วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

Guido d' Arezzo


Guido d' Arezzo เป็นนักบวช ครู และนักทฤษฎีดนตรีที่สำคัญคนหนึ่งในยุคกลาง เป็นผู้ริเริ่มการบันทึกทำนองโดยใช้สัญลักษณ์ลงบนบรรทัดเพื่อกำหนดระดับเสียง และใช้คำแทนระดับเสียงเช่น โด เร มี ฟา โซ ลา เพื่อบันทึกบทเพลงสวด นอกจากนี้เขายังได้แต่งแบบฝึกหัดสำหรับฝึกร้องสำหรับสมัยนั้นไว้เป็นจำนวนมากอีกด้วย
Guido เริ่มเรียนที่โบสถ์ Benedictine แห่งเมือง Pompasa ขณะที่อยู่นี่เขาได้ศึกษาการร้องได้อย่างรวดเร็ว และเขาได้เริ่มคิดค้นวิธีการบันทึกแบบใหม่ด้วย ต่อมาในช่วงปี 1025 เขาได้ย้ายไปที่ เมือง Arezzo และได้รับการอุปถัมป์จาก Theodaldus ซึ่งเป็น Bishop of Arezzo และได้ฝึกนักร้องสำหรบโบสถ์ประจำเมือง เขาได้เขียน Micrologus ส่งให้กับ Theodaldus ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวทางของการฝึกร้องสำหรับนักร้อง รวมทั้งวิธีการอ่านโน้ต ขั้นคู่ บันไดเสียง โหมด การหัดแต่งทำนอง และการด้นสด รวมอยู่ ไม่นานนักเขาถูกเรียกไปที่กรุงโรมโดยสมเด็จพระสันตปาปา John XIX เพื่อสอนวิธีการบันทึกในแบบของเขา แต่ด้วยปัญหาสุขภาพและความชื้นในอากาศสูงเขาจึงกลับไปและได้สัญญากับพระสันตปาปาว่าจะกลับไปในฤดูหนาวเพื่อสอนวิธ๊การบันทึกในแบบของเขาให้กับพระองค์และนักบวชรูปอื่นๆด้วยจึงทำให้วิธีการบันทึกแบบนี้เป็นที่แพร่หลาย
ก่อนที่ถึงช่วงของ Guido d'Arezzo นั้นได้มีการพัฒนาวิธีการบันทึกบทสวดในแบบต่างๆ ในตอนแรกการบันทึกบทสวดจะใช้วิธีการบันทึกเป็นคำสวดภาษาละตินแล้วใช้ neume ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่แสดงการขึ้นลงของเสียงร้อง ในด้านของจังหวะยังไม่มีการกำหนดยังไม่มีการใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ แต่ในช่วงประมาณศตวรรษที่ 12 มีกลุ่มของนักทฤษฎีสองกลุ่มที่มีความคิดเรื่องจังหวะ กลุ่มแรกคือ Mensuralist ที่เชื่อว่าสามรถจัดกลุ่มความยาวได้ กลุ่มที่สองคือ Accentualist ได้เสนอว่าจังหวะควรควบคุมโดนการเน้นจากการพูดแบ่งได้ 3 แบบคือ Sillabic หรือหนึ่งคำต่อหนึ่งโน้ต Neumatic หรือ 2-4 โน้ตต่อหนึ่งคำ และ Melismatic หรือการเอื้อนโดยจะเน้นที่ตัวแรกของ Neumes
ผลงานที่สำคัญของ Guido คือ การบันทึกบทสวดโดยการใช้สัญลักษณ์ในการกำหนดทิศทางของทำนอง คำสวดจะอยู่ใต้สัญลักษณ์ของทำนอง บรรทัดที่ใช้มี 4 บรรทัด ใช้กุญแจ (Clef) 2 กุญแจคือ กุญแจโด (C Clef)และ กุญแจฟา (Bass Clef)ใช้คำแทนระดับเสียง คือ ut re mi fa sol la แต่ยังไม่ใช้ Ti(Si)เพราะจะทำให้เกิดขั้นคู่เสียงกระด้างคือขั้นคู่ Tritone ซึ่งเป็นข้อห้ามในสมัยนั้นแต่แก้ด้วยการใส่เครื่องหมายแฟลต นอกจากนี้เขายังได้ประพันธ์แบบฝึกหัดสำหรับการฝึกร้องอีกด้วย หนึ่งในแบบฝึกหัดที่สำคัญคือเพลงสวด Hymn Ut Queant laxis ซึ่งในบทสวดนี้ในพยางค์แรกของในแต่ละวลีจะขึ้นด้วย ut re mi fa sol la จึงเป็นต้นกำเนิดของคำที่ใช้แทนระดับเสียงที่เรียกว่า Solmization และทำให้เกิดระบบ Solfegio ขึ้น

Hymn Ut Queant laxis

Ut queant laxis (Ut)
Resonare fibris (Re)
Mira gestarum (Mi)
Famuli tuorum (Fa)
Solve polluri (Sol)
Labii reatum (La)
Sancte Iohannes (Si)

โดยในตำราทฤษฎีดนตรี Epistola de ignoto cantu ได้อธิบายระบบนี้นอกจากนี้เขายังได้เขียนตำราทฤษฎีดนตรีหลายเล่ม เช่น Micrologus de disciplina artis musicae, Item aliae Regulae de ignoto cantu, Prologus in antiphonario เป็นต้น
นอกจากนี้ Guido ยังได้พัฒนาระบบ hexachord อีกด้วย โดยที่ในเพลงสวดจะมีสามจุดที่ห่างครึ่งเสียงคือ E-F,B-C,และ A-Bb โดยระบบ hexachord ประกอบไปด้วย 6 โน้ตตั้งแต่ ut-la สามารถพบได้สามตำแหน่งคือ เริ่มที่ C หรือที่เรียกว่า natural hexachord เริ่มที่ G เรียกว่า hard hexachord โดยใช้ B-natural และเริ่มที่ F เรียกว่า soft hexachord โดยใช้ B-flat โน้ตตัวแรกของ hexachord จะเรียกว่า gamma

Hexachord System

1.C D E F G A (natural)
2.G A B C D E (hard)
3.F G A BbC D (soft)

ถ้าเทียบกับระบบปัจจุบันจะเริ่มจากโน๊ต G บนเส้นในกุญแจฟาไปจนจนถึง E ในช่องของกุญแจโซล ระบบวิธีการสอนในการคิดระบบนี้ Guido ได้อธิบายใน Guidonian hand เพื่อเป็นสื่อการสอนเพื่อให้เข้าใจวิธีคิดระบบ hexachord ได้ง่าย
Guidonian Hand คือระบบทีช่วยจำระดับเสียง โดยกำหนดลงบนมือซ้ายเป็นหนึ่งในวิธีการเรียนการสอนดนตรีในยุคกลาง พัฒนาวิธีการสอนโดย Guido d' Arezzo โดยการตั้งชื่อโน้ตให้สัมพันธ์กับส่วนต่างๆของมือ โดยเฉพาะระบบ hexachord

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น