วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

Gioseffo Zarlino (1517-1590)

Gioseffo Zarlino เป็นนักทฤษฏีดนตรีและนักประพันธ์เพลงชาวอิตาเลี่ยนมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เขาเป็นผู้ที่ริเริ่มการเขียนลีลาสอดประสานแนวทำนอง (counterpoint)ในช่วงศตวรรษที่16 และเป็นนักทฤษฎีดนตรีที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดในตำราการประสานเสียงของ Jean Philippe Rameau เขาได้เขียนตำราไว้มากมายโดยเฉพาะตำรา Le istitutioni harmoniche (1558) ซึ่งเป็นตำราที่สำคัญมากในประวัติศาสตร์ของทฤษฎีดนตรี โดยเนื้อหาภายในกล่าวถึงการผสมผสานหลักการด้านทฤษฎีดนตรีของยุคก่อนหน้ากับทฤษฎีดนตรีในสมัยใหม่และการเขียนลีลาสอดประสานแนวทำนอง
Gioseffo Zarlino เกิดที่ Chiogia แต่ไม่มีเอกสารฉบับใดระบุว่าเกิดในปีไหนได้แน่ชัดแต่สัณนิษฐานว่าเกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม คศ.1517 เขาเรียนภาษากับ Giacobo Eterno Sanese เรียนวิชาคณิตศาสตร์และเรขาคณิตกับ Giorgio Atanagi และเรียนดนตรีกับ Francesco Maria Delfico เขาได้เป็นนักร้องของโบถส์ประจำเมือง Chioggia เมื่อเดือนกรกฎาคม คศ.1536 และเป็นนักออร์แกนในปี 1539-40 และเขาได้บวชเมื่อปี 1540 ต่อมาเขาย้ายไปที่เมือง Venice ในปี1541 และเป็นลูกศิษฐ์ของ Willaert นอกจากนี้ยังเรียนวิชาตรรกะและปรัชญากับ Cristoforo da Ligname เรียนภาษากรีกกับ Guglielmo Fiammingo และ ภาษาฮิบรูกับ หลานของ Elia Tesbite ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าวงขับร้องประสานเสียง (maestro di cappella) ประจำโบถส์ St. Mark’s ในเมือง Venice ในวันที่ 5 กรกฎาคม 1565 จนกระทั่งเสียชีวิต เขามีลูกศิษฐ์ที่สำคัญคือ Claudio Merulo, Giovanni Croce, Girolamo Diruta, Vincenzo Galilei และ G.M. Artusi เป็นต้น
ผลงานที่สำคัญของ Gioseffo Zarlino คือ ตำราทฎษฎีดนตรี istitutioni harmoniche ซึ่งพิมพ์ในปี 1558 เป็นผลงานชิ้นที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตรของทฤษฎีดนตรี ในสองส่วนแรกจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีดนตรีในยุคก่อนโดยส่วนแรกจะกล่าวถึงปรัชญา วิชาเกี่ยวกับการกำเนิดจักรวาล และพื้นฐานทางดนตรีในทางคณิตศาสตร์ ส่วนที่สองจะกล่าวถึงระบบเสียงของดนตรีกรีกโดยอธบายในทฤษฎีของ consonance สมัยใหม่
ก่อนหน้านี้ ขั้นคู่ 3 และ ขั้นคู่ 6 ถือว่าไม่ใช่ขั้นคู่ consonance ตามกฎของ Pythagorus แต่ Zarlino ได้พยายามหาวิธีอธิบายเพื่อที่จะทำให้ขั้นคู่ 3 และ ขั้นคู่ 6 กลายเป็นคู่เสียงกลมกลืนได้โดยใช้คำว่า imperfect consonance และเพื่อที่จะนำไปใช้ในการเขียนเสียงประสานแบบใหม่ได้ Zarlino ได้อธิบายว่ากฎของ Pythagorus มีข้อจำกัดในการอธิบายขั้นคู่ consonance โดยอธิบายกับเครื่องสายในสมัยนั้นว่า ขั้นคู่ consonance สามารถเกิดขึ้นได้จากการแบ่งสาย 4 ช่วงในหนึ่งสายถ้าแบ่ง 2:1 จะได้คู่ octave ถ้าแบ่ง 3:2 จะได้คู่ 5th ถ้าแบ่ง 4:3 จะได้คู่ octave บวกอีก 5th และถ้าแบ่ง 4:1 จะได้คู่ 2 octave Zarlino ได้ขยายข้อจำกัดออกไปอีกจากเดิมเป็น 6 ช่วง การเพิ่มเป็น 6 ช่วงทำให้เกิดขั้นคู่ major 3rd ถ้าแบ่ง 5:4 เกิดขึ้นคู่ minor 3rd ถ้าแบ่ง 6:5 เกิดขั้นคู่ major 6th ถ้าแบ่ง 5:3 และเกิดขั้นคู่ minor 6th ถ้าแบ่ง 8:5 การแบ่ง 6 ช่วงของสายทำให้เกิดคำว่า sonorous number ( numero sonoro ) ซึ่งประกอบไปด้วย octave, 5th, 4th, major 3rd และ minor 3rd
ต่อมา Zarlino ได้นำขั้นคู่ major 3rd ไปไว้เหนือคู่ minor 3rd และลองวางขั้นคู่ major 3rd อยู่ใต้คู่ minor 3rd ทำให้พบ Zarlino คำอธิบายเมื่อเทียบกับความหมายในทางคณิตศาสตร์และการประสานเสียง Zarlinoได้อธิบายว่าถ้ามีสามโน้ตเช่น C,E,G แล้วนำไปเทียบกับความยาวของสายของเครื่องสายคือ 30,24,20 24 เป็นตัวที่สำคัญที่สุดในระบบการประสานเสียง Zarlino ได้อธิบายเรื่องนี้ในตำรา Diamostrationi harmoniche (1571) และตำราเล่มนี้ยังได้เปลี่ยนวิธีการเรียง mode ใหม่จากระบบของ Beothius โดยเริ่มจาก C authentic โหมดที่ 1 C plagal คือ โหมดที่ 2 D authentic คือ โหมดที่ 3 ไปเรื่อยๆ Zarliono ได้ให้ ut จากระบบ solmization เป็นตัวเริ่มต้นทฤษฎีนี้ต่อมา Zarlono ได้นำไปใช้ใน counterpoint ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น