วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

Byzantine Chant

จักรวรรดิ์ไบซันไทน์ (Byzantine Empire) หรือจักรวรรดิ์โรมันตะวันออก (Eastern Roman Empire) เกิดขึ้นโดยจักรพรรดิ์ของโรมัน พระเจ้าคอนสแตนตินมหาราชผู้เลื่อมใสในคริสตศาสนา ได้สร้างเมืองในบริเวณของของเมืองเก่าของอารยธรรมกรีกที่ชื่อไบซันทิอุมโดยมีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ์ ในขณะที่จักรวรรดิ์โรมันตะวันตก (Western Roman Empire) มีศูนย์กลางที่กรุงโรม ต่อมากรุงโรมล่มสลายโดยกลุ่มอนารยชนเข้าโจมตีและเข้ายึด ทำให้นักปราชญ์และผู้รู้ต่างก็อพยพมาทางฝั่งตะวันออกในจักรวรรดิ์ไบซันไทน์ แต่จักรวรรดิ์นี้มีการป้องกันที่เข้มแข็งและมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาวุธซึ่งครั้งหนึ่งสามารถทำลายกองเรือของศัตรูจนย่อยยับได้สำเร็จ กองทัพของของอาหรับได้พยายามตีหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ต่อมาส่วนหนึ่งของอาณาจักรรวมทั้งกรุงคอนสแตนติโนเปิลก็ถูกยึดโดยพวกออตโตมัน เติร์ก กรุงคอนสแตนติโนเปิลต่อมากลายเป็นอิสตันบูลของชาวมุสลิมในปัจจุบัน
ไบซันไทน์ ชานท์ (Byzantine Chant)เป็นบทสวดในพิธีทางศาสนาของคริสตศาสนิกชนในจักรวรรดิ์ไบซันไทน์ซึ่งไม่ขึ้นกับสมเด็จพระสันตะปาปาที่อยูในกรุงโรมโดยบทสวดนั้นใช้ภาษากรีกแต่ภายหลังได้มีการแปลอีกหลายภาษาเช่น ซีเรีย อารบิก อาร์เมเนียน สลาฟ เป็นต้น บทสวดนี้ปรากฎเมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 4 จนถึงช่วงที่อิทธิพลของจักรวรรดิออตโตมันแผ่ขายาเข้ามาในช่วงปี 1453 หลักฐานที่ค้นพบเป็นต้นฉบับที่มีการบันทึกบทสวดเหล่านั้นประมาณ 12000-15000 ฉบับโดย 10 เปอร์เซนท์ นั้นพบว่าอยู่ในช่วงปี 1200-1500 วิธีการที่บันทึกนั้นแตกต่างจากเกรกอเรียน ชานท์ (Gregorian Chant) โดยมีการบันทึกสองแบบคือการบันทึกบทสวด (Lectionary Notation) หรือ (Ekphonetic) เป็นการบันทึกเป็นคำสวดไม่มีการบอกทิศทางของทำนอง การบันทึกแบบนี้ใช้ในการศึกษาพระคัมภีร์ เริ่มมีการใช้วิธีนี้ในช่วงศตวรรษที่ 8-9 จนถึงช่วงศตวรรษที่ 12-13 การบันทึกแบบนี้ในทุกประโยคจะมีเครื่องหมายที่บอกเมื่อเริ่มต้นประโยคและเครื่องหมายจบประโยค วิธีการบันทึกลักษณะนี้มาจากวิธีแบบ old Slavonic และ Georgian วิธีการบันทึกแบบที่สองคือการบันทึกทำนอง (Melodic Notation) เป็นการบันทึกคำสวดพร้อมทั้งบอกวิธีการเอื้อนและทิศทางของทำนอง เริ่มปรากฎในศตวรรษที่ 10 เมื่อมีการถอดการบันทึกแบบทำนองพบว่ามีการใช้โหมด (Mode) 8 โหมดมีโน้ต Finalis ซึ่งโน้ตที่สำคัญของโหมดแต่ละโหมด อยู่ 4 ตัวคือ D,E,Fและ G มีทั้งโหมดหลัก (authentic mode) และ โหมดรอง (plagal mode) ลักษณะของทำนองในไบวันไทน์ ชานท์ นั้นจะมาจากลักษณะของ Centonization (Patchwork) หรือการตัดต่อทำนอง ซึ่งคำนี้มาจากคำว่า Cento ในภาษาละตินแปลว่าเพลงที่ยืมทำนองในเพลงอื่นมาใช้ซึ่งการใช้ในไบแซนไทน์ ชานท์อาจจะเป็นทำนองจากชานท์มาตัดต่อก็ได้ เพลงในลักษณะนี้ก็มักจะปรากฎอยู่ในเพลงนอกโบถส์เป็นจำนวนมากเช่นกัน
ลักษณะของไบแซนไทน์ยังคงมีอิทธิพลของกรีก-โรมันอยู่ของบ้างและมีลักษณะที่ต่างกับเกรกอเรียน ชานท์หลายอย่าง โดยเฉพาะภาษา แต่ต่อมาเพลงลักษณะนี้ได้ปรากฎอีกครั้งหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกพวกออตโตมัน เติร์กเข้ายึด ทำให้แนวคิด ปรัชญาต่างเริ่มกลับเข้าสู่ฝั่งตะวันตกอีกครั้งโดยส่วนใหญ่จะรวมกันที่อิตาลี ซึ่งเป็นจักรวรรดิ์โรมันเดิม ทำให้อิตาลีมีนักคิด นักปราชญ์ นักวิทยาศาสตร์ต่างๆ เป็นจำนวนมากและกลายเป็นศูนย์รวมของความรู้ต่างๆของยุโรป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น