วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

Symphony

Symphony คือบทเพลงขนาดใหญ่สำหรับวงดุริยางค์ แต่เดิมใช้ในแทนเพลงบรรเลงหรือใช้แทน Overture หรือใช้เป็น Intermezzo ใน Opera หรือ Oratorio ปรากฏในภาษาอิตาเลียนในคำว่า Sinfonia แต่ Symphonyในลักษณะที่รู้จักกันปัจจุบัน ถือกำเนิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 และกลายเป็นบทประพันธ์ที่สำคัญและเป็นที่นิยมมากที่สุดชนิดหนึ่ง
Symphony เริ่มถือกำเนิดขึ้นในช่วงปี 1730 มีที่มาหลายจากหลายแหล่ง แต่ที่ใกล้เคียงที่สุดคือ Italian Sinfonia หรือ Italian Overture มีลักษณะคือแบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ เร็ว – ช้า – เร็ว แต่ยังไม่แบ่งเป็นท่อนขาดจากกัน ในช่วง 1700 มี Opera Overture หลายเรื่องที่มีโครงสร้างเป็น เร็ว – ช้า – เร็ว ในช่วงที่หนึ่งเป็นจังหวะที่เร็วในอัตราของ Allegro แล้วต่อด้วยท่อนช้าในจังหวะ Andante และท่อนสุดท้ายอยู่ในจังหวะที่เร็วในลักษณะเพลงเต้นรำเช่น minuet หรือ gigue เป็นต้น บทเพลงแบบนี้สามารถเล่นแยกออกมาได้ แหล่งที่มาที่สำคัญอีกแหล่งที่ใกล้เคียงคือ Ripieno Concerto หรือ Orchestral Concerto ของ Torelli และนักประพันธ์เพลงคนอื่นๆ Ripieno Concerto อยู่ในโครงสร้างที่แบ่งเป็น 3 ท่อนคือ เร็ว – ช้า – เร็ว อยู่ Texture แบบ Homophony นอกจาก Italian Overture และ Ripieno Concerto ที่เป็นแหล่งที่มาที่สำคัญแล้ว แหล่งที่มาของ Symphony แหล่งอื่นๆประกอบไปด้วย Sonata da Chiesa จากอิตาลีทางตอนเหนือมักจะใช้โครงสร้างแบบ เร็ว – ช้า – เร็ว , Orchestral Suite เองก็เป็นแหล่งที่มาของ Symphony ได้โดยเฉพาะโครงสร้างแบบ Binary form
แหล่งกำเนิดของ Symphony นั้นอยู่ที่ Milan ในอิตาลีนักประพันธ์เพลงที่ให้กำเนิด Symphony คือ Giovanni Battista Sammatini ( 1700-1775 ) ตัวอย่างงาน Symphony ที่สำคัญคือ Symphony in F major No. 32 ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี 1740 เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย 4 parts String : Violin I, Violin II, Viola และ Bass ในแนว Bass ประกอบด้วย cellos, Bass Viol และอาจมี Harpsichord และ Bassoon มีทั้งหมด 3 ท่อนแยกจากกันคือ เร็ว – ช้า – เร็ว ในท่อนแรกอยู่ในจังหวะ Presto มี 2 ทำนองหลัก โดยที่ทำนองแรกและทำนองที่สองมีลักษณะที่ตรงข้ามกันในแบบของ Koch เช่น ทำนองแรกอยู่ใน Tonic key ทำนองที่สองอยู่ใน Dominant key หรือในกรณีที่เป็น minor key ทำนองแรกอยู่ใน Tonic key ทำนองที่สองอยู่ใน Relative major key เป็นต้น แต่ Symphony ของ Sammatini ไม่ยาวมากใช้เวลาประมาณ 10 นาที ต่อ Symphony หนึ่งบทเท่านั้น
บทเพลง Symphony ได้แพร่ขยายไปทางเหนือไปสู่ Germany, Austria, France และ England และเมืองที่โดดเด่นที่สุดคือเมือง Mannheim ที่เมืองนี้มีวงดุริยางค์อยู่ในภายใต้การนำของ Charles Berney ที่อาจเรียกได้ว่าเก่งที่สุดในยุโรปในสมัยนั้น วงนี้สามารถกระโดดขั้นคู่ไกลได้ทำให้เกิด Mannheim rocket เครื่องสายสามารถเล่น Tremolo พร้อมกันได้ทำให้วงสามารถทำ Crescendo และ Diminuendo และทำให้ Dynamic มีช่วงที่กว้างขึ้น วงสามารถเล่นโน้ตเร็วได้ ทำให้เหล่านักประพันธ์เพลงมองเห็นว่า วงดุริยางค์สามารถทำอะไรได้อีกบ้าง จำนวนเครื่องดนตรีในวงเริ่มมีความแน่นอนมากกว่าช่วงก่อนหน้านี้ และมีลักษณะคล้ายวงในปัจจุบันมากขึ้น
ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 18 เริ่มปรากฏ Form ใหม่คือ Sonata form เป็นที่นิยมมาก ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ท่อนแรกของงานดนตรีแทบจะทุกชนิด Sonata form เริ่มปรากฏครั้งแรกโดย Heinrich Christoph Koch ในตำรา Introductory Essay on Composition ตำรานี้ได้พูดถึง Phrases และ Periods Koch ได้อธิบายถึง Form ที่มีการขยายออกจาก Binary form โดยมี 2 ส่วนใหญ่ ในแต่ละส่วนจะมีการย้อน ในส่วนแรกเริ่มที่ Tonic key แล้วย้ายไป Dominant key หรือในกรณีที่เป็น minor key เริ่มที่ Tonic key แล้วย้ายไป Relative major key ในส่วนนี้มี 1 Period ในส่วนที่สองกลับมาที่ Tonic key ในส่วนนี้ 2 Periods
ตารางเปรียบเทียบระหว่าง Form ของ Koch และ Sonata form
Koch’s Model
Sonata form
First Section
First and second phrase I
Third phrase mod to V
Fourth phrase V
Appendix V
Exposition
First Theme I
Transition mod to V
Second Theme V
Closing Theme V

Second Section
First Main Period
Free mod, often vi.ii.iii
Prepare for return on V
Second Main Period
First and second phrase I
Third phrase mod
Fourth phrase I
Appendix I
Development
Development idea
from exposition mod
Retransition on V
Recapitulation
First Theme I
Transition mod
Second Theme I
Closing Theme I


ต่อมาในช่วง 1830s นักทฤษฎีดนตรีได้วิเคราะห์ Form โดยมองในลักษณะ 3 ส่วน ไม่เหมือน Koch ที่มองเป็น Expanded Binary Form แต่สอดคล้องกัน Form ที่มองในลักษณะ 3 ส่วนแบ่งได้ดังต่อไปนี้
1. Exposition ส่วนนี้จะมี Theme I หรือ Group of Theme ที่อยู่ใน Tonic key ต่อด้วย Transition ที่พาไปหา key ใหม่คือ Dominant key หรือ Relative major แล้วเข้า Theme II ใน Key ใหม่และจบด้วย Closing Theme อยู่ใน key ใหม่ เมื่อจบส่วนนี้มักจะย้อนอีกครั้ง
2. Development มีการเปลี่ยน key หลายโดยนำ Theme มาจาก exposition
3. Recapitulation เป็นส่วนย้อนกลับ มีทุกอย่างคล้ายใน exposition แต่ Theme II อยู่ใน Tonic Key และจบด้วย Closing Theme ที่อยู่ใน Tonic key

ราชสำนักในเมือง Mannheim ถือว่าเป็นผู้พัฒนาดนตรีที่สำคัญในยุโรปและทำให้เมือง Mannheim เป็นศูนย์กลางทางดนตรีในยุโรปในสมัยนั้น นักประพันธ์เพลงหลายคนได้เคยมาที่นี่มาแล้วด้วยภายใต้การนำของ Johann Stamitz ( 1717-1757 ) นักประพันธ์เพลงชาว Bohemian
ในเมือง Mannheim มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Johann Stamitz ( 1717-1757 ) นักประพันธ์เพลงชาว Bohemian มีความสำคัญมากด้านบทเพลง Symphony เป็นคนแรกที่ Symphony มี 4 ท่อนคือเพิ่มท่อน minuet and trio เป็นท่อนที่ 3 และท่อนที่ 4 มีความเร็วที่เร็วมาก ( Presto ) ในท่อนที่ 1 ลักษณะที่ contrast กันอย่างเห็นได้ชัดความเร็วที่ใช้ในท่อนแรกคือ Allegro มีความยาวมากกว่าของ Sammatini เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบด้วย 4 String parts เหมือนของ Sammatini แต่ Stamitz เพิ่ม 2 Oboes และ 2 Horns ต่อมาจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ
ในเมืองที่เป็นศูนย์กลางของดนตรีอีกแห่งคือ Vienna มี นักประพันธ์เพลงที่สำคัญในช่วงนี้คือ George Christoph Wagenseil ( 1715-1777 ) อีกเมืองคือ Paris เป็นศูนย์กลางของนักประพันธ์เพลงอีกแห่ง นักประพันธ์เพลงหลายคนเช่น Sammatini, Stamitz และ Wagenseil ได้เดินทางเข้ามาที่เมืองนี้โดยนำ Symphony เข้ามาด้วย หนึ่งในนักประพันธ์เพลงที่เดินทางเข้าในเมืองนี้คือ Francois – Joseph Gossec ( 1734-1829 ) มาที่ Paris ในปี 1751 ต่อมากลายเป็นนักประพันธ์เพลงคนที่สำคัญในฝรั่งเศสในช่วงที่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสและเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการของ Paris Conservatoire มีผลงานทั้ง Symphonies, String Quartet และ Comic Opera
ในช่วงปี 1770 มี Symphony ชนิดหนึ่งที่ มีลักษณะเป็น Concerto ที่มีเครื่องเดี่ยวมากกว่าหนึ่งเครื่อง มีชื่อว่า Sinfonia Concertante เป็นที่นิยมอยู่มากในยุค Classic
นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงด้านการประพันธ์ Symphony มากคนหนึ่งคือ Franz Joseph Haydn ( 1732-1809 ) โดยเขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่ง Symphony ฉายานี้ไม่ได้มาจากการสร้างเพลง Symphony แต่เป็นผู้ที่พัฒนาต่อจนสมบูรณ์
Symphony ของ Haydn มีทั้งหมด 4 ท่อนโดยท่อนแรกจะอยู่ใน Sonata form อยู่ในจังหวะที่เร็วบ่อยครั้งที่เริ่มด้วย Introduction ที่ช้า ท่อนที่ 2 มักจะอยู่ใน Ternary, Rondo หรือ Theme and Variation อยู่ในจังหวะที่ช้าและผ่อนคลาย ท่อนที่ 3 Minuet – Trio เป็นเพลงเต้นรำในจังหวะแบบ Minuet อยู่ใน Ternary form ท่อนที่ 4 อยู่ในจังหวะเร็ว มักจะอยู่ใน Sonata form, Rondo, Rondo - Sonata หรือ Theme and Variation
Haydn มี Symphony ทั้งหมด 104 บท งานที่สำคัญคือ 12 London Symphonies Haydn เป็นคนที่มีนิสัยขี้เล่นมาก เช่น ใน Symphony No. 94 in G major ( Surprise ) ในท่อนที่สอง เริ่ม Theme ด้วย Dynamic ที่เบามาก แต่ อยู่ดีๆวงก็เล่น Chord ดังมาก จุดประสงค์คือเพื่อจะแกล้งผู้ชมที่ชอบหลับเมื่อถึงท่อนสอง เป็นต้น
วงดุริยางค์ที่ Haydn ใช้เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยเพิ่ม Flute, 2 oboes, 2 Clarinets 2 Bassoons, 2 Horns, 2 Trumpet และ Timpani จะเล่นโน้ต Tonic และ Dominant ในช่วงนี้ Basso Continuo เริ่มหายไปแล้ว
นักประพันธ์เพลงคนที่มีความสำคัญต่องาน Symphony คนต่อมาคือ Wolfgang Amadeus Mozart ( 1756 -1791 ) โครงสร้างของ Symphony ยังไม่เปลี่ยนไปมากนัก ขนาดของวงยังเหมือนกันกับ Haydn มี Symphony ประมาณ 41-46 บท ( หมายเลขสุดที่ 41 แต่แผ่นบันทึกเสียงในปัจจุบันมี 46 บท ) งานที่สำคัญคือ Symphony No.25, 29, 31, 35, 36, 39, 40, 41
Ludwig van Beethoven ( 1770-1827 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่มีความสำคัญต่องาน Symphony เป็นอย่างมาก ไม่เพียงแค่ Symphony แต่รวมถึง Concerto, Sonata, Chamber music etc.ด้วย วงดุริยางค์ที่ Beethoven ใช้มีขนาดใหญ่ขึ้นจากวงของ Haydn และ Mozart โดยที่กลุ่ม Wind ใช้แนวละ 2 เครื่องเป็นส่วนใหญ่ Beethoven ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในงาน Symphony หลายอย่างเช่น ท่อนที่ 3 เปลี่ยนจาก Minuet เป็น Scherzo, การไม่หยุดพักระหว่างท่อน, ใช้ Trombone , Piccolo และ Contrabassoon หรือใช้วงขับประสานเสียงและนักร้องเดี่ยว เป็นต้น Beethoven มี Symphony ทั้งหมด 9 บท ทุกบทเป็นงานที่ดีหมด แต่มีบางบทที่สำคัญคือ Symphony No.3 in Eb major Op. 55 “ Eroica “ เดิมอุทิศ Napoleon Bonaparte โดยตั้งชื่อว่า Bonaparte แต่เมื่อ Napoleon สถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศส Beethoven จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Eroica แทน Symphony บทนี้มีความยาวมากกว่า Symphony บทอื่นๆก่อนหน้านี้ เสียงวงใหญ่ขึ้น มี dynamic ที่กว้างมากขึ้น ในกลุ่มเครื่อง Horns ใช้ Horn 3 เครื่อง มี Theme ใหม่เกิดขึ้นใน Development ของท่อนที่ 1 เริ่มด้วย 2 Chord ที่ดังมาก มีการขยายทั้ง Melody และ Harmony มากขึ้น ในท่อนที่ 2 ที่มีทำนองที่ผ่อนคลายแต่มีความเครียดมากขึ้นโดยที่ท่อนนี้เป็น Funeral March ที่มีความหดหู่อย่างมาก มีช่วงที่เป็น March ในลักษณะของฝรั่งเศสโดยมี March แบบ Gossec ท่อนที่ 3 มี Form เป็น Scherzo – trio แทน Minuet จังหวะมีความเร็วมากขึ้น ท่อนที่ 4 เป็น Theme and Variation โดยนำ Theme จาก Ballet เรื่อง The Creation of Prometheus ของ Beethoven เอง ตอนกลางของท่อนมีลักษณะเป็น Fugue จบด้วยลีลาที่เร็วและ มี Chord โต้ตอบกับระหว่างกลุ่มเครื่องสายและกลุ่ม Winds
Symphony No.5 in C minor Op. 67 เป็น Symphony ที่โดดเด่นที่สุดบทหนึ่งของ Beethoven จุดเด่นของ Symphony บทนี้คือ การเล่นกับ Motive เดียวทั้งเพลงโดยจะซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ แต่ท่อนที่ 1 ยังคงชัดเจนอยู่ เครื่องดนตรีที่ใช้มีมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่ม Winds เพิ่ม Piccolo, Contrabassoon, Alto Trombone, Tenor Trombone และ Bass Trombone กลุ่มเครื่อง Strings แบ่งเป็น 5 parts ในแนว String Basses กลุ่ม Cellos และ Double Basses เริ่มแยกออกจากกัน ในปลายท่อนที่ 3 และท่อนที่ 4 ไม่มีช่วงที่หยุดพัก
Symphony No.6 in F major Op. 68 “ Pastoral” Symphony บทนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อไปยังยุค Romantic เพราะเพลงมีลักษณะเป็น Program Symphony ในยุค Romantic ซึ่งเป็น Program music ชนิดหนึ่ง โครงสร้างของ Symphony เปลี่ยนไปเพราะมี 5 ท่อนจากเดิมมี 4 ท่อน มีลักษณะของการบรรยายให้เห็นภาพโดยใช้เครื่องดนตรีเลียนเสียงต่างๆเช่นใช้กลุ่มเครื่องสายแทนเสียงเสียงลมพายุและเสียงน้ำไหล, เสียงนกชนิดต่างๆ ใช้ Woodwind ในการเลียนเสียง, ใช้ Horn เสียงหมาป่า, ใช้ Timpani แทนเสียงฟ้าผ่า เป็นต้น
Symphony No.9 in D minor Op.125 “ Choral “ เป็น Symphony ที่มีขนาดใหญ่กว่า Symphony ทีเคยมีมาก่อนหน้านี้ ใช้วงที่มีขนาดใหญ่มากในสมัยนั้นเครื่องดนตรีประกอบด้วย 1 Piccolo, 2 Flutes, 2 Oboes, 2 Clarinets, 2 Bassoons 1 Contrabassoon, 4 Horns, 2 Trumpets, Alto Trombone, Tenor Trombone, Bass Tronbome , Timpani, Triangle, Cymbal, Bass Drum, Violins I, Violins II, Violas, Cellos, Double Basses ในท่อนสุดท้าย Beethoven ยังได้ใช้วงขับร้องประสานเสียงและนักร้องเดี่ยวอีก 4 คนคือ Soprano, Alto, Tenor และ Baritone โครงสร้างของ Symphony เปลี่ยนไป เพราะในท่อนที่ 2 เป็นท่อน Scherzo – trio และท่อนที่ 3 เป็นท่อนช้า และในท่อนที่ 4 มีการใช้วงขับร้องประสานเสียงและนักร้องเดี่ยวโดยที่ขับร้องบทกวีของ Friedrich von Schiller ที่มีชื่อว่า ” Ode An die Freude “ Beethoven เป็นคนแรกในท่อนนี้ยังมีลักษณะแบบ Opera นิดหน่อยคือ เมื่อถึงช่วงของที่นักร้อง Baritone เป็นช่วงที่เป็น recitative และจึงเข้า Theme หลัก
ในท่อนที่ 4 เริ่มที่จะไม่สามารถระบุ Form ที่ชัดเจนได้ มีลักษณะของ Turkish March มี Theme ใหม่ปรากฏขึ้นเยอะ ตรงกลางท่อนมีลักษณะเป็น Double Fugue ในช่วง Coda เล่นด้วยความเร็วที่เร็วมาก
Beethoven เป็นเสมือนผู้ที่วางรากฐานให้กับยุค Romantic หรือ ยุคศตวรรษที่ 19 และเลยไปถึงศตวรรษที่ 20 ด้วย นักประพันธ์เพลงรุ่นหลังที่ความสำคัญในงาน Symphony ประกอบไปด้วย Schubert, Berlioz, Mendelssohn, Schumann, Brahms, Tchaikovsky, ( Dvorak, Borodin, Saint – Sean ), Mahler, Sibelius, Prokofiev, Shostakovich, Copland, Ives, ( Nielsen ) เป็นต้น และงานประเภท Symphony ยังคงได้รับนิยมอยู่เสมอ

Concerto

Concerto ความหมายในปัจจุบันคือ ดนตรีประชัน โดยมีทั้งประชันเป็นกลุ่มหรือเดี่ยวประชันกับวงดุริยางค์ หรือแม้กระทั่งประชันกันเองภายในวงดุริยางค์ แต่ในความหมายดั้งเดิมในศตวรรษที่ 17 Concerto มีความหมายว่า เป็นเพลงร้องที่เป็นการนำ Madrigal มาใส่เพลงบรรเลงแบบ Gabrieli โดยที่วงดนตรีทำหน้าที่เสริมแนวร้องเพียงแต่วงดนตรีไม่ได้เล่นแนวเดียวกับแนวร้อง ตัวอย่างเช่น Concerted Madrigal เป็นเพลงร้องที่มีแนวร้องแนวเดียวหรือมากกว่าประสานไปกับแนว Basso Continuo และ Sacred Concerto เป็นเพลงร้องประชันทางศาสนาที่มีเครื่องดนตรีเล่นไปด้วยแต่ไม่ได้เล่นแนวเดียวกับแนวร้อง
ในช่วงศตวรรษที่ 17 หรือช่วงต้นยุค Baroque นักประพันธ์เพลงนิยมประพันธ์เพลงศาสนาประเภทต่างๆเช่น Vesper, Psalm หรือ Mass movement โดยใช้หลายแนวเสียงประกอบกับวงดนตรี ใช้คณะนักร้องประสานเสียงจำนวนมาก เพลงศาสนาในลักษณะนี้เรียกว่า Large – scale Sacred concerto มักจะประพันธ์เมื่อโบสถ์ขนาดใหญ่ต้องการจัดงานฉลองขนาดใหญ่ เช่น Giovanni Gabrieli ได้ประพันธ์ Motet ที่ใช้วงขับร้องประสานเสียงหลายวง ให้กับโบสถ์ St. Mark’s ในเมือง Venice หรือ Orazio Benevoli ( 1605-1672 ) นักประพันธ์เพลงที่มีความสำคัญโดยเฉพาะ Catholic music ได้ประพันธ์ Psalms, motets และ Masses สำหรับ วงขับร้องประสานเสียง 3 วงหรือมากกว่า ประสานกับ Organ ส่วนมากประพันธ์สำหรับโบสถ์ St. Peter ในกรุง Rome ในช่วง 1640s
สำหรับโบสถ์ขนาดเล็กก็จะมี small sacred concerto แทน มีลักษณะคือไม่ใช้วงขับร้องประสานเสียงขนาดใหญ่หลายวงแต่ใช้นักร้องหนึ่งหรืออาจมากกว่าประสานกับ Organ เป็น Continuo บางครั้งอาจมี Violin หนึ่งหรือสองเครื่องบรรเลงประกอบด้วย นักประพันธ์เพลงที่ถือเป็นรุ่นบุกเบิกคือ Lodovico Viadana ( 1560-1627 ) มีผลงานคือ Cento concerti ecclesiastici ( One Hundred Church Concerto ) เป็นฉบับแรกในชุด 1602 collection โดย Viadana ได้แต่งทำนองและเสียงประสานที่เป็นลักษณะของ Polyphony แบบศตวรรษที่ 16 ใช้นักร้อง 1-4 คนประสานไปกับ Basso Continuo
Sacred Concerto ได้มีอิทธิไปถึงเยอรมันและพวก Lutheran มีผลงานลักษณะ Large – scale Sacred concerto มีทั้งผลงานของ Hans Leo Hassler และ Michael Praetorius นอกจากนี้อิทธิพลของ Viadana ในด้านของ small sacred concerto ยังเข้ามาอิทธิพลอย่างมากในดินแดนเยอรมัน Johann Hermann Scherin ( 1586-1630 ) ได้ตีพิมพ์อัลบัมรวมเพลงสองเล่มในปี 1618 และ 1626 ที่ใช้ชื่อว่า Opella nova ( New Little Works ) เล่มแรกส่วนมากจะเป็น Duet ประสานกับ Basso Continuo เป็นการประสานบน Chorale เล่มที่สองยังคงมี Chorale Duet แต่คำร้องส่วนใหญ่มาจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล และยังมีการใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบด้วยมีตั้งแต่เครื่องเดียวไปจนถึงลักษณะของ ensemble
นักประพันธ์เพลงที่สำคัญที่สุดใน Sacred Concerto คือ Heinrich Schutz ( 1585-1672 ) ลูกศิษย์ของ Gabriel และได้พบกับ Monteverdi เป็นนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันคนแรกที่มีชื่อเสียงไกลออกไปนอกเยอรมัน ผลงานที่สำคัญคือ อัลบัมรวมเพลงสามเล่มคือ Symphoniea sacrae I,II และ III อัลบัมชุดแรกตีพิมพ์เมื่อปี 1629 ที่ Venice รวมเพลง Latin Motet สำหรับทั้งทั้งกลุ่มนักร้องและกลุ่มเครื่องดนตรี อัลบัมชุดนี้แสดงอิทธิพลของทั้ง Monteverdi และ Grandi โดยเฉพาะ recitative, aria และ Concerted Madrigal อัลบัมชุดที่ 2 และ 3 เริ่มตีพิมพ์ในปี 1647 และ 1650 ตามลำดับ และเริ่มเผลแพร่หลังสงคราม 30 ปี ( 1618-1648 ) ในชุดนี้มี Sacred Concerto ที่เป็นภาษาเยอรมัน หนึ่งในเพลงในอัลบัมชุดนี้คือ Saul, was verfolgst du mich เป็น Large – scale Sacred concerto ใช้วงขับร้องประสานเสียงสองวงโดยมีเครื่องดนตรีเล่นแนวร้องด้วย ใช้นักร้อง 6 คน ใช้ Violins 2 เครื่อง และแนว Basso Continuo ใช้ Polychoral ในแบบของ Gabrieli พร้อมกับ dissonant ในแบบ Monteverdi
นอกจากนี้ยังมีหนังสือรวมเล่มที่สำคัญอีกชุดคือ Klein geistliche Konzert (small sacred concerto )ตีพิมพ์ในปี 1636 และ 1639 ในช่วงของ สงคราม 30 ปี ( 1618-1648 ) เป็นอัลบัมรวม Motet สำหรับนักร้อง 1-5 คนประสานกับ Basso Continuo
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 นักประพันธ์เพลงเริ่มที่จะแบ่งแยกระหว่างเพลงสำหรับ Chamber ensemble และเพลงสำหรับ Orchestra ซึ่งในกลุ่มเครื่องสายในหนึ่งแนวจะใช้คนมากกว่าสองคน เริ่มที่ฝรั่งเศสในสมัยของ Louis XIII เริ่มปรากฏ String ensemble ซึ่งสามารถเรียกว่าเป็นวงดุริยางค์หรือ Orchestra วงแรกได้ ในหนึ่งแนวจะมีนักดนตรีประมาณ 4-6 คน ต่อมาในช่วง 1670s วงดนตรีในลักษณะนี้ได้เริ่มปรากฏที่อื่นๆเช่น Rome, Bologna, Venice เป็นต้น
ในช่วง 1680s - 1690s นักประพันธ์เพลงต่างๆ ได้ให้กำเนิดบทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นชนิดของบทประพันธ์ที่สำคัญมากในช่วงยุค Baroque คือ Concerto อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากเครื่องดนตรีเริ่มมีคุณภาพมากขึ้นเริ่มผลิตเสียงที่ไพเราะขึ้น ในช่วง 1700s concerto ได้ถูกแบ่งเป็น 3ชนิด ชนิดแรกคือ Ripieno Concerto หรือ Orchestral Concerto เป็น Concerto ที่มีการประชันกันระหว่างกลุ่มเครื่องดนตรี โดยที่ไม่มีเครื่องดนตรีเครื่องใดเครื่องหนึ่งโดดเด่นออกมา ชนิดที่สองคือ Concerto Grosso เป็น Concerto ที่มีการประชันกัน 2 กลุ่มคือ กลุ่ม Concertino เป็นกลุ่มเครื่องเดี่ยวและ กลุ่ม Ripieno หรือ Tutti เป็นกลุ่มของวงดุริยางค์ มีต้นแบบจาก Trio Sonata ชนิดสุดท้ายคือ Solo Concerto เป็น Concerto ที่กำหนดให้มีเครื่องเดี่ยวเพียงเครื่องเดียวประชันกับวงดุริยางค์โดยผู้เดี่ยวมีโอกาสแสดงความสามารถได้เต็มที่ต่างจาก Concerto Grosso ที่มีผู้บรรเลงเดี่ยวหลายคน
ตั้งแต่วงดุริยางค์ในกรุง Rome สามารถแบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่ม Concertino และ Ripieno จึงเริ่มเกิด Concerto Grosso ขึ้นโดยนักประพันธ์เพลงใน Rome ที่มีชื่อว่า Arcangelo Corelli ( 1653-1713 ) มีผลงานที่สำคัญคือ Concerti Grossi Op.6 ประพันธ์ในช่วงปี 1680s Corelli ถือเป็นนักประพันธ์เพลงคนแรกที่มีความสำคัญด้าน Concerto Grosso และยังมีความสำคัญในการให้กำเนิดระบบ Tonal ขึ้น โดยไม่สนใจที่การใช้ Mode อีกต่อไป ต่อมา Concerto Grosso ได้แพร่หลายไปในประเทศอิตาลี อังกฤษ และเยอรมนี หนึ่งในคนที่สนใจใน Corellian Concerto Grosso คือ George Muffat ( 1653-1704 ) นักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน นักประพันธ์เพลงที่สำคัญใน Concerto ต่อจาก Corelli คือ Giuseppe Torelli ( 1658-1709 ) เขาประพันธ์ Concerto ทั้ง 3 ชนิดผลงานที่สำคัญคือ Concerti Op.5 ตีพิมพ์เมื่อ 1692 หนึ่งในชุดนี้มี Trumpet Concerto, Concerti Op.6 ตีพิมพ์เมื่อ 1698 ประกอบไปด้วย Solo Violin Concertos 2 บท, Concerti Op.8 ประกอบไปด้วย Solo Violin Concertos 6 บทและ Concerti Grossi 6 บท ส่วนใหญ่แบ่งเป็น 3 ท่อนคือ เร็ว – ช้า – เร็ว โดยมีต้นแบบจาก Italian Overture แบบแผนนี้เริ่มแน่นอนขึ้นในงานของ Tomaso Albinoni ( 1671-1750 ) แบบแผนนี้กลายเป็นแบบแผนของ Concerto ต่อไป
ในศตวรรษที่ 18 มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญมากคนหนึ่งในงาน Concerto คือ Antonio Vivaldi ( 1674-1741 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่พัฒนา Concerto โดย เฉพาะ Solo Concerto โดยมี Form ที่ใช้คือ Ritornello form จำนวนท่อน Vivaldi ได้ยึดตามแบบของ Albinoni คือ มีสามท่อน เร็ว – ช้า – เร็ว ในท่อนช้าใช้ key เดิมหรืออาจเป็น Closely related key ก็ได้ ได้รับอิทธิจาก Corelli และ Torelli
Vivaldi มีวงเครื่องสายอยู่ที่ Pieta มีจำนวน 20-25 คนประกอบด้วย Violins I, Violins II, Violas, Cellos, Bass Viols ( ปัจจุบันใช้ Double Bass ) เล่นแนวเดียวกับ Cellos ซึ่งวงเครื่องสายที่แบ่งแนวแบบนี้เป็นมาตรฐานจนถึงปัจจุบัน และต้องมี Basso Continuo อยู่ด้วย
Vivaldi มี Concerto มากมายนอกจาก Violin Concerto แล้วยังมีทั้ง Concerto สำหรับ Flute, Oboe, Bassoon นอกจากมีเครื่องเดี่ยวหนึ่งเครื่องแล้ว ยังมี Concerto ที่มีเครื่องมากกว่าสองเครื่องด้วย แต่ Vivaldi ไม่เรียกว่าเป็น Concerto Grosso นอกจากนี้ยังมี Ripieno Concerto อีก 60 บท
งานของ Vivaldi ถูกเรียกว่า Romantic Concerto เพราะมีลักษณะของการแสดงอารมณ์ และมีลักษณะของ Program music ในยุค Romantic ตัวอย่างเช่น The four season Op. 8 เป็น Violin Concerto 4 บท มีทั้งหมด 4 ฤดูคือ Violin Concerto in E major “ Spring ” RV. 269, Violin Concerto in G minor “ Summer ” RV. 315, Violin Concerto in F major “ Autumn ” RV. 293, Violin Concerto in F minor “ Winter ” RV. 297
Ritornello form ที่ใช้ใน Concerto ของ Vivaldi มีลักษณะคือ Tutti – Solo – Tutti – Solo ไปเรื่อยๆโดยที่ข้างในเปลี่ยน key แต่ในตอนจบต้องจบด้วย key เดิม Vivaldi ส่งอิทธิพลให้ J.S.Bach ต่อไป
Johann Sebastian Bach ( 1685-1750 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ Concerto ได้รับอิทธิพลจาก Vivaldi Bach ได้นำ Concerto ของ Vivaldi มาเรียบเรียงเป็น Concerto for Organ หรือ Harpsichord Solos Concerto ที่สำคัญที่สุดของ Bach คือ Brandenburg Concertos อุทิศให้แก่ Margrave of Brandenburg ในปี 1721 มีทั้งหมด 6 บท form ที่ใช้เป็นแบบเดียวกันกับ Vivaldi นอกจากนี้ Bach ยังได้แต่ง Concerto สำหรับ Keyboard เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นไม่มีวงดุริยางค์คือ Italian Concerto in F major BWV. 971 แต่มีเสียงที่ฟังแล้วคล้ายกับว่ากำลังประชันกับวงดุริยางค์อยู่ในลักษณะของ Ritornello form
George Friderich Handel ( 1685-1759 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่มี Concerto ที่สำคัญหลายบท เช่น Concerti Grossi Op.3 มี 6 บท, Grand Concertos Op. 6 อยู่ใน Form แบบ Sonata da chiesa คือ ช้า – เร็ว – ช้า – เร็ว และ Concerto for Organ and Orchestra เป็น Organ Concerto บทแรกใช้เล่นระหว่างพักครึ่งการแสดงของ Oratorio ของเขา ได้รับการตีพิมพ์ 3 ครั้งคือปี 1738, 1740 และ 1761 Organ Concerto นั้นไม่ค่อยมีใครประพันธ์ในช่วงต่อมา และปรากฏอีกครั้งในงานของ Francois Poulence นักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสหนึ่งในกลุ่ม Les Six ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และในงานของ Olivier Messiaen นักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสในยุคศตวรรษที่ 20
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่กำลังเปลี่ยนรูปแบบของแนวคิดทางสังคมและมีอิทธิพลต่องานดนตรีด้วยเช่น ทำนองฟังง่ายขึ้น Alberti Bass เข้ามาแทน Basso Continuo วงดุริยางค์สามารถเล่นดัง-เบาได้
ในงาน Concerto นั้นเหลือเพียง Solo Concerto เท่านั้นที่เหลือรอดมาได้ ในช่วงนี้ Piano เริ่มได้รับความนิยมแทน Harpsichord เพราะสามารถทำเสียงดัง-เบาได้และมีกลไกที่แข็งแรงและมีเสียงที่ไพเราะมากขึ้น จึงเริ่มมีการประพันธ์ Piano Concerto ขึ้นโดยที่คนแรกที่ประพันธ์คือ Johann Christian Bach ( 1735-1782 ) ลูกชายของ J.S.Bach เป็นนักประพันธ์ในช่วง Galant Style และเป็นครูของ Wolfgang Amadeus Mozart
Concerto ในช่วงนี้ยังคงมี 3 ท่อนแต่ในมี Form ที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะท่อนที่หนึ่ง มีอิทธิพลของ Sonata form ( บางคนเรียกว่า Modified Sonata form ) อยู่ในท่อนที่หนึ่งและก่อนที่จะจบท่อนที่หนึ่งมักจะมีช่วงที่เรียกว่า Cadenza มีไว้ให้ผู้บรรเลงเดี่ยวสามารถแสดงความสามารถได้เต็มที่โดยการ Improvise ก่อนจะถึงช่วง Cadenza วงดุริยางค์จะเล่น Chord I 2nd Inversion แล้วทั้งวงจะหยุดลงเปิดโอกาสให้ผู้บรรเลงเดี่ยวสามารถแสดงความสามารถได้เต็มที่เมื่อจะส่งต่อให้วง ผู้บรรเลงเดี่ยวจะเล่น Trill ยาวๆเป็นสัญญาณให้วงรับ Chord V แล้วเข้าสู่ Closing theme
เมื่อถึงยุคของ Wolfgang Amadeus Mozart ( 1756 -1791 ) โครงสร้างของ Concerto ยังไม่เปลี่ยนจากของ J.C. Bach หรือแทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยกล่าวคือ มี 3 ท่อน ท่อนแรกใช้ Sonata form ตามแบบของ J.C.Bach คือเริ่มด้วย Orchestral Exposition ส่วนนี้วงดุริยางค์จะเล่น Theme I – Transition – Theme II – Closing Theme ทั้งหมดนี้อยู่ใน Tonic key ในส่วนของวงจะเรียกว่า Ritornello เมื่อวงดุริยางค์เล่นส่วนนี้จบแล้ว Solo ก็จะเล่น Solo Exposition ประกอบด้วย Theme I อยู่ใน Tonic key แล้วต่อด้วย Transition เพื่อนำสู่การเปลี่ยน Key ใหม่ เข้า Theme II ใน Dominant key ในกรณีที่เป็น major key ถ้าเป็น minor key Theme II จะอยู่ใน Relative major ต่อมาจะเข้าสู่ Closing Theme ใน key ของ Theme II เมื่อจบส่วนนี้วงจะรับต่อใน Theme I ที่เป็น key ใหม่และทำหน้าที่เป็น Closing Theme ของ Exposition โดย Ritornello แล้วต่อด้วย Development โดย Solo จะเข้าก่อนสลับกับ Ritornello ในส่วนนี้จะมีการเปลี่ยน key ตลอดเพื่อแสดงถึงความเก่งกาจของผู้ประพันธ์เพลง ก่อนจะจบช่วงนี้วงที่เป็น Ritornello จะรับใน Chord V แล้วจึงจะเข้าสู่ Recapitulation โดยวงนำเข้ามาก่อนแล้วต่อด้วย Solo กลับเข้าสู่ Theme I อีกครั้งใน Tonic key จากนั้นจะต่อด้วย Transition ที่ไม่พาให้เปลี่ยน key ต่อจากนั้นจึงเข้า Theme II ที่เป็น Tonic key หลังจากนั้นวงจะรับเพื่อพาเข้าสู่ Cadenza โดยที่วงเล่น Chord I 2nd Inversion ด้วยเสียงที่ดังแล้วเงียบลงเปิดโอกาสให้ผู้บรรเลงเดี่ยวสามารถแสดงความสามารถได้เต็มที่เมื่อจะส่งต่อให้วง ผู้บรรเลงเดี่ยวจะเล่น Trill ยาวๆเป็นสัญญาณให้วงรับ Chord V แล้วเข้าสู่ Closing theme ที่จบด้วย Tonic key โดย Ritornello บางครั้ง Mozart ใช้ Closing theme เพื่อที่จะเข้าสู่ Theme I ที่กลับมาโดยวงหรือส่วนของ Ritornello แบบของ J.C.Bach แต่ใน Piano Concerto in A major K.488 Mozart ใช้ส่วนของ Transition แทน
ในท่อนที่ 2 Mozart ได้ประพันธ์ทำนองในลักษณะของ aria ใน Dominant key หรือ Subdominant key หรือ Relative minor key Form ที่ใช้มักจะเป็น Sonata form ที่ไม่มี Development หรือ Theme and Variation หรือ Rondo form บางบทมี Cadenza อยู่ด้วยมีลักษณะเดียวกับกับท่อนที่หนึ่ง
ในท่อนที่ 3 Form มักจะใช้ Rondo form หรือ Sonata – rondo form อาจมี Cadenza อยู่ด้วยเช่นกันซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งครั้ง
Concerto ที่สำคัญของ Mozart เช่น Piano Concertos ทั้ง 27 บท, Violin Concertos ทั้ง 5 บท, Flute Concerto 2 บท K. 313-314, Concerto for Flute, Harp and Orchestra in C major K. 299, Clarinet Concerto in A major K. 622, Oboe Concerto in C major K.314, Horn Concerto ทั้ง 6 บท, Sinfonia Concertante for Violin, Viola and Orchestra in Eb major K.364, Bassoon Concerto in Bb major K.191 เป็นต้น
ในส่วนของ Cadenza นั้น เดิมผู้บรรเลงเดี่ยวจะ Improvise เองโดยนำทำนองที่อยู่ใน Concerto มาใช้ แต่ภายหลัง Ludwig van Beethoven ( 1770-1827 ) ได้ลงมือประพันธ์ Cadenza เองเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บรรเลงเดี่ยว Improvise จนออกนอกลู่นอกทาง ใน Piano Concerto No.4 และ No.5 เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ Cadenza ขึ้นมาก่อนที่จะเข้า Exposition เสียอีก Concerto ที่สำคัญคือ Piano Concerto ทั้ง 5 บท, Violin Concerto in D major Op.61 เพลงนี้ Beethoven ได้เรียบเรียงเป็น Piano Concerto ด้วย, Triple Concerto for Violin, Cello, Piano and Orchestra in C major Op.56 เป็นต้น
Solo Concerto ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ตลอดจนเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 หรือยุค Romantic ในช่วงที่กระแส Virtuoso เข้มข้นขึ้นโดยมี Nicolo Paganini ( 1782-1840 ) เป็นผู้นำกระแสทำให้ Concerto เป็นบทเพลงที่ยากมากขึ้นจากยุคก่อนด้วยเทคนิคที่ผาดโผนมากขึ้นและความยาวของเพลงมากขึ้นทำให้ผู้บรรเลงเดี่ยวต้องฝึกซ้อมมากขึ้นตามไปด้วย
ส่วน Concerto Grosso และ Ripieno Concerto ได้หายไปเมื่อเข้าสู่ยุค Classic แต่ปรากฏอีกเมื่อถึงยุคศตวรรษที่ 20 เริ่มปรากฏ Ripieno Concerto เช่น Concerto for Orchestra ของ Bela Bartok ( 1881-1945 ) หรือ Concerto for Orchestra ของ Elliot Carter ( 1908- ) เป็นต้น สำหรับงานของ Concerto Grosso เช่น Concerto Grosso ของ Alfred Schnittke ( 1934-1998 ) เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

Opera-Oratorio

Opera เป็นภาษาอิตาเลียนแปลว่า Work คือ ละครร้องอลังการประกอบดนตรี มีแหล่งที่มาจากหลายที่ดังต่อไปนี้ Pastoral drama เป็นละครที่แนวดนตรีและแนวร้องจะมีการวนกลับมาตลอด เป็นละครที่ได้มาจากบทกวีของกรีก-โรมันที่บอกเล่าเกี่ยวกับธรรมชาติและท้องทุ่งมีฉากสำคัญคือฉากทุ่งกว้างและมีคนเลี้ยงแกะ Pastoral drama เรื่องแรกคือ Favola d’ Orfeo โดย Angelo Poliziano แสดงที่ Florence ในปี 1471 Pastoral drama ได้กลายเป็นที่นิยมในราชสำนักในอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 16 แหล่งที่มาอีกแหล่งทีเป็นอิทธิพลสำคัญของการกำเนิดคือ Madrigal และ Madrigal cycle เป็นเพลงร้องหลายแนวโดยที่ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบมี Form คือ Strophic form และ Ritornello form แต่ละแนวร้องแนวคำร้องเดียวกันโดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับท้องทุ่งหรือออกแนวเสียดสีก็ได้หรือจะเป็นบทกลอนที่เกี่ยวกับความรักก็ได้ Madrigal Comedy หรือ Madrigal cycle ที่มีชื่อเสียงมากคือ L’Amfiparnaso ( The slope of Parnasus ) ประพันธ์ในปี 1594 โดย Orazio Vecchi ( 1550 - 1605 ) อีกหนึ่งต้นกำเนิดคือ Intermedio หรือ Intermedi เป็นบทเพลงคั่นฉากโดยใช้เครื่องดนตรีบรรเลง การเต้น หรือการร้อง Madrigal ก็ได้มีเพื่อให้ผู้ชมได้ผ่อนคลายจากเนื้อเรื่องของละคร Intermedi ที่มีชื่อเสียงบทหนึ่งมาจากละครชวนหัวเรื่อง Lapellegrina แสดงในปี 1589 เพื่อเฉลิมฉลองในงานแต่งงานของ Grand Duke Ferdinand de’ Medici of Tuscany และ Christine of Lorraine ตระกูล Medici เป็นตระกูลที่มีอิทธิพลมากในอิตาลี
ในสมัยนั้น มีนักปราชญ์ นักคิด นักเขียนและศิลปินต่างๆ มากมายที่อยู่ในการสนับสนุนของตระกูลนี้เพื่อแข่งขันกันในเรื่องของอำนาจและบารมี อีกตระกูลหนึ่งที่มีอิทธิพลใน Florence ของอิตาลีคือตระกูล Bardi เค้าโครงของ Opera ที่สำคัญมาจากละครโศกนาฏกรรมของกรีกโบราณ ความรู้และปรัชญาต่างๆของกรีกและโรมันมาจากการที่กรุง Constantinople แตกเนื่องจากการโจมตีของพวกออตโตมัน-เติร์ก
มีผู้ที่ศึกษาศิลปะวาทะวิทยาและดนตรีของกรีกโบราณคือ Girolamo Mei ( 1519 – 1594 ) ได้ทำการศึกษาและเผยแพร่สู่สาธารณะชนโดยสร้างละครแบบกรีก-โรมัน เขียนเนื้อเอง โดยสนใจละครโศกนาฏกรรม เพื่อให้เกิดปัญญาโดยการร้อง อาจเป็นการร้องเดี่ยวหรือการร้องประสานเสียงก็ได้ ในอิตาลีในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 มีกลุ่มนักปราชญ์ นักคิด นักวิทยาศาสตร์และศิลปินในเมือง Florence มารวมตัวกันที่วังของ Count Giovanni Bardi เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่ม Florentine Camerata สำหรับ Girolamo Mei เองก็เป็นหนึ่งในสมาชิกในกลุ่มนี้และได้เสนอความคิดของดนตรีกรีกต่อกลุ่มด้วย Vincenzo Galilei ( 1520s-1591 ) นักประพันธ์เพลง นักทฤษฎีดนตรีและเป็นบิดาของนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคือ Galileo Galilei เขาได้นำความคิดของ Mei มาโจมตีการประสานเสียงแบบ Counter point เขาได้เสนอแนวคิดว่า ทำนองแนวเดียวที่ประกอบไปด้วยระดับเสียง จังหวะและคำร้องที่เหมาะสมสามารถสื่อออกมาได้มากกว่า เขาได้สนับสนุนแนวคิดของ Monody คือ ทำนองแนวเดียวประสานกับ Chord โดยที่ทำนองเป็นแนวที่ร้องเล่าเรื่องราวต่างประสานกับ Chord ที่ใช้เครื่องดนตรีเล่น ต่อมา Giulio Caccini ซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่มนี้เช่นกันได้ประพันธ์เพลงขึ้นหลายเพลงที่มีลักษณะของ Monody ในช่วงปี 1590s และนำมารวมเล่มและจัดพิมพ์เมื่อปี 1602 โดยใช้ชื่อหนังสือรวมเพลงชุดนี้ว่า Le Nuove Musiche ( The New Music ) เขาได้ใช้คำว่า aria สำหรับแต่ละเพลง โดยที่มีลักษณะโครงสร้างคือ Strophic form หรือการที่มีทำนองเดียววนกลับมาตลอดแต่คำร้องเปลี่ยน ต่อมาเมื่อตระกูล Bardi ย้ายไปที่กรุง Rome ในปี 1592 มีผู้สนับสนุนคนใหม่คือ Jacopo Corsi ( 1561-1602 ) เป็น Nobleman หรือ ขุนนาง ของตระกูล Bardi นักประพันธ์ที่ชื่อ Jacopo Peri ได้ร่วมกับกวีและนักร้องที่ชื่อ Ottavio Rinuccini ร่วมกันสร้างละครโศกนาฎกรรมแบบกรีกเรื่อง Dafne แสดงที่วังของ Corsi ในปี 1598 โดยที่แต่งในลักษณะ Monody เนื้อเรื่องเป็นโศกนาฏกรรมแบบกรีก เรื่องนี้ถือว่าเป็น Opera เรื่องแรก ต่อมาในปี 1600 Jacopo Peri ได้ร่วมกับ Ottavio Rinuccini สร้าง Opera เรื่องใหม่ขึ้นมีชื่อว่า L’Euridice โดยมี Giulio Caccini เป็นผู้เขียน Libretto ออกแสดงครั้งแรกที่ Florence เดือนตุลาคมปี 1600 ในงานแต่งงานของ Marie de’ Medici โดยมี Emilio de’ Cavalieri เป็นผู้กำกับเวที ในบทสนทนาของ Peri เขาได้สร้างสิ่งใหม่ที่เรียกว่า recitative style อยู่ในลักษณะของ Monody เช่นกัน
นักประพันธ์เพลงที่นักประวัติศาสตร์ถือว่าสำคัญในงาน Opera คนแรกคือ Claudio Monteverdi ( 1567-1643 ) มีอุปรากรเรื่องที่สำคัญคือ L’Orfeo ได้รับการว่าจ้างโดย Francesco Gonzaga รัชทายาทแห่งราชวงค์ Mantua ประพันธ์เมื่อ 1607 โดยมี Alessandro Striggio เป็น Librettist มีทั้งหมด 5 องก์ ในเรื่องนี้ Monteverdi ใช้ madrigal, ballet, ในตอนจบของเรื่องได้มีการใช้ Chorus เพื่อเสริมบรรยากาศเหมือนลักษณะของโศกนาฏกรรมแบบกรีก Opera เรื่องนี้วงดนตรีที่ใช้ใหญ่กว่าของ Peri เรื่องได้รับการตีพิมพ์ในปี 1609 โดยกำหนดเครื่องดนตรีใน Score ไว้ดังต่อไปนี้ recorders, cornetts, trumpets, trombones, strings, double harp, และกลุ่มที่เล่น Basso continuo โดยกำหนดเครื่อง regal สำหรับฉากใต้พิภพ เรื่องนี้ยังคงมีลักษณะ Monody อยู่ Overture มีลักษณะเป็น Toccata Monteverdi ได้วางโครงสร้างที่เรียกว่า Strophic variation หรือการแปรแบบวรรคต่อวรรคไว้
Opera เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม Francesco Gonzaga จึงว่าจ้างให้ Monteverdi ประพันธ์ Opera เรื่องใหม่คือ L’Arianna ในปีถัดมา เรื่องประสบความสำเร็จเช่นกันแต่ปัจจุบันหลงเหลือมาน้อยมาก
เมื่อ Monteverdi ได้ย้ายไปที่ Venice ในปี 1613 เพื่อรับตำแหน่ง Maestro di cappella ที่ St. Mark’s เขาได้ประพันธ์ Opera เรื่องที่สำคัญคือ Combattimento di Tancredi e Clorinda ) ประพันธ์ในปี 1624 ในเรื่องนี้มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นคือ stile concitato หรือ excited style ในช่วงท้ายชีวิต Monteverdi มี Opera ที่สำคัญคือ L’incoronezione di Poppea ประพันธ์เมื่อปี 1643 ในเรื่องนี้แฝงความตลกบ้าง ใช้ Chorus น้อยลง Overture ไม่ใช่แบบ Toccata อีกแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ ปรากฏ recitative – arioso Opera เรื่องนี้เปิดให้สาธารณะชนเข้าชมโดยต้องจ่ายค่าบัตรเข้าชม เพราะ Opera Houseแห่งแรกที่เปิดให้สาธารณะชนเข้าไปชมได้โดยการซื้อบัตรคือ Teatro San Cassiano เปิดในปี 1637
ใน Rome ช่วง 1620s เป็นศูนย์กลางของ Opera ในช่วงนี้ผู้หญิงถูกห้ามขึ้นแสดงบนเวทีใน Rome ในแนวผู้หญิงจึงต้องใช้เสียง Castrato ร้องแทน มี Opera ที่สำคัญคือ Il Sant’Alessio ประพันธ์โดย Stefano Landi ( 1587-1639 ) จุดที่สำคัญคือ Overture (แต่ในสมัยนั้นเรียก Sinfonie) ในองก์ที่ 2 และ 3 สามารถแบ่งได้เป็น 3 ท่อนแต่เล่นต่อกันต่อมาจะกลายเป็น Italian overture และในท่อนที่ 3 ของ Sinfonie องก์ที่ 2 เริ่มเป็น Chord และต่อด้วย imitative counterpoint ต่อมาจะกลายเป็น French overture เสียง Castrato ต่อมายังเป็นที่นิยม มักจะได้รับบทพระเอกเสมอ
Opera ในช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 17 recitative และ aria เริ่มแบ่งได้ชัดขึ้นวงดนตรีเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ใน recitative สนใจในคำร้องมากกว่าทำนองส่วน aria มีทำนองที่จำได้ง่ายและมีโครงสร้างเป็น ABA หรือเรียกว่า da capo aria เริ่มใช้โดย Alessandro Scarlatti ที่ฝรั่งเศสในช่วงนี้มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญด้านงานอุปรากรคือ Jean Baptiste Lully ( 1632-1678 ) เป็นชาวอิตาเลียนที่ย้ายไปอยู่ในฝรั่งเศสทำงานให้กับพระเจ้า Luise XIV มี Opera ที่สำคัญคือ Amadis de Gaule ประพันธ์ในปี 1684 Opera ของ Lully มีลักษณะคือใช้ French overture มี Ballet ใช้ Chaconne และ Passagaglia อยู่ใน Opera Chorus มีลักษณะเป็น Chord ใช้วงดุริยางค์ที่มีฝีมือทำให้เกิดวงดุริยางค์อาชีพโดยเฉพาะวงเครื่องสายเริ่มมี violin เป็นกลุ่มเครื่องที่สำคัญกลายเป็นบรรทัดฐานให้วงดุริยางค์ปัจจุบัน Opera ของ Lully มีขนาดใหญ่มาก ทั้งฉาก ตัวประกอบและวงดนตรีจึงถูกเรียกว่า Grand opera นักประพันธ์เพลงที่สานต่อคือ Jean-Philipe Rameau ( 1683-1764 ) ในช่วงหลัง Opera ไม่ประสบความสำเร็จเพราะชื่อเสียงของ Giovanni Baptista Pergolesi
ในอิตาลี ศูนย์กลางของ Opera อยู่ที่ Naples และที่นี่มี conservatory 4 แห่งมีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ Opera คือ Alessandro Scarlatti ( 1660-1725 ) เป็นคนที่พัฒนา Opera seria เริ่มใช้ da capo aria ใช้ Italian overture มี Chorus ในลักษณะเป็น Chord
ในอังกฤษ Opera เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลที่มาจาก madrigal ของอิตาเลียนตั้งแต่สมัย Renaissance มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ Opera คือ Henry Purcell ( 1659-1695 ) ได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก John Dowland นักประพันธ์เพลงชาวอังกฤษในปลายยุค Renaissance มี Opera ที่สำคัญคือ Dido and Aeneas
ใน German Opera เริ่มปรากฏโดย Heinrich Schutz ( 1585-1672 ) ในปี 1627 และเริ่มปรากฏ Opera house แห่งในเยอรมันที่ Hamburg เปิดในปี 1678 และหนึ่งในนักประพันธ์เพลงที่ประพันธ์ German Opera ที่สำคัญคือ Reinhard Keiser ( 1674-1739 ) แต่นักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ Opera คือ George Friderich Handel ( 1685-1759 ) ได้รับอิทธิพลจาก Lully โดยเฉพาะ French overture recitative แบ่งได้เป็นสองชนิดคือ recitative secco เป็น recitative ที่ร้องโดยมีแนว Basso Continuo ประสาน และ recitative accompagnato เป็น recitative ที่มีวงทั้งวงเล่นประสาน aria ยังคงใช้ da capo aria แต่เมื่อถึงท่อนสุดท้ายของ da capo aria จะเปิดโอกาสให้นักร้องโชว์ความสามารถได้เต็มที่และสามารถ improvise ได้ใช้วงดุริยางค์ที่ใหญ่มาก ผลงาน Opera ที่สำคัญคือ Giulio Cesare ( 1724 ), Rodelinda ( 1725 ) Opera และงานอื่นๆของ Handel ไม่ประสบความสำเร็จในอิตาลี เนื่องจากอิทธิพลของ Pergolesi แต่มีชื่อเสียงที่กรุง London ประเทศอังกฤษ ภายหลังจึงเปลี่ยนสัญชาติเป็นอังกฤษ และที่นี่ Handel ผลิตผลงานที่เยี่ยมยอดอีกหลายชิ้น
เมื่อถึงช่วงของ Pre-classic หรือช่วง Galant style ช่วงนี้จะเริ่มเกิดแนวคิดมนุษย์นิยมหรือ Humantarianism มีอิทธิพลต่อสังคมในยุโรป ในด้านดนตรีเป็นช่วงที่ melody สามารถแบ่งเป็น Phrase ได้อย่างชัดเจนและจำง่าย มีลักษณะเป็น melody กับ Chord ชัดเจน ฟังง่าย Basso Continuo เริ่มหายไปและ Alberti Bass เริ่มปรากฏแทน เริ่มปรากฏวงดุริยางค์ที่มีมาตรฐานแบบปัจจุบันในเมือง Manheim สามารถทำเสียงดังเบาได้เพราะ measured tremolo เครื่องสายเล่นกระโดดขั้นคู่ที่ไกลขึ้นได้
นักประพันธ์เพลงที่สำคัญในงาน Opera คือ Christoph Willibald Gluck ( 1714-1787 ) มี Opera ที่สำคํญคือ Orfeo ed Euridice มีทั้งภาษาอิตาเลียนและฝรั่งเศส Gluck ได้ทำการชำระ Opera ใหม่โดยที่ส่งจดหมายไปหาเหล่าเจ้านายที่เป็นผู้ว่าจ้าง เรียกร้องให้ห้าม Improvise ในท่อนสุดท้ายของ da capo aria เพราะปัญหาเรื่องเวลาปิดของ Opera house ทำให้บางครั้งแสดงไม่จบเรื่อง
ในอิตาลีช่วงศตวรรษที่ 18 ได้มี Opera แบบใหม่คือ Opera Buffa ( Comic opera ) มีเนื้อหาที่เบากว่าแบบเดิมมากและมีเนื้อหาที่ตลกขบขันแต่เสริมด้านคุณธรรมโดยตัวละครในเรื่อง เนื้อหาจะเกี่ยวกับมนุษย์มากกว่าเรื่องของเทพเจ้า aria จะไม่ยาวมาก ประสาน Harmonies ที่ไม่ซับซ้อนมาก นักประพันธ์เพลงที่เป็นในผู้บุกเบิกคือ Leonardo Vinci ( 1696-1730 ) มี Opera ที่สำคัญคือ le zeit ‘ngalera ( The Spinsters in the Galley ) แสดงครั้งแรกที่ Naples ในปี 1722 aria ยังคงใช้ da capo aria และประสานด้วย 4 parts string ensemble ในขณะที่นักประพันธ์เพลงยังใช้ Basso continuo อยู่ นักประพันธ์เพลงอีกคนที่มีชื่อเสียงในช่วง Galant style คือ Giovanni Baptista Pergolesi ( 1710-1736 ) มีผลงานที่สำคัญคือ La serva padrona เป็น Intermezzo หรือ Intermedi ใน Opera เรื่อง Il prigionero superbo มี 2 parts
German Opera เป็น Opera ที่มีคำร้องเป็นภาษาเยอรมัน ในศตวรรษที่ 17 มีนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันอยู่ไม่กี่คนที่ได้ประพันธ์ เพราะส่วนใหญ่เป็น Opera seria แต่ในช่วงศตวรรษที่ 18 ได้เกิด Opera ชนิดที่เรียกว่า Singspiel ( Singing play ) มีที่มาจากการแสดงละครพื้นบ้านของเยอรมัน เป็น Opera ที่มีการพูดบทสนทนาแทน recitative ปรากฏเริ่มแรกในปี 1710 ที่โรงละคร Kartnertotheater ในกรุง Vienna ได้รับอิทธิพลจาก Ballad Opera ( คือ Opera แบบอังกฤษที่ใช้ร้อยแก้วในบทสนทนา ) อิทธิพลที่ส่งมาถึงเหล่ากวีชาวเยอรมันทางตอนเหนือ กวีเหล่านั้นได้แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาเยอรมัน ตั้งแต่ปี 1750 นักประพันธ์เพลงจึงได้เริ่มนำไปประพันธ์เป็น Opera ในงาน Singspiel มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Johann Adam Hiller ( 1728-1804 ) แห่งเมือง Leipzig เป็นนักประพันธ์เพลงที่สำคัญในงานในงาน Singspiel ในช่วง 1760s-1770s นักประพันธ์เพลงคนต่อมาที่สำคัญคือ Wolfgang Amadeus Mozart ( 1756 -1791 ) นักประพันธ์เพลงในยุต Classic มี Singspiel ที่สำคัญคือ Die Entfuhrung aus dem Serail ประพันธ์ในปี 1782 และ Die Zauberflote ประพันธ์ในปี 1791 เป็นผลงานที่มีแนวคิดของของลัทธิ Freemasonary อยู่ด้วย นักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ German Opera อีกคนคือ Carl Maria von Weber ( 1786-1826 ) นักประพันธ์เพลงในยุค Romantic ตอนต้น มีผลงานที่สำคัญคือ Der Freischutz ( The Rifleman ) ออกแสดงครั้งแรกที่ กรุง Berlin ในปี 1821 ในช่วงปลายยุคโรแมนติก มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ German Opera คือ Richard Wagner ( 1813-1883 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่องาน German Opera มาก โดยที่เขาเขียนบทเองและประพันธ์ดนตรีเอง ในแต่ละผลงานของ Wagner ได้มีการรวมงานศิลปะทั้งหมด ไม่ว่าการแสดง บทกวี ออกแบบเวทีหรือการแสดง Wagner ได้เรียกผลงานของตัวเองว่า Gesamtkunstwerk ( total or collective artwork ) มีผลงาน Opera ที่สำคัญคือ Der fliegende Hollander อยู่ในแบบ Romantic Opera ของ Weber ประพันธ์ในปี 1842 ที่เมือง Dresden, Tanhauser ประพันธ์ในปี 1845 ที่เมือง Dresden ต่อมาได้ยกเลิกคำว่า Opera แต่ใช้คำว่า Music Dramas แทนเพราะด้วยความเป็นชาตินิยมเยอรมัน ใน Music Dramas ได้ใช้เทคนิค Leitmotif ที่พัฒนามาจาก idée fixe ของ Berlioz และ Thematic transformation ของ Liszt Music Dramas ที่สำคัญคือ Der ring des Nibelungen ( The ring of Nibelungs ) ประกอบด้วย Music Dramas 4 เรื่องคือ Das Rheingold ( The Rhein Gold ), Die Walkure ( The Valkyrie ), Siegfried และ Gotterdammerung ( The Twilight of the Gods ) ประพันธ์เมื่อปี 1874 ออกแสดงครั้งแรกที่ Bayreuth เรื่องอื่นๆที่สำคัญคือ Tristan und Isolde ประพันธ์เมื่อปี 1857-1859 เรื่องนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพังทลายของระบบ Tonal มีสาเหตุจาก Tristan Chord, Die Meistersinger von Nurnberg ( The Mastersingers of Nuremberg ) และ Pasifal
ในช่วงปลายยุค Romantic ต้นศตวรรษที่ 20 มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Richard Strauss ( 1864-1949 ) ได้รับอิทธิพลจาก Wagner มี Opera ที่สำคัญคือ Salome, Elektra เป็นต้น นักประพันธ์เพลงที่สำคัญอีกคนคือ Alban Berg ( 1885-1935 ) เป็นนักประพันธ์เพลงในกระแส Expressionism ได้รับอิทธิพลของ Schoenberg ในเรื่อง Serialism มี Opera ที่สำคัญคือ Wozzeck และ Lulu
ใน Italian Opera ช่วงหลังยุคบาโรคมีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Giovanni Baptista Pergolesi นักประพันธ์เพลงในช่วง Galant style มีผลงานที่สำคัญคือ La serva padrona เป็น Intermezzo หรือ Intermedi ใน Opera เรื่อง Il prigionero superbo ในยุค Classic นักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Wolfgang Amadeus Mozart ( 1765-1791 ) เขายังมีความสำคัญต่องาน Opera โดยเฉพาะ Opera buffa นอกจาก Singspiel มีผลงานมากมายเช่น Le nezze di Figaro, Cosi fan Tutte, La clamenza di Tito เป็นต้น สิ่งสำคัญที่ Mozart ได้พัฒนาคือ Vocal emsemble ถือว่า Mozart เชี่ยวชาญมากเช่นในฉากหนึ่งของเรื่อง Le nezze di Figaro ตัวละครหลักค่อยๆทยอยออกมาจาก 4 คนเป็น 5 คน ต่อมาเพิ่มเป็น 6 คนและเพิ่มอีกเป็น 8 คน เป็นต้น นักประพันธ์เพลงคนต่อมาคือ Ludwig van Beethoven ( 1770-1827 ) มี Opera ที่สำคัญคือ Fidelio แต่เดิมมีชื่อว่า Leonore แต่ภายหลังแก้ไขให้สั้นลงกลายเป็น Fidelio ในยุค Romantic ตอนต้นมีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Gioachino Rossini ( 1792-1868 ) ผลงานของเขามีทั้ง Opera seria และ Opera buffa มีผลงานที่สำคัญคือ L’Italiana in Algeri ( The woman in Algier ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1813 ที่ Venice, Il Barbiere di Siviglia ( The Barber of Seville ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1816 ที่ Rome โดยที่เรื่องนี้มีชื่อเสียงมากและแสดงความเป็น Italian Opera ได้ดีมากมี aria ที่มีชื่อเสียงคือ Una voce poco fa, Guillaume tell ( William Tell ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1829 ที่ Paris โดยที่ Overture ของเรื่องนี้เป็นที่รู้จักมากบทหนึ่ง นักประพันธ์เพลงคนต่อมาคือ Vincenzo Bellini ( 1809-1835 ) มี Opera คือ La Sonnambula ( The Sleepwalker ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1831, Norma ประพันธ์ขึ้นในปี 1831 และ I Puritani ( The Puritans ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1835 นักประพันธ์เพลงคนต่อมาคือ Gaetano Donizetti ( 1797-1848 ) มีผลงานที่สำคัญ Lucia di Lammermoor, E’lisir d’Amore เป็นต้น
ในช่วงยุค Romantic มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญตลอดกาลคนหนึ่งคือ Giuseppe Verdi ( 1813-1901 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่มีผลงาน Opera ที่โดเด่นมากที่สุดคนหนึ่งมี Opera ที่สำคัญมีหลายชิ้นเช่น Nabucco ประพันธ์ขึ้นในปี 1842 ที่ Milan, Luisa Miller ประพันธ์ขึ้นในปี 1849 ที่ Naples, Rigoletto ประพันธ์ขึ้นในปี 1851 ที่ Venice มี aria ที่มีชื่อเสียงคือ La donna e Mobile, Il Trovatore ( The Troubadour ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1853 ที่ Rome, La Traviata ( The Fallen Woman ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1853 ที่ Venice มี aria ที่มีชื่อเสียงคือ Libiamo, ne'lieti caliei, Aida ประพันธ์ขึ้นในปี 1871 ได้รับการว่าจ้างให้ประพันธ์เพื่อกรุง Cairo ของ Egypt ใน Opera เรื่องนี้มีบทเพลงที่มีชื่อเสียงคือ Gloria all’Egitto Grand march and Chorus
นักประพันธ์เพลงที่สำคัญหลัง Verdi ยังมี Opera เรื่องที่สำคัญอีกสองเรื่องคือ Cavalleria rusticana ( Rustic Chivalry ประพันธ์โดย Pietro Mascagni ( 1863-1945 ) ประพันธ์เมื่อปี 1890 และ I Pagliacci ( The Clowns ) ประพันธ์โดย Ruggero Leocavallo ( 1858-1919 ) ประพันธ์เมื่อปี 1892 แต่นักประพันธ์เพลงที่สำคัญที่สุดหลังจาก Verdi คือ Giacomo Puccini ( 1858-1924 ) ได้รับอิทธิพลของ Leitmotif จาก Wagner และยังได้รับอิทธิพลจากเอเชียโดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่น Pucci ได้ประพันธ์ Opera ไว้มากมายเช่นเดียวกับ Verdi โดยมีเรื่องสำคัญคือ La Boheme ประพันธ์เมื่อปี 1896 มี aria มี่ชื่อเสียงจากการปรากฏตัวของ Musetta, Tosca ประพันธ์เมื่อปี 1900, Madama Butterfly ประพันธ์เมื่อปี 1904 และ Turandot ประพันธ์ไม่เสร็จแต่ Franco Alfano ( 1875-1954 ) ได้ประพันธ์ต่อจนจบในปี 1926
French Opera ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Christoph Willibald Gluck ( 1714-1787 ) เขาสามารถประพันธ์ Opera ได้ทั้ง Italian Style, French Style และ German Style มี Opera ที่สำคัญคือ Orfeo ed Euridice ประพันธ์เมื่อปี 1762 และ Alceste มีทั้งภาษาอิตาเลียนและฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมี Opera เรื่อง Iphigenie en Aulide ( Iphigenia in Aulis ) ประพันธ์ในปี 1774 แสดงที่ Paris อิทธิพลของเขาได้กลายเป็นแบบให้กับ Opera ในอีกหลายเรื่องโดยเฉพาะใน Paris และนักประพันธ์เพลงในศตวรรษที่ 19 เช่น Hector Berlioz เป็นต้น
ในฝรั่งเศสช่วงปลายศตวรรษที่ 17 เกิดความวุ่นวายทางการเมืองคือการปฏิวัติฝรั่งเศส ราชวงค์ถูกโค่นล้ม ผู้คนนับแสนต้องตายจนได้แม่ทัพหนุ่มที่ชื่อ Napoleon Bonaparte เข้ามากอบกู้ประเทศแต่ความสงบยังไม่บังเกิดขึ้น เกิดสงครามทั่วยุโรปโดยจักรพรรดิ Napoleon Bonaparte แต่ในที่สุด Napoleon ก็แพ้สงครามให้กับรัสเซียในปี 1812 ราชวงค์เก่ากลับมาอีกครั้งโดยกษัตริย์ Louis XVIII น้องชายของ Louis XVI ได้ขึ้นครองฝรั่งเศสแทนในช่วงนี้ได้มีการสร้าง Opera house แห่งใหม่ขึ้นใน Paris โรงละครมีชื่อว่า Rue Le Peletier สร้างขึ้นในปี 1821
นักประพันธ์เพลงที่สำคัญในฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 19 มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Giacomo Meyerbeer ( 1791-1864 ) มี Opera ที่สำคัญที่สุดคือ Les Huguenots มี 5 องก์ ประพันธ์เมื่อ 1836 เป็น Opera ที่เรียกว่า Grand Opera ในเรื่องมีฉาก Crown scene ที่ยิ่งใหญ่เป็นเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างคริสต์ศาสนา 2 นิกายคือ Catholics และ Protestants และเป็นเรื่องราวของ St. Valentine นอกจากนี้ Meyerbeer ยังได้นำ Lutheran Chorale “ Ein’ fest Burg ist unser Gott ” เป็นสัญลักษณ์ของนิกาย Protestants
นอกจาก Meyerbeer ยังมีนักประพันธ์เพลงอีกคนที่สำคัญคือ Hector Berlioz ( 1803-1869 ) มี Opera ที่สำคัญคือ Les Troyen ประพันธ์เมื่อปี 1856-1858 แสดงครั้งแรกเมื่อ 1863 เป็น Grand Opera ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งมี 5 องก์ในเรื่องนี้ Berlioz เขียนบทเองโดยอิงจากเรื่อง Aenaid เรื่องอื่นๆของ Berlioz ที่สำคัญคือ Beatrice et Benedict, Benvenuto Cellini, La damnation de Faust เป็นต้น
หลังจาก Berlioz ยังมีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญอีกคือ Charls Gounod ( 1818-1893 ) มี Opera ที่สำคัญคือ Faust มีการพูดบทสนทนา แสดงครั้งแรกที่ Theatre Lyrique ในปี 1859 Opera ที่สำคัญอีกเรื่องคือ Romeo et Juliette ประพันธ์เมื่อ 1867 นักประพันธ์เพลงคนต่อมาคือ Jules Massenet ( 1842-1912 ) มี Opera ที่สำคัญคือ Manon ประพันธ์เมื่อ 1884, Werther ประพันธ์เมื่อ 1892 และ Thais ประพันธ์เมื่อ 1894
เมื่อกระแสของ Exoticism มีอิทธิพลในฝรั่งเศส อิทธิพลได้เข้าไปมีอิทธิพลในงานดนตรีด้วย ในงานของ Opera นักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Georges Bizet ( 1838-1875 ) มี Opera ที่สำคัญคือ The Pearl Fisher ประพันธ์เมื่อ 1863 และ Carmen เรื่องนี้แสดงครั้งแรกเมื่อปี 1875 มีความเป็นวัฒนธรรมของสเปน การเต้นรำแบบสเปน นอกจากนี้ยังมี Opera เรื่องที่สำคัญในกระแสนี้อีกคือ Samson et Dalila ประพันธ์โดย Camille Saint-Saens ( 1835-1921 ) และ Lakme ประพันธ์โดย Leo Delibes
มี Opera ชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วง 1850s เป็นประเภทหนึ่งของ Comic Opera ( ปัจจุบันหมายถึง Opera ที่มีการพูดบทสนทนา ) ที่มีเนื้อหาเสียดสีสังคมหรือล้อเลียนคือ Opera bouffe ริเริ่มโดย Jacque Offenbach ( 1819-1880 ) เป็นผู้ที่นำจังหวะ can-can ให้เทพเจ้าเต้นในเรื่อง Orphee aux enfers ( Orpheus in the Underworld ) ประพันธ์เมื่อปี 1858 Opera เรื่องมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการของ Opera ในอังกฤษ เวียนนา อเมริกา และอื่นๆ ใช้ melody, rhythm, texture และ harmony ที่ง่ายและน่าสนใจ Opera ในลักษณะนี้ในภายหลังจะกลายเป็น Operetta หรือ Opera ขนาดเล็กมีเนื้อหาที่เบาสมอง สนุกสนาน Operetta ต่อมาจะกลายเป็น Musical Broadway ที่สุด
Opera เป็นละครร้องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเทพเจ้าหรือไม่ก็ทางโลกแต่ มีละครร้องที่เกี่ยวกับศาสนาเพียงอย่างเดียวไม่มีการแสดงใดๆทั้งนอกจากยืนร้องเวทีคู่กับวงดุริยางค์เท่านั้น ลักษณะของงานชนิดนี้คือ Oratorio
Oratorio ( Prayer hall ) มีพัฒนาการมาควบคู่กับ Opera ลักษณะของ Oratorio คือ มี recitative และ aria มี Overture บางช่วงมีบทขับร้องกลุ่มหรือ Vocal ensemble เช่นเดียวกันกับ Opera มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับศาสนาโดยอิงจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือมีเนื้อหาที่สั่งสอนให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีนักร้องเดี่ยวขับร้องอยู่หน้าวงดุริยางค์ และมีคณะนักร้องประสานเสียงขนาดใหญ่ยืนอยู่หลังวงดุริยางค์แต่มีบทบาทมากกว่าใน Opera เพราะไมใช่ตัวเสริม แต่มีบทร้องที่ไพเราะและยากพอๆกับกลุ่มขับร้องเดี่ยว ไม่มีการออกท่าทางการแสดงไม่มีฉากอันใหญ่โต ไม่มีชุดตามท้องเรื่อง เมื่อจบบทขับร้องเดี่ยวมักจะตามด้วยบทขับร้องประสานเสียงที่ใหญ่โตอลังการ อาจมีบทเพลงบรรเลงสั้นที่เรียกว่า sinfonie บางช่วงมีบทขับร้องกลุ่มหรือ Vocal ensemble คำร้องส่วนใหญ่เป็นภาษาละติน อิตาเลียนและอังกฤษในกรณีที่เป็น English Oratorio แต่ความนิยมของ Oratorio ยังไม่เท่ากับ Opera ดังนั้นจึงมีนักประพันธ์เพลงไม่กี่คนเท่านั้น การพัฒนาของ Oratorio ไปสุดที่ Handel เท่านั้น
เริ่มปรากฏการใช้คำว่า Oratorio โดย Pope Gregory XIII และเริ่มใช้ครั้งแรกโดย Saint Philip Neri นักประพันธ์เพลงที่มีความสำคัญคนแรกๆคือ Giacomo Carissimi ( 1605-1674 ) มี Oratorio ที่สำคัญคือ Jephte ประพันธ์เมื่อปี 1648 ใช้ภาษาละตินเป็นคำร้องโดยนำมาจาก Judge 11:29-40 นักประพันธ์เพลงที่สำคัญคนต่อมาคือ Marc-Antoine Charpentier ( 1634-1704 ) ลูกศิษย์ของ Giacomo Carissimi เริ่มแต่ง Latin Oratorio ฝรั่งเศส ใช้ต้นแบบจาก Giacomo Carissimi แต่มี recitative และ aria ในแบบทั้งอิตาเลียนและฝรั่งเศส การใช้คณะนักร้องประสานมีความโดดเด่นมาก บางครั้งใช้เป็น Double Choir ในช่วง ปลายศตวรรษที่ 17 Oratorio ยังได้รับการบรรเลงอยู่ ส่วนใหญ่คำร้องใช้ภาษาอิตาเลียนมากกว่าภาษาละติน คำร้องจะมีการวนกลับ
ในช่วงปลายยุค Baroque มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญทั้งงาน Opera และ Oratorio คือ George Friderich Handel ( 1685-1759 ) โดย Oratorio ของ Handel มักจะเป็น English Oratorio และเป็นคนที่ริเริ่มในการประพันธ์ด้วย Oratorio เรื่อง Esther เป็น English Oratorio เรื่องแรกของ Handel แสดงครั้งแรกที่ King’s Theater ในปี 1732 เรื่องต่อมาคือ Saul ประพันธ์ในปี 1739 ใช้เวลาประพันธ์สามเดือน Oratorio เรื่องนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แต่ Handel ยังคงประพันธ์ Oratorio ต่อไปโดยเรื่องต่อไปเป็นเรื่องที่โด่งดังที่สุดของ Handel คือ Messiah โดยมี Charles Jennens เป็น Librettist ออกแสดงครั้งแรกที่ Dublin ประเทศ Ireland ในวันที่ 14 เมษายน 1742 ได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นพ้น มีผู้เข้าชมอย่างล้นหลามจนกระทั่งผู้จัดได้ขอร้องให้ผู้หญิงงดใส่กระโปรงสุ่มเพื่อให้มีที่ว่างมากขึ้นและผู้ชายให้งดติดดาบเพื่อความปลอดภัย ต่อมา Messiah ได้แสดงที่กรุง London ที่ Covent Garden Theater การแสดงครั้งแรกใน London ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จแต่ภายหลังได้รับการยอมรับ ในการชม Messiah มีธรรมเนียมหนึ่งคือ เมื่อถึงท่อน Hallelujah ผู้ชมจะลุกขึ้นเสมอ ธรรมเนียมนี้มีเรื่องเล่าว่า ในการแสดงต่อหน้าพระพักตร์ของ King Georg II เมื่อถึงท่อน Hallelujah พระองค์ประทับใจมากถึงขนาดลืมพระองค์ เผลอลุกขึ้นประทับยืน ทำให้ผู้ชมคนอื่นๆต้องลุกขึ้นยืนโดยเสด็จด้วย เลยกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
นักประพันธ์เพลงที่สำคัญทั้งงาน Opera และ Oratorio ในช่วงยุค Classic คือ Franz Joseph Haydn ( 1732-1809 ) เนื่องจากช่วงที่ Haydn อยู่ที่ London และได้มีโอกาสฟัง Messiah ของ Handel ทำให้ Haydn ประทับใจมาก Haydn จึงประพันธ์ Oratorio บ้าง เรื่องแรกของเขาคือ Die Schöpfung ( The Creation ) ประพันธ์เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1798 เรื่องที่สองคือ The Season ประพันธ์เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1801 ทั้งสองเรื่องเป็นทั้ง German Oratorio และ English Oratorio เพราะมีคำร้องทั้งภาษาเยอรมันและอังกฤษ คำร้องภาษาเยอรมันเขียนโดย Baron Gottfried van Swieten ใน Die Schöpfung ( The Creation ) ยังมีความเป็น word painting อยู่ด้วยเช่น ตอนช่วงเริ่มต้นมีท่อนที่ชื่อว่า Depiction of Chaos ใช้ Harmony ที่เป็น dissonance ใน Dynamic เบา จนถึงประโยคว่า “ and there was light “ คำว่า light ลง Chord C major ด้วย Dynamic ที่ดังมาก เป็นต้น นอกจาก Haydn แล้ว ยังมี Ludwig van Beethoven ( 1770-1827 ) มี Oratorio เรื่อง Christus am Olberge ( Christ on the Mount of Olives ) Op. 85 เป็น German Oratorio
Oratorio ของทั้ง Handel และ Haydn ได้กลายเป็นแก่นของ Choral work ขนาดใหญ่ แต่ในช่วงยุค Romantic ตอนต้น มีนักประพันธ์เพลงที่สนใจในผลงานของ Bach และได้เริ่มรื้นฟื้นผลงานของ Bach โดยเมื่อขณะที่อายุ 20 ปี ได้อำนวยเพลงให้กับ Berliner Singakadamie ด้วยผลงานของ Bach เช่น Mass in B minor, St. Matthew Passion เป็นต้น นักประพันธ์คนนี้คือ Jakob Ludwig Felix Mendelsohn-Bartholdy ( 1809-1847 ) มี Oratorio ที่สำคัญคือ St. Paul ประพันธ์เมื่อปี 1836 และ Elijah ประพันธ์เมื่อปี 1846 ในช่วง final chorus ของเรื่องนี้มีลักษณะแบบ Handel เปิดด้วย Homorhythmic แล้วต่อด้วย Fugue ที่เข้มข้น แล้วจบด้วย Contrapuntal Amen
นอกจาก Mendelsohn ที่มีงาน Oratorio แล้วในช่วงปลายยุค Romantic หรือช่วงปลายศตวรรษที่ 18 คือ Franz (Ferencz) Liszt (1811-1886) มี Oratorio ที่สำคัญสองเรื่องคือ St. Elisabeth ประพันธ์เมื่อปี 1857 เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1862 เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับ St. Elisabeth of Hungary เรื่องที่สองคือ Christus ประพันธ์เมื่อปี 1866 เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1872 เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับคริสตประวัติ ทั้งสองเรื่องได้มีการนำทำนองจาก Chant เข้ามาใช้
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีกลุ่มของนักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส 6 คนคือกลุ่ม Les Six กลุ่มนี้มี Oratorio ที่สำคัญคือ King David ประพันธ์โดย Arthur Honegger ( 1892-1955 ) ประพันธ์เมื่อปี 1923 เรื่องนี้มีการผสมผสานใน style ของ Gregorian Chant – Baroque polyphony – Jazz อีกสองเรื่องต่อมาเป็นของ Darius Milhaud ( 1892-1974 ) มี Oratorio คือเรื่อง Christophe Colomb ประพันธ์เมื่อปี 1928 และเรื่อง Sacred Service ประพันธ์เมื่อปี 1947 เรื่องนี้แสดงความเป็น Jewish ของ Milhaudได้ดี
ในทางฝั่งของอังกฤษมีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญทีมีงาน Oratorio คือ Sir Edward Elgar ( 1857-1934 ) มี Oratorio เรื่อง The Dream of Gerontius ประพันธ์ในปี 1900 นำมาจากบทกวีของ Chatolic ประพันธ์โดย Henry Newman

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง Opera และ Oratorio
1. เนื้อหาของ Opera นั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้าและเรื่องของทางโลก หรือสะท้อนสังคม เสียดสีสังคมได้ เป็นเรื่องทางโลกมากกว่าทางธรรม แต่สามารถสอดแทรกคุณธรรมได้ เนื้อหาของ Oratorio มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับศาสนาโดยอิงจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือมีเนื้อหาที่สั่งสอนให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงามเท่านั้น
2. ในเรื่องของการแสดง Opera มีฉากอันใหญ่โต มีชุดตามท้องเรื่องและมีการออกท่าทางการแสดงตามบทของตนที่ได้รับแต่ Oratorio ไม่มีฉาก ไม่มีชุดตามท้องเรื่อง ไม่มีการแสดงออกท่าทางตามบทของตน เพียงแต่ยืนร้องหน้าวงดุริยางค์เท่านั้น โดยมีคณะนักร้องประสานเสียงยืนอยู่หลังวงดุริยางค์
3. Libretto ของ Opera จะมีภาษาที่หลากหลายแต่ Oratorio ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาละติน อิตาเลียน หรือไม่ก็อังกฤษ เยอรมันมีบ้างในช่วงหลังยุค Baroque บทบาทของคณะนักร้องประสานเสียงใน Opera เป็นเหมือนตัวเสริมสถานการณ์ หรือร้องแซ่ซ้องสดุดีตัวละครตามท้องเรื่องแต่บทบาทของคณะนักร้องประสานเสียงมีความสำคัญมากกว่า Opera กล่าวคือไมใช่ตัวเสริม แต่มีบทร้องที่ไพเราะ อลังการและยากพอๆกับกลุ่มขับร้องเดี่ยว

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Franz (Ferencz) Liszt (1811-1886)


Franz Liszt เป็นนักประพันธ์เพลง นักเปียโนที่มีฝีมือเป็นเลิศในช่วงยุคโรแมนติก เกิดเมื่อปี 1811 ในบริเวณของ Western Hungary ( ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ Austria ) เสียชีวิตเมื่อปี 1886 ได้รับอิทธิพลที่สำคัญในยุคนี้คือกระแสของนักดนตรียอดฝีมือหรือ Virtuoso โดยรับอิทธิพลมาจาก Nicolo Paganini นักไวโอลินที่มีฝีมือเป็นเลิศอันเนื่องมาจากในขณะนั้น Paganini มีชื่อเสียงโด่งดังมากและสภาพสังคมยุโรปในยุคโรแมนติคนิยมชมชอบวีรบุรุษ นอกจากนี้เขายังส่งอิทธิพลต่อดนตรีในยุคนี้อย่างมากโดยเฉพาะ Symphonic Poem ,เทคนิคของเปียโนและ Harmony
Franz Liszt เริ่มเรียนเปียโนกับนักดนตรีในราชสำนัก Esterhazy เพราะบิดาของเขาทำงานในราชสำนัก เมื่ออายุ 6 ขวบ เขาเริ่มแสดงความอัจฉริยะออกมาเมื่อเขาได้ออกแสดงเปียโนครั้งแรกเมื่ออายุ 9 ขวบในปี 1821 เขาได้ย้ายไปที่ Vienna และได้เรียนกับ Carl Czerny ลูกศิษฐ์ของ Beethoven เรียนทฤษฎีดนตรีและ Counter point กับ Antonio Salieri เมื่ออายุ 11 ปี เขาได้แสดงคอนเสิร์ตต่อหน้าสาธาณะชน ในปี 1823 เขาย้ายไปที่ Paris และเรียนทฤษฎีดนตรีและการประพันธ์เพลง ในปี1824 เขาได้ไปแสดงที่ London ที่นั่นเขาได้รับการยอมรับจากกษัตริย์ Georg IV และเขาได้มีโอกาสกลับไปอีกครั้ง ในปี 1825 – 1826 จุลอุปรากร ( Operetta) เรื่อง Don Sanche ได้ออกแสดงครั้งแรกที่ Paris ตลอดเวลาที่เขาพำนักอยู่ที่ Paris เขาเป็นได้เพื่อนกับ Berlioz ,Chopin ศิลปินที่สำคัญหลายคนในสมัยนั้น ตลอดเกือบ 20 ปีเขาออกแสดงเปียโนในฐานะนักเปียโนที่มีฝีมืออันยอดเยี่ยมและการเล่นที่ผาดโผนและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม แต่ในปี 1848 เขาได้หันหลังให้กับเวทีแสดงเปียโนแต่หันหน้าเข้าการอำนวยเพลงให้วงดุริยางค์ การประพันธ์เพลง และการสอนดนตรี ในช่วงปี 1848 – 1861 เขาได้เป็นผู้อำนวยการด้านดนตรีที่สำนัก Weimar เป็นสถานที่ที่เขาแสดงผลงานที่สำคัญหลายชิ้น โดยเฉพาะ อุปรากรเรื่อง Lohengrin ของ Richard Wagner ในปี 1850 และผลงานของBerlioz อีกมากมาย และเขายังได้แสดงผลงานของเขาเอง เช่น Faust Symphony และ Dante Symphony ,12 Symphonic Poems และอื่นๆอีกมากมายในช่วงปี 1860 เขาอาศัยอยู่ที่ Villa d’ Este อยู่ในบริเวณกรุง Rome ในปี 1865 เขาเริ่มรับงานพิเศษในกับโบถส์มากขึ้น ตั้งแต่ปี 1869 เขาจึงปรากฏตัวที่ Rome,Weimar ,Budapest ตลอดมา ในช่วง 5 ปีสุดท้ายของชีวิตเขาทุ่มเทให้กับการสอน มีลูกศิษย์ที่สำคัญหลายคนเช่น Ziloty, Lamond ,Rosenthal, Weingartner, Hans von Bulow เป็นต้น
Franz Liszt ถือเป็นนักประพันธ์เพลงที่สำคัญมากคนหนึ่งในยุคโรแมนติก เขาได้ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะเทคนิคของเปียโนมีความยากขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด และมีผลงานที่เกี่ยวกับเปียโนมากมาย นอกจากผลงานเปียโนแล้ว เขายังมีผลงานที่เกี่ยวกับวงดุริยางค์อีกมากมาย โดยเฉพาะเพลงประเภท Symphonic Poem อาจถือได้ว่าเขาเป็นผู้ให้กำเนิดบทเพลงประเภทนี้ก็อาจเป็นได้ เขายังมีผลงาน Transcribe อีกมากมาย โดยเขาได้เรียบเรียงจากเพลงสำหรับวงดุริยางค์ให้บรรเลงด้วยเปียโนได้เช่น Symphony ทั้ง 9 บทของ Beethoven บางเพลงเรียบเรียงจากอุปรากรเช่น Rigoletto: paraphase de concert บางเพลงนำมาจาก Lieder นอกจากนี้เขายังเรียบเรียงเพลงเปียโนให้เป็นเพลงสำหรับวงดุริยางค์ด้วยเช่นกันโดยเรียบเรียงเพลงของตัวเองเช่น Mephisto Walz หรือ Mazeppa เป็นต้นบทเพลงที่สำคัญอื่นเช่น
Hungarian Rhapsody for Piano ทั้ง 19 บท Liszt ได้รับอิทธิพลของความเป็นชาตินิยมโดยตั้งใจที่จะนำทำนองแบบ Hungarian ในสำเนียงของ Gypsy มาใช้ในผลงานชิ้นนี้เพื่อแสดงความเป็น Hungarian ของเขา บทเพลงชุดนี้มีความยากมากต้องใช้ฝีมือและเทคนิคขั้นสูงในการบรรเลง
La Campanella เป็นเพลงที่นำมาจาก Violin Concerto in B minor ของ Paganini และ Paganini เองเป็นหนึ่งในนักประพันธ์เพลงและนักไวโอลินที่อิทธิพลสำคัญของกระแส Virtuoso
Sonata for piano in B minor เป็น Sonata บทเดียวของเขาและเป็นหนึ่งในบทเพลงที่สำคัญมากในวรรณคดีเปียโน โดยเขากำหนดไว้ 4 ท่อนแต่ไม่หยุดพัก ทั้งเพลงมีทำนองหลัก 3-4 ทำนอง
Piano Concerto No.1 in E-flat Major แสดงถึงบรรยากาศทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาด้วยเสียงที่ฟังแล้วขนลุก
Totentanz บทเพลงนี้ได้นำทำนอง Dies Irae จากยุคกลางมาใช้เนื่องจากอิทธิพลของสงครามที่เพิ่งสิ้นสุดลงทำให้ศิลปินหลายคนในช่วงนี้พิศวงกับความตาย ทำนอง Dies Irae Berlioz เคยใช้ใน Symphonie Fantastique ในท่อนสุดท้ายที่บรรยายเกี่ยวกับนรก
Les Prelude เป็น Symphonic Poem ที่สำคัญมากบทหนึ่งของเขา ที่มาของเพลงนี้คือ เขาได้อ่านบทกวีที่ชื่อ Les Prelude ของ Alfonse-Marie de Lamatine ในบทเพลงเขาได้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Thematic Transformation เป็นการใช้ทำนองเป็นการปรับทำนองหลักคล้ายกับ Variation แต่มีลักษณะของทำนองเดิมชัดเจนซึ่งต่อไปจะกลายเป็น Leitmotive ของ Wagner ต่อไป เทคนิคนี้อาจได้รับอิทธิพลจากเทคนิค Idee Fixe ของ Berlioz ก็ได้
อิทธิพลในฐานะนักประพันธ์เพลงของ Franz Liszt ส่งต่อให้นักประพันธ์เพลงหลายคนในยุโรปหลายคนในช่วงยุคโรแมนติกไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 มากกว่าความเป็น Virtuoso และเขามักจะค้นหาสิ่งแปลกใหม่โดยตลอด เขาส่งอิทธิพลของการใช้ Harmony ในแบบของเขาคือการใช้ Chromatic Harmony ส่งอิทธิพลนี้ให้ Wagner ต่อไป การที่ให้ความสำคัญกับคู่ octave และ augmented Triad ส่งอิทธิพลต่อให้กับนักประพันธ์เพลงชาวรัสเซียและชาวฝรั่งเศส การใช้ Harmony ของเขาเกือบจะทำลายระบบ Tonal โดยที่เขาใช้ขั้นคู่ augmented และ diminished chords การที่ใช้บันไดเสียง whole-tone scale ที่บ่อยมากคือการเปลี่ยน Key ที่หาความสัมพันธ์ไม่ได้ และบ่อยครั้งที่เขามักจะเล่นทำนองกับลายประสานที่แตกต่างกันโดยที่ไม่คำนึงถึงกฎของ Harmony แต่อย่างใดซึ่งปรากฏในเพลงหลายเพลงเช่น Nuage gris, Unstern, Mephisto Walz เป็นต้น อิทธิพลนี้ได้ส่งต่อไปถึงนักประพันธ์เพลงในช่วงปลายยุคโรแมนติกถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในด้านของ Orchestral music นักประพันธ์เพลงหลายคนเช่น Smetana, Franck, Saint-Sean, Tchaikovsky, Rimsky-Korsakov, Richard Strauss และ Ives นิยมประพันธ์ Symphonic Poem เช่น Symphonic Poem ชุด Ma Vlast ของ Smetana, Sheherazard ของ Rimsky-Korsakov หรือ Also sprach Zaratustra ของ Richard Strauss เป็นต้น

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Alessandro Scarlatti (1660-1725)


Alessandro Scarlatti เกิดเมื่อ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ที่ Palermo เสียชีวิตเมื่อ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1725 ที่ Naplesเป็นนักประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน ที่มีชื่อเสียงด้านการประพันธ์ Opera ,Oratorio และ Cantata โดยเฉพาะ เป็นหนึ่งในนักประพันธ์เพลงที่ให้กำเนิด Chromatic Chord ที่เรียกว่า Neapolitan sixth Chord และถูกจัดให้เป็นหนึ่งในกลุ่ม Neapolitan school นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในนักประพันธ์เพลงที่มีความสำคัญในการพัฒนา Opera และ Cantata อีกด้วย
Alessandro Scarlatti เป็นบุตรคนที่สองจากแปดคนของ Pietro Scarlatti เกิดที่ Palermo ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 เมื่อเขาอายุได้ 12 ปี เขาและพี่น้องอีกสองคนได้ย้ายไปอยู่กับญาติที่กรุง Rome แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดสำหรับการเรียนดนตรีในช่วงเริ่มต้น แต่สันนิษฐานว่า เขาอาจเรียนดนตรีก็บิดาของเขาหรือไม่ก็ญาติคนอื่นๆ แต่ที่ปรากฏหลักฐานว่าเขาได้เรียนดนตรีกับ Giacomo Carissimi นักประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน และเป็นหนึ่งในนักประพันธ์เพลงท่พัฒนา Cantata แต่เรียนได้ไม่นาน Carissimi ได้เสียชีวิตในเดือนมกราคม 1674 และมีความเป็นไปได้ว่าเขาได้เข้าในคณะนักร้องประสานเสียงในโรงเรียนและได้มีโอกาสไปร้องในโบสถ์ใหญ่ๆหรือในโรงเรียนสอนศาสนา ขณะที่อยู่ที่ Rome เขาได้มีโอกาสไปชมการแสดงดนตรีที่ผลงานของนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงหลายคนในอิตาลีเช่น Cesti, Stradella, Pasquini, Sartorio เป็นต้น เขาแต่งงานกับ Antonia Anzalone เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1678 มีลูกชายเจ็ดคนและลูกสาวห้าสามคนแต่สุดท้ายแล้วเหลือเพียงห้าคนที่รอดมาได้ มีลูกชายสองคนที่ต่อมากลายเป็นนักประพันธ์เพลงคือ Pietro Filipo Scarlatti และ Giuseppe Domenico Scarlatti โดยเฉพาะ Domenico Scarlatti ต่อมาจะกลายเป็นนักประพันธ์เพลงคนสำคัญคนหนึ่งในช่วง Pre-Classic
ชื่อของ Alessandro Scarlatti ที่ปรากฏในฐานะนักประพันธ์เพลงเริ่มขึ้นเมื่อโบสถ์ Arciconfraternita del Ss Crocifisso ได้ว่าจ้างในเขาประพันธ์ Oratorio ได้แสดงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ เป็นการแสดงครั้งแรกและครั้งเดียว หนึ่งในผลงานชิ้นแรกของเขาคือ อุปรากรเรื่อง Gli equivoci nel sembiante ได้ประสบความสำเร็จในการแสดง และได้แสดงอีกครั้งที่กรุง Rome ในปี 1679 และในที่อื่นๆอีกหลายที่เช่น Bologna, Naples, Monte Filottrano เป็นต้น หนึ่งในผู้อุปถัมภ์คนที่สำคัญคนแรกๆของ Alessandro Scarlatti คือ Queen Christina แห่ง Sweden ผู้อุปถัมภ์ศิลปะคนสำคัญคนหนึ่ง ในอุปรากรเรื่องที่สองคือ L’honesta negli amori (1680) ได้เอ่ยถึงพระนางในฐานะที่ตนเองเป็น maestro di cappella เขาได้อยู่ในตำแหน่งนี้จนกระทั่งเขาย้ายไปที่ Naplesในปี 1684 นอกจากพระราชินีแห่ง Sweden แล้วยังมีพระคารดินัลอีกสององค์ที่ให้การสนับสนุนและอุปถัมภ์คือ Benedetto Pamphili และ Pietro Ottoboni
เมื่อ Alessandro Scarlatti ย้ายมาที่ Naples ในปี 1684 ตามคำเชิญของ Marquis del Carpio อดีตทูตของสำนักวาติกัน ซึ่งในขณะนี้เป็นอุปราชของ Naples และยังได้เคยชมผลงานของเขาอีกด้วย และขณะนี้เมือง Naples กำลังเป็นเมืองแห่งศิลปะดนตรีและเป็นศูนย์กลางของ Opera เขาจึงอยู่ที่เมืองตลอดมาและได้ผลิตผลงานมากมายไม่เพียงเฉพาะ Opera แต่รวมถึง Oratorio, Serenata, Cantata และอื่นๆอีกมากมาย หนึ่งในผลงานที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ Il Pirro e Demetrio ได้นำออกแสดงที่ St. Bartolomeo ในปี 1684 อีก 2-3 ปีต่อมาได้ออก แสดงที่ Rome, Siena, Florence, Milan, Brunswick (ต่อมาคำร้องถูกแปลเป็นภาษาเยอรมัน ) และอาจไปถึงที่ Mantua และ Leipzig ด้วย อุปรากรเรื่องนี้ถูกนำออกแสดงรวมกว่า 60 ครั้งหลายหัวเมืองไปจนถึง London และได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวที่ได้แสดงในประเทศอังกฤษ อุปรากรเรื่องสุดท้ายของเขาคือ La Griselda เรื่องนี้ได้ออกแสดงที่ Capranica เป็นโรงละครที่ Ruspoli ได้สนับสนุนอยู่ ออกแสดงในปี 1721
ในช่วงท้ายของชีวิต (1722-25) เขาได้ประพันธ์ cantata อีก 4 บท Serenata สำหรับพระราชพิธีอภิเษกสมรส และ เพลงชุด Sonata for flute and strings สาเหตุที่เขาได้ลองประพันธ์บทเพลงที่ใช้ flute อาจเนื่องมาจากการพบกันระหว่างตัวเขาและ Johann Joachim Quantz ในปี 1724 ในการชุมนุมกันของนักประพันธ์เพลงก็เป็นได้ เมื่อ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1725 เขาเสียชีวิตลง ร่างของเขาถูกฝังที่ St. Maria di Montesanto โดยที่หินจารึกที่หลุมศพได้จารึกเป็นภาษาละตินไว้ว่า the greatest restorer (renewer) of music of all ageในช่วงที่ Alessandro Scarlatti ยังมีชีวิตอยู่นั้นเขาได้พัฒนาหลายสิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะการใช้ da capo aria เป็น aria ที่มีลักษณะโครงสร้างแบบ ABA กล่าวคือ ทำนอง A แรก และ ทำนอง Aหลังเป็นทำนองเดียวกันแต่คำร้องไม่เหมือนกัน และ ทำนอง B มีทำนองที่ต่างออกไป และ Italian Overture มีลักษณะโครงสร้างหลักคือคือ เร็ว-ช้า-เร็ว เป็น form ที่สำคัญมากต่อ form ของเพลงบรรเลงเช่น concerto sonata ไปจนถึง symphony

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Passacaglia

ในช่วงปลายยุค Renaissance หรือ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา สืบเนื่องจากการแยกตัวของ Martin Luther คริสตจักรโรมันคาทอลิกที่มีพระสันตปาปาเป็นองค์ประมุขได้เริ่มเสื่อมลง จึงมีการสังคายนาขึ้นครั้งใหญ่ ณ. เมือง Trent ได้มีการจัดตั้งสภาแห่ง Trent ทำหน้าที่ในการสังคายนา ต่อมาสภาแห่ง Trent ได้ออกกฎต่างๆหนึ่งในกฎข้อหนึ่งที่ได้บรรญัติขึ้นคือ ในเพลงสวดห้ามนำเครื่องดนตรีมาใช้เพื่อให้คำสวดได้ยินชัดขึ้น ทำให้นักดนตรีที่เคยเล่นประกอบกับวงขับร้องประสานเสียงหันมาให้ความสำคัญกับการบรรเลงโดยไม่ต้องมีเสียงร้อง เริ่มแรกได้นำเพลงร้องมาบรรเลง ต่อมาจึงเริ่มนำเพลงเต้นรำของท้องถิ่นมาบรรเลง เมื่อเพลงบรรเลงเริ่มมีการพัฒนามากขึ้น บทเพลงประเภท Variation จึงเริ่มปรากฏในช่วงที่เพลงประเภท Improvisatory หรือการด้นสดกำลังเป็นที่นิยม Variation เองเปรียบเสมือนการด้นบนทำนองหลัก
Variation สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ Sectional Variation หรือ การแปรทำนองแบบแบ่งตอน และ Continuous Variation หรือ การแปรทำนองแบบต่อเนื่อง
Continuous Variation นั้นแบ่งออกได้อีก 2 แบบ คือการแปรทำนองเหนือคอร์ด เป็นการแปรทำนองที่มีคอร์ดเป็นหลักโดยคอร์ดชุดหนึ่งโดยที่คอร์ดชุดนี้จะเล่นซ้ำไปซ้ำมามีลักษณะคล้าย Ground Bass เพียงแนว Bass มีอิสระในการดำเนินทำนองกว่า ตัวอย่างบทประพันธ์เพลงที่มีลักษณะนี้คือ Chaconne เช่นบทเพลง Partite sopra Ciaccona ประพันธ์โดย Girolamo Frescobaldi หรือ Ciaccona from Partita for violin solo No.2 in D minor BWV 1004 ประพันธ์โดย Johann Sebastian Bach เป็นต้น แบบที่ 2 คือการแปรทำนองเหนือแนวเบส เป็นการแปรทำนองโดยที่มีแนว Bass ที่ค่อนข้างตายตัวโดยที่เดินวนซ้ำไปซ้ำมาเรียกว่า Ground Bass หรือ Basso ostinato ตัวอย่างบทประพันธ์เพลงที่มีลักษณะนี้คือ Passacaglia เช่นบทเพลง Partite sopra Passacagli ประพันธ์โดย Girolamo Frescobaldi
Passacaglia เป็นเพลงประเภท Continuous Variation ในรูปแบบเพลงเต้นรำแบบอิตาเลียนและสเปนชนิดหนึ่งที่อยู่ในอัตราจังหวะแบบ 3/4โดยทำนองอยู่บนแนวเบสที่เรียกว่า Ground Bass หรือ Basso ostinato เริ่มปรากฏในช่วงต้นยุคบาโรคเมื่อเพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาททางสังคมมากขึ้นสืบเนื่องมาจากสภาแห่ง Trent ออกกฎห้ามนำเครื่องดนตรีเข้ามาใช้ในเพลงทางศาสนา
Passacaglia ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 เริ่มปรากฏขึ้นในลักษณะของ ritornello อยู่ในบริเวณประเทศสเปน ฝรั่งเศส และอิตาลี แต่เดิมเป็นเพลงพื้นเมืองของสเปน เป็นเพลงสำหรับเครื่องประเภทดีด มีความเป็นไปได้ว่ามาจากคำว่า Paseo ถูกเรียกครั้งแรกโดย Juan Carlos Amat และคำว่า Pasacalle ทั้งสองคำแปลว่า Promenade นอกจากนี้ยังปรากฏในเทคนิกของ Guitar อีกด้วย ต่อมาเริ่มปรากฎการดำเนินของเสียงประสานในลักษณะ I-IV-V-(I) มักจะปรากฏในช่วงเริ่มของเพลงและปรากฏอีกครั้งเมื่ออยู่ช่วงจบของเพลง เรียกว่า Ritornello-Passacaglia อาจอยู่ในโหมด major หรือ minor ก็ได้ ในจังหวะแบบ duple หรือ triple ลักษณะของ Ritornello-Passacaglia ในช่วงแรกปรากฏในอิตาลี ในเพลง Nuova inventione d’intavolatura เป็นเพลงสำหรับ Spanish guitar ประพันธ์โดย Girolamo Montesardo ประพันธ์ที่ Florence ในปี 1606 ต่อมาได้แพร่หลายไปในหมู่นักประพันธ์เพลงสำหรับเครื่อง Guitar โดยเฉพาะในฝรั่งเศส เช่นบทเพลง Airs de different auteurs, cinquiesme livre ประพันธ์โดย Henri de Bailly ในปี 1614 สำหรับเครื่องดนตรี Frence Lute หรือบทเพลง Metodo mui facilissimo ประพันธ์โดย Luis de Briceno ได้ประพันธ์ขึ้นในปี 1626 ที่ Paris
เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายของศตวรรษที่ 17 เริ่มมีการนำมาใช้ในบทเพลงประเภท Variation สำหรับ Guitar, Voice and Continuo, Keyboard instrument และ Continuo –Chamber Group การดำเนินของเสียงประสานในลักษณะ I-IV-V-(I) ยังคงมีอิทธิพลแต่เริ่มมีการพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะในแนวเบส
ผลงานที่สำคัญในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 เช่น บทเพลง Aria di passacaglia (1630), Partite sopra Passacagli ประพันธ์โดย Girolamo Frescobaldi
การพัฒนาของ Passacaglia นั้นได้พัฒนาควบคู่กับ Continuous Variation อีกประเภทคือ Chaconne มีลักษณะที่คล้ายกัน มีที่มาที่คล้าย แต่มีข้อแตกต่างกันคือ Passacaglia จะสนใจที่แนว Bass ที่ค่อนข้างตายตัว แต่ Chaconne จะสนใจที่คอร์ดมากกว่า แนว Bass มีอิสระกว่า แต่จุดที่เหมือนกันคือ Ground Bass ทั้ง Passacaglia และ Chaconne ถูกเรียกสลับกันโดยนักประพันธ์เพลงรุ่นหลังอันเนื่องมาจากความคล้ายคลึงกันของโครงสร้าง และด้วยความที่มองอย่างผิวเผินแล้วคือมีรูปแบบเดียวกันนั่นเอง อีกเหตุผลสำคัญคือ การให้ความสำคัญของ Chord มากกว่าเสียงประสานแบบแนวนอนในช่วงยุคบาโรคต่อมา

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

Reformation , Martin Luther และดนตรีตะวันตก


ในช่วง ศตวรรษที่ 16 ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วง Late Renaisance มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นคือ การปฏิรูปศาสนา (Reformation) โดยนักบวชชาวเยอรมันชื่อ Martin Luther เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ โดยมีสาเหตุจาก ศาสนจักรในช่วงนี้กำลังเสื่อมถอยลงเนื่องจากพฤติกรรมของพวกพระหรือแม้กระทั่งพระสันตะปาปาเอง ผู้ที่มีอำนาจทางศาสนาเหล่านั้นต่างใช้อำนาจศาสนาในทางที่ผิดเช่น การขายใบใถ่บาป ซึ่งผู้ที่มีฐานะสามารถใถ่บาปได้แต่ผู้คนที่ยากจนนั้นไม่สามารถใถ่บาปได้เพราะไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน หรือการที่พระคาร์ดินัลและบิชอปต่างทำตัวหรูหราฟุ่มเฟือยในขณะที่ประชาชนยากจน นักบวชอยากมีภรรยา และที่ปรากฎความเลวร้ายที่ชัดเจนที่สุดคือการซื้อขายตำแหน่งกัน แม้กระทั่งพระสันตะปาปาบางพระองค์ได้รับการครหาว่าติดสินบนเช่นกัน
แต่ยังมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยอยู่หลายคนและเริ่มออกมาคัดค้านการกระทำนี้ แต่ศาสนจักรมีอำนาจมากมาย ผู้ที่กล้าออกมาคัดค้านทั้งหลายจึงถูกหาว่าเป็นพวกนอกศาสนาและถูกจับประหารชีวิตไปหลายคน แต่ Martin Luther สามารถแผ่ขยายอิทธิพลได้อย่างกว้างขวางจนสามารถแยกตัวออกมาเป็นอีกนิกายคือนิกายโปรแตสแตนท์ได้สำเร็จ
จุดเริ่มต้นคือ Martin Luther ได้เดินทางเข้าสู่กรุงโรมและได้เห็นความเสื่อมโทรมนี้ เมื่อเขากลับไปเยอรมัน เขาได้เขียนเอกสารการโจมตีการกระทำอันชั่วร้ายต่างๆนานา มาติดที่ประตูของวิหารวิทเทนเบิร์ก หลังจากนั้นชาวเยอรมันต่างได้รับรู้ถึงความเลวร้ายมากขึ้นด้วยการเผยแพร่โดยเทคโนโลยีการพิมพ์ในสมัยนั้น เมื่อพระสันตะปาปาทราบข่าวจึงออกคำสั่งให้ Martin Luther หยุดการกระทำเหล่านั้นแต่เขาได้ปฏิเสธที่จะทำตาม พระสันตปาปาจึงออกคำสั่งบูลล์เพื่อคว่ำบาตรและขับไล่ออกจากศาสนจักร แต่ Martin Luther และผู้สนับสนุนได้เผาคำสั่งนั้นกลางตลาดวิทเทนเบิร์ก เขาจึงถูกประนามว่าเป็นพวกนอกศาสนา
แนวคิดพื้นฐานของ Martin Luther มีอยู่ว่ามนุษย์สามารถหลุดพ้นก็โดยมีศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นและเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงไม่ต้องการพระหรือการบริการของศาสนจักรคาทอลิกมาคั่นขวางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจถึงคำสอนได้อย่างแท้จริงและไม่ตกเป็นเหยื่อของเหล่าพระผู้ละโมบที่ต้องการหาประโยชน์จากศาสนา Martin Luther จึงได้แปลพระคัมภีร์ไบเบิ้ลทั้งหมดเป็นภาษาเยอรมันเรียกว่า German new Testament เพื่อให้ง่ายต่อประชาชนจะเข้าใจได้ ภายหลังอังกฤษเองก็ใช้วิธีนี้ในรัชสมัยของสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1
นอกจากนี้ Martin Luther ยังได้เปลี่ยนคำสวดในพิธีทางศานาจากภาษาละตินเป็นภาษาเยอรมันโดยนำมาจาก Chant เดิม ต่อมาเพื่อให้ชาวบ้านสามารถคุ้นเคยได้ง่ายจึงนำทำนองชาวบ้านมาใช้ในเพลงสวดเรียกว่า Chorale ซึ่งมีอยู่สองชนิดคือ แต่งทำนองขึ้นมาใหม่ โดยมาก Martin Luther มักจะเป็นผู้แต่งใหม่ แบบที่สองคือ Contrafacta เป็นการนำทำนอง Chant เดิมมาใช้หรือการนำทำนองที่ชาวบ้านคุ้นเคยอยู่แล้วมาใส่คำสวดภาษาเยอรมัน นอกจาก Martin Luther ที่แต่งทำนองใหม่เองแล้ว ยังมีนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันอีกสองคนที่แต่ง Chorale คือ Hans leo Hassler และ Michael Praetorius การเรียกแนวต่างๆของเพลงสวดก็ถูกเปลี่ยนชื่อด้วยเช่นกัน เช่น Duplum ถูกเปลี่ยนเป็น Bicinium ,Triplum ถูกเปลี่ยนเป็น Tricinium เป็นต้น
บท Chorale ของ Martin Luther ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Ein’feste burg ist unser Gott (A mighty fortressis our God) Chorale บทนี้เป็นบทที่สำคัญมากที่สุดเปรียบได้กับสัญลักษณ์ของการปฏิรูปศาสนา (Reformation) นอกจากนี้ยังส่งอิทธิพลต่อนักประพันธ์เพลงหลายคนได้นำ Chorale บทนี้ไปใช้ในผลงานของตนเพื่อใช้สื่อสารถึงการปฎิรูปศาสนา นักประพันธ์เพลงจำนวนมากที่นำ Chorale บทนี้ไปใช้ในผลงานของตน เช่น Johann Walter ได้นำไปใช้ใน Geistliches Gesangbuchlein และ Lupus Hellinck ได้ใช้ทำนองนี้และจัดพิมพ์โดย George Rhaw รวมอยู่ใน Newe deudsche geistliche Gesang จัดพิมพ์เมื่อปี 1544 ทั้งสองคนนี้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน
นอกจากนักประพันธ์เพลงรุ่นหลังก็ยังคงนิยมนำ Chorale บทนี้ไปใช้ในงานของตนเช่น

Johann Pachebel นักประพันธ์เพลงและนัก organ ชาวเยอรมันในช่วงยุคบาโรค นำมาทำเป็น Chorale prelude
Dietrich Buxtehude นักประพันธ์เพลงในยุคบาโรคได้ประพันธ์เพลง Organ Chorale BuxWV. 184 โดยใช้ทำนองจาก Chorale บทนี้
Johann Sebastian Bach นักประพันธ์เพลงในช่วงปลายยุคบาโรคได้นำ Chorale บทนี้ไปใช้ใน Chorale Cantata BWV. 80 , Choralgesange BWV.302-303 (for 4 voices) , Chorale Prelude BWV. 720 for Organ ซึ่งต่อมา Leopold Stokowski ผู้อำนวยเพลงที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 20 และเป็น orchestrator ที่มีชื่อเสียงด้วย ได้นำไปเรียบเรียงสำหรับวงดุริยางค์
J.L.Felix Mendelssohn-Bartholdy นักประพันธ์เพลงในยุคโรแมนติก ได้นำทำนอง Chorale บทนี้มาใช้ในท่อนสุดท้ายของ Symphony no. 5 in D minor “Reformation” op.107 เพื่อการรำลึกถึงการปฏิรูปศาสนานำโดย Martin Luther
Joseph Joachim Raff นักประพันธ์เพลงและครูสอนดนตรีในยุคโรแมนติกได้ประพันธ์ Overture “Ein’feste burg ist unser Gott”op.127
Giacomo Meyerbeer นักประพันธ์อุปรากรในยุคโรแมนติกได้นำ Chorale บทนี้ไปใช้ในมหาอุปรากร 5 องก์ เรื่อง Les Huguenots (Protestants) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างคริสจักรสองนิกายคือ Catholic และ Protestants ในช่วงศตวรรษที่ 16
Richard Wagner นักประพันธ์อุปรากรเยอรมันในยุคโรแมนติกตอนปลาย ได้นำ Chorale บทนี้มาใช้ใน Kaisermarsch ประพันธ์เมื่อปี 1871 เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของเยอรมันในสงคราม Franco-Prussian ในปี 1870 และการกลับมาของ Kaiser Wilhelm I
Max Reger นักประพันธ์เพลงในยุคโรแมนติกตอนปลาย ได้นำทำนอง Chorale บทนี้มาประพันธ์สำหรับ Organ ในบทเพลง Chorale Fantasia “Ein’feste burg ist unser Gott” op. 27 และ Chorale op.67 no.6
Ralph Vaughan William นักประพันธ์เพลงในช่วงยุคศตวรรษที่ 20 ตอนต้น ได้นำทำนอง Chorale บทนี้ไปใช้ในเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง 49 Parallel มี้เนื้อหาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำนอง Chorale นี้ถูกใช้ตอนต้นเรื่องในฉากเรือ U ของเยอรมันได้โจมตีอ่าว Hudson
Flor Peeters นักประพันธ์เพลงในยุคศตวรรษที่ 20 ได้นำทำนอง Chorale บทนี้ไปใช้ใน Organ Chorale ซึ่งอยู่ใน 10 Chorale Prelude op.69 ตีพิมพ์ในปี 1949
John Zdechlik นักประพันธ์เพลงสำหรับวงดุริยางค์เครื่องเป่า ได้นำทำนอง Chorale บทนี้ไปใช้ในผลงานของตัวเองหลายชิ้นเช่น Psalm 46
Bradley Joseph ได้เรียบเรียง Chorale บทนี้สำหรับเครื่องดนตรีรวมอยู่ในอัลบัม Hymns and Spiritual songs.

Ein’feste Burg ist unser Gott

Ein’feste Burg ist unser Gott,
ein gute Wehr und Waffen.
Er hilft uns frei aus aller Nott,
die uns jetzt hat betroffen.
Der alt bose Feind,
mit Ernst ers jetzt meint;
gross Macht und viel List sein grausam Rustung ist;
auf Erd ist nicht seins Gleichen.