนติกได้นำ Chorale บทนี้ไปใช้ในมหาอุปรากร 5 องก์ เรื่อง Les Huguenots (Protestants) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างคริสจักรสองนิกายคือ Catholic และ Protestants ในช่วงศตวรรษที่ 16
Richard Wagner นักประพันธ์อุปรากรเยอรมันในยุคโรแมนติกตอนปลาย ได้นำ Chorale บทนี้มาใช้ใน Kaisermarsch ประพันธ์เมื่อปี 1871 เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของเยอรมันในสงคราม Franco-Prussian ในปี 1870 และการกลับมาของ Kaiser Wilhelm I
Max Reger นักประพันธ์เพลงในยุคโรแมนติกตอนปลาย ได้นำทำนอง Chorale บทนี้มาประพันธ์สำหรับ Organ ในบทเพลง Chorale Fantasia “Ein’feste burg ist unser Gott” op. 27 และ Chorale op.67 no.6
Ralph Vaughan William นักประพันธ์เพลงในช่วงยุคศตวรรษที่ 20 ตอนต้น ได้นำทำนอง Chorale บทนี้ไปใช้ในเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง 49 Parallel มี้เนื้อหาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำนอง Chorale นี้ถูกใช้ตอนต้นเรื่องในฉากเรือ U ของเยอรมันได้โจมตีอ่าว Hudson
Flor Peeters นักประพันธ์เพลงในยุคศตวรรษที่ 20 ได้นำทำนอง Chorale บทนี้ไปใช้ใน Organ Chorale ซึ่งอยู่ใน 10 Chorale Prelude op.69 ตีพิมพ์ในปี 1949
John Zdechlik นักประพันธ์เพลงสำหรับวงดุริยางค์เครื่องเป่า ได้นำทำนอง Chorale บทนี้ไปใช้ในผลงานของตัวเองหลายชิ้นเช่น Psalm 46
Bradley Joseph ได้เรียบเรียง Chorale บทนี้สำหรับเครื่องดนตรีรวมอยู่ในอัลบัม Hymns and Spiritual songs.

Ein’feste Burg ist unser Gott

Ein’feste Burg ist unser Gott,
ein gute Wehr und Waffen.
Er hilft uns frei aus aller Nott,
die uns jetzt hat betroffen.
Der alt bose Feind,
mit Ernst ers jetzt meint;
gross Macht und viel List sein grausam Rustung ist;
auf Erd ist nicht seins Gleichen.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น