วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

Opera-Oratorio

Opera เป็นภาษาอิตาเลียนแปลว่า Work คือ ละครร้องอลังการประกอบดนตรี มีแหล่งที่มาจากหลายที่ดังต่อไปนี้ Pastoral drama เป็นละครที่แนวดนตรีและแนวร้องจะมีการวนกลับมาตลอด เป็นละครที่ได้มาจากบทกวีของกรีก-โรมันที่บอกเล่าเกี่ยวกับธรรมชาติและท้องทุ่งมีฉากสำคัญคือฉากทุ่งกว้างและมีคนเลี้ยงแกะ Pastoral drama เรื่องแรกคือ Favola d’ Orfeo โดย Angelo Poliziano แสดงที่ Florence ในปี 1471 Pastoral drama ได้กลายเป็นที่นิยมในราชสำนักในอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 16 แหล่งที่มาอีกแหล่งทีเป็นอิทธิพลสำคัญของการกำเนิดคือ Madrigal และ Madrigal cycle เป็นเพลงร้องหลายแนวโดยที่ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบมี Form คือ Strophic form และ Ritornello form แต่ละแนวร้องแนวคำร้องเดียวกันโดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับท้องทุ่งหรือออกแนวเสียดสีก็ได้หรือจะเป็นบทกลอนที่เกี่ยวกับความรักก็ได้ Madrigal Comedy หรือ Madrigal cycle ที่มีชื่อเสียงมากคือ L’Amfiparnaso ( The slope of Parnasus ) ประพันธ์ในปี 1594 โดย Orazio Vecchi ( 1550 - 1605 ) อีกหนึ่งต้นกำเนิดคือ Intermedio หรือ Intermedi เป็นบทเพลงคั่นฉากโดยใช้เครื่องดนตรีบรรเลง การเต้น หรือการร้อง Madrigal ก็ได้มีเพื่อให้ผู้ชมได้ผ่อนคลายจากเนื้อเรื่องของละคร Intermedi ที่มีชื่อเสียงบทหนึ่งมาจากละครชวนหัวเรื่อง Lapellegrina แสดงในปี 1589 เพื่อเฉลิมฉลองในงานแต่งงานของ Grand Duke Ferdinand de’ Medici of Tuscany และ Christine of Lorraine ตระกูล Medici เป็นตระกูลที่มีอิทธิพลมากในอิตาลี
ในสมัยนั้น มีนักปราชญ์ นักคิด นักเขียนและศิลปินต่างๆ มากมายที่อยู่ในการสนับสนุนของตระกูลนี้เพื่อแข่งขันกันในเรื่องของอำนาจและบารมี อีกตระกูลหนึ่งที่มีอิทธิพลใน Florence ของอิตาลีคือตระกูล Bardi เค้าโครงของ Opera ที่สำคัญมาจากละครโศกนาฏกรรมของกรีกโบราณ ความรู้และปรัชญาต่างๆของกรีกและโรมันมาจากการที่กรุง Constantinople แตกเนื่องจากการโจมตีของพวกออตโตมัน-เติร์ก
มีผู้ที่ศึกษาศิลปะวาทะวิทยาและดนตรีของกรีกโบราณคือ Girolamo Mei ( 1519 – 1594 ) ได้ทำการศึกษาและเผยแพร่สู่สาธารณะชนโดยสร้างละครแบบกรีก-โรมัน เขียนเนื้อเอง โดยสนใจละครโศกนาฏกรรม เพื่อให้เกิดปัญญาโดยการร้อง อาจเป็นการร้องเดี่ยวหรือการร้องประสานเสียงก็ได้ ในอิตาลีในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 มีกลุ่มนักปราชญ์ นักคิด นักวิทยาศาสตร์และศิลปินในเมือง Florence มารวมตัวกันที่วังของ Count Giovanni Bardi เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่ม Florentine Camerata สำหรับ Girolamo Mei เองก็เป็นหนึ่งในสมาชิกในกลุ่มนี้และได้เสนอความคิดของดนตรีกรีกต่อกลุ่มด้วย Vincenzo Galilei ( 1520s-1591 ) นักประพันธ์เพลง นักทฤษฎีดนตรีและเป็นบิดาของนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคือ Galileo Galilei เขาได้นำความคิดของ Mei มาโจมตีการประสานเสียงแบบ Counter point เขาได้เสนอแนวคิดว่า ทำนองแนวเดียวที่ประกอบไปด้วยระดับเสียง จังหวะและคำร้องที่เหมาะสมสามารถสื่อออกมาได้มากกว่า เขาได้สนับสนุนแนวคิดของ Monody คือ ทำนองแนวเดียวประสานกับ Chord โดยที่ทำนองเป็นแนวที่ร้องเล่าเรื่องราวต่างประสานกับ Chord ที่ใช้เครื่องดนตรีเล่น ต่อมา Giulio Caccini ซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่มนี้เช่นกันได้ประพันธ์เพลงขึ้นหลายเพลงที่มีลักษณะของ Monody ในช่วงปี 1590s และนำมารวมเล่มและจัดพิมพ์เมื่อปี 1602 โดยใช้ชื่อหนังสือรวมเพลงชุดนี้ว่า Le Nuove Musiche ( The New Music ) เขาได้ใช้คำว่า aria สำหรับแต่ละเพลง โดยที่มีลักษณะโครงสร้างคือ Strophic form หรือการที่มีทำนองเดียววนกลับมาตลอดแต่คำร้องเปลี่ยน ต่อมาเมื่อตระกูล Bardi ย้ายไปที่กรุง Rome ในปี 1592 มีผู้สนับสนุนคนใหม่คือ Jacopo Corsi ( 1561-1602 ) เป็น Nobleman หรือ ขุนนาง ของตระกูล Bardi นักประพันธ์ที่ชื่อ Jacopo Peri ได้ร่วมกับกวีและนักร้องที่ชื่อ Ottavio Rinuccini ร่วมกันสร้างละครโศกนาฎกรรมแบบกรีกเรื่อง Dafne แสดงที่วังของ Corsi ในปี 1598 โดยที่แต่งในลักษณะ Monody เนื้อเรื่องเป็นโศกนาฏกรรมแบบกรีก เรื่องนี้ถือว่าเป็น Opera เรื่องแรก ต่อมาในปี 1600 Jacopo Peri ได้ร่วมกับ Ottavio Rinuccini สร้าง Opera เรื่องใหม่ขึ้นมีชื่อว่า L’Euridice โดยมี Giulio Caccini เป็นผู้เขียน Libretto ออกแสดงครั้งแรกที่ Florence เดือนตุลาคมปี 1600 ในงานแต่งงานของ Marie de’ Medici โดยมี Emilio de’ Cavalieri เป็นผู้กำกับเวที ในบทสนทนาของ Peri เขาได้สร้างสิ่งใหม่ที่เรียกว่า recitative style อยู่ในลักษณะของ Monody เช่นกัน
นักประพันธ์เพลงที่นักประวัติศาสตร์ถือว่าสำคัญในงาน Opera คนแรกคือ Claudio Monteverdi ( 1567-1643 ) มีอุปรากรเรื่องที่สำคัญคือ L’Orfeo ได้รับการว่าจ้างโดย Francesco Gonzaga รัชทายาทแห่งราชวงค์ Mantua ประพันธ์เมื่อ 1607 โดยมี Alessandro Striggio เป็น Librettist มีทั้งหมด 5 องก์ ในเรื่องนี้ Monteverdi ใช้ madrigal, ballet, ในตอนจบของเรื่องได้มีการใช้ Chorus เพื่อเสริมบรรยากาศเหมือนลักษณะของโศกนาฏกรรมแบบกรีก Opera เรื่องนี้วงดนตรีที่ใช้ใหญ่กว่าของ Peri เรื่องได้รับการตีพิมพ์ในปี 1609 โดยกำหนดเครื่องดนตรีใน Score ไว้ดังต่อไปนี้ recorders, cornetts, trumpets, trombones, strings, double harp, และกลุ่มที่เล่น Basso continuo โดยกำหนดเครื่อง regal สำหรับฉากใต้พิภพ เรื่องนี้ยังคงมีลักษณะ Monody อยู่ Overture มีลักษณะเป็น Toccata Monteverdi ได้วางโครงสร้างที่เรียกว่า Strophic variation หรือการแปรแบบวรรคต่อวรรคไว้
Opera เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม Francesco Gonzaga จึงว่าจ้างให้ Monteverdi ประพันธ์ Opera เรื่องใหม่คือ L’Arianna ในปีถัดมา เรื่องประสบความสำเร็จเช่นกันแต่ปัจจุบันหลงเหลือมาน้อยมาก
เมื่อ Monteverdi ได้ย้ายไปที่ Venice ในปี 1613 เพื่อรับตำแหน่ง Maestro di cappella ที่ St. Mark’s เขาได้ประพันธ์ Opera เรื่องที่สำคัญคือ Combattimento di Tancredi e Clorinda ) ประพันธ์ในปี 1624 ในเรื่องนี้มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นคือ stile concitato หรือ excited style ในช่วงท้ายชีวิต Monteverdi มี Opera ที่สำคัญคือ L’incoronezione di Poppea ประพันธ์เมื่อปี 1643 ในเรื่องนี้แฝงความตลกบ้าง ใช้ Chorus น้อยลง Overture ไม่ใช่แบบ Toccata อีกแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ ปรากฏ recitative – arioso Opera เรื่องนี้เปิดให้สาธารณะชนเข้าชมโดยต้องจ่ายค่าบัตรเข้าชม เพราะ Opera Houseแห่งแรกที่เปิดให้สาธารณะชนเข้าไปชมได้โดยการซื้อบัตรคือ Teatro San Cassiano เปิดในปี 1637
ใน Rome ช่วง 1620s เป็นศูนย์กลางของ Opera ในช่วงนี้ผู้หญิงถูกห้ามขึ้นแสดงบนเวทีใน Rome ในแนวผู้หญิงจึงต้องใช้เสียง Castrato ร้องแทน มี Opera ที่สำคัญคือ Il Sant’Alessio ประพันธ์โดย Stefano Landi ( 1587-1639 ) จุดที่สำคัญคือ Overture (แต่ในสมัยนั้นเรียก Sinfonie) ในองก์ที่ 2 และ 3 สามารถแบ่งได้เป็น 3 ท่อนแต่เล่นต่อกันต่อมาจะกลายเป็น Italian overture และในท่อนที่ 3 ของ Sinfonie องก์ที่ 2 เริ่มเป็น Chord และต่อด้วย imitative counterpoint ต่อมาจะกลายเป็น French overture เสียง Castrato ต่อมายังเป็นที่นิยม มักจะได้รับบทพระเอกเสมอ
Opera ในช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 17 recitative และ aria เริ่มแบ่งได้ชัดขึ้นวงดนตรีเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ใน recitative สนใจในคำร้องมากกว่าทำนองส่วน aria มีทำนองที่จำได้ง่ายและมีโครงสร้างเป็น ABA หรือเรียกว่า da capo aria เริ่มใช้โดย Alessandro Scarlatti ที่ฝรั่งเศสในช่วงนี้มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญด้านงานอุปรากรคือ Jean Baptiste Lully ( 1632-1678 ) เป็นชาวอิตาเลียนที่ย้ายไปอยู่ในฝรั่งเศสทำงานให้กับพระเจ้า Luise XIV มี Opera ที่สำคัญคือ Amadis de Gaule ประพันธ์ในปี 1684 Opera ของ Lully มีลักษณะคือใช้ French overture มี Ballet ใช้ Chaconne และ Passagaglia อยู่ใน Opera Chorus มีลักษณะเป็น Chord ใช้วงดุริยางค์ที่มีฝีมือทำให้เกิดวงดุริยางค์อาชีพโดยเฉพาะวงเครื่องสายเริ่มมี violin เป็นกลุ่มเครื่องที่สำคัญกลายเป็นบรรทัดฐานให้วงดุริยางค์ปัจจุบัน Opera ของ Lully มีขนาดใหญ่มาก ทั้งฉาก ตัวประกอบและวงดนตรีจึงถูกเรียกว่า Grand opera นักประพันธ์เพลงที่สานต่อคือ Jean-Philipe Rameau ( 1683-1764 ) ในช่วงหลัง Opera ไม่ประสบความสำเร็จเพราะชื่อเสียงของ Giovanni Baptista Pergolesi
ในอิตาลี ศูนย์กลางของ Opera อยู่ที่ Naples และที่นี่มี conservatory 4 แห่งมีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ Opera คือ Alessandro Scarlatti ( 1660-1725 ) เป็นคนที่พัฒนา Opera seria เริ่มใช้ da capo aria ใช้ Italian overture มี Chorus ในลักษณะเป็น Chord
ในอังกฤษ Opera เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลที่มาจาก madrigal ของอิตาเลียนตั้งแต่สมัย Renaissance มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ Opera คือ Henry Purcell ( 1659-1695 ) ได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก John Dowland นักประพันธ์เพลงชาวอังกฤษในปลายยุค Renaissance มี Opera ที่สำคัญคือ Dido and Aeneas
ใน German Opera เริ่มปรากฏโดย Heinrich Schutz ( 1585-1672 ) ในปี 1627 และเริ่มปรากฏ Opera house แห่งในเยอรมันที่ Hamburg เปิดในปี 1678 และหนึ่งในนักประพันธ์เพลงที่ประพันธ์ German Opera ที่สำคัญคือ Reinhard Keiser ( 1674-1739 ) แต่นักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ Opera คือ George Friderich Handel ( 1685-1759 ) ได้รับอิทธิพลจาก Lully โดยเฉพาะ French overture recitative แบ่งได้เป็นสองชนิดคือ recitative secco เป็น recitative ที่ร้องโดยมีแนว Basso Continuo ประสาน และ recitative accompagnato เป็น recitative ที่มีวงทั้งวงเล่นประสาน aria ยังคงใช้ da capo aria แต่เมื่อถึงท่อนสุดท้ายของ da capo aria จะเปิดโอกาสให้นักร้องโชว์ความสามารถได้เต็มที่และสามารถ improvise ได้ใช้วงดุริยางค์ที่ใหญ่มาก ผลงาน Opera ที่สำคัญคือ Giulio Cesare ( 1724 ), Rodelinda ( 1725 ) Opera และงานอื่นๆของ Handel ไม่ประสบความสำเร็จในอิตาลี เนื่องจากอิทธิพลของ Pergolesi แต่มีชื่อเสียงที่กรุง London ประเทศอังกฤษ ภายหลังจึงเปลี่ยนสัญชาติเป็นอังกฤษ และที่นี่ Handel ผลิตผลงานที่เยี่ยมยอดอีกหลายชิ้น
เมื่อถึงช่วงของ Pre-classic หรือช่วง Galant style ช่วงนี้จะเริ่มเกิดแนวคิดมนุษย์นิยมหรือ Humantarianism มีอิทธิพลต่อสังคมในยุโรป ในด้านดนตรีเป็นช่วงที่ melody สามารถแบ่งเป็น Phrase ได้อย่างชัดเจนและจำง่าย มีลักษณะเป็น melody กับ Chord ชัดเจน ฟังง่าย Basso Continuo เริ่มหายไปและ Alberti Bass เริ่มปรากฏแทน เริ่มปรากฏวงดุริยางค์ที่มีมาตรฐานแบบปัจจุบันในเมือง Manheim สามารถทำเสียงดังเบาได้เพราะ measured tremolo เครื่องสายเล่นกระโดดขั้นคู่ที่ไกลขึ้นได้
นักประพันธ์เพลงที่สำคัญในงาน Opera คือ Christoph Willibald Gluck ( 1714-1787 ) มี Opera ที่สำคํญคือ Orfeo ed Euridice มีทั้งภาษาอิตาเลียนและฝรั่งเศส Gluck ได้ทำการชำระ Opera ใหม่โดยที่ส่งจดหมายไปหาเหล่าเจ้านายที่เป็นผู้ว่าจ้าง เรียกร้องให้ห้าม Improvise ในท่อนสุดท้ายของ da capo aria เพราะปัญหาเรื่องเวลาปิดของ Opera house ทำให้บางครั้งแสดงไม่จบเรื่อง
ในอิตาลีช่วงศตวรรษที่ 18 ได้มี Opera แบบใหม่คือ Opera Buffa ( Comic opera ) มีเนื้อหาที่เบากว่าแบบเดิมมากและมีเนื้อหาที่ตลกขบขันแต่เสริมด้านคุณธรรมโดยตัวละครในเรื่อง เนื้อหาจะเกี่ยวกับมนุษย์มากกว่าเรื่องของเทพเจ้า aria จะไม่ยาวมาก ประสาน Harmonies ที่ไม่ซับซ้อนมาก นักประพันธ์เพลงที่เป็นในผู้บุกเบิกคือ Leonardo Vinci ( 1696-1730 ) มี Opera ที่สำคัญคือ le zeit ‘ngalera ( The Spinsters in the Galley ) แสดงครั้งแรกที่ Naples ในปี 1722 aria ยังคงใช้ da capo aria และประสานด้วย 4 parts string ensemble ในขณะที่นักประพันธ์เพลงยังใช้ Basso continuo อยู่ นักประพันธ์เพลงอีกคนที่มีชื่อเสียงในช่วง Galant style คือ Giovanni Baptista Pergolesi ( 1710-1736 ) มีผลงานที่สำคัญคือ La serva padrona เป็น Intermezzo หรือ Intermedi ใน Opera เรื่อง Il prigionero superbo มี 2 parts
German Opera เป็น Opera ที่มีคำร้องเป็นภาษาเยอรมัน ในศตวรรษที่ 17 มีนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันอยู่ไม่กี่คนที่ได้ประพันธ์ เพราะส่วนใหญ่เป็น Opera seria แต่ในช่วงศตวรรษที่ 18 ได้เกิด Opera ชนิดที่เรียกว่า Singspiel ( Singing play ) มีที่มาจากการแสดงละครพื้นบ้านของเยอรมัน เป็น Opera ที่มีการพูดบทสนทนาแทน recitative ปรากฏเริ่มแรกในปี 1710 ที่โรงละคร Kartnertotheater ในกรุง Vienna ได้รับอิทธิพลจาก Ballad Opera ( คือ Opera แบบอังกฤษที่ใช้ร้อยแก้วในบทสนทนา ) อิทธิพลที่ส่งมาถึงเหล่ากวีชาวเยอรมันทางตอนเหนือ กวีเหล่านั้นได้แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาเยอรมัน ตั้งแต่ปี 1750 นักประพันธ์เพลงจึงได้เริ่มนำไปประพันธ์เป็น Opera ในงาน Singspiel มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Johann Adam Hiller ( 1728-1804 ) แห่งเมือง Leipzig เป็นนักประพันธ์เพลงที่สำคัญในงานในงาน Singspiel ในช่วง 1760s-1770s นักประพันธ์เพลงคนต่อมาที่สำคัญคือ Wolfgang Amadeus Mozart ( 1756 -1791 ) นักประพันธ์เพลงในยุต Classic มี Singspiel ที่สำคัญคือ Die Entfuhrung aus dem Serail ประพันธ์ในปี 1782 และ Die Zauberflote ประพันธ์ในปี 1791 เป็นผลงานที่มีแนวคิดของของลัทธิ Freemasonary อยู่ด้วย นักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ German Opera อีกคนคือ Carl Maria von Weber ( 1786-1826 ) นักประพันธ์เพลงในยุค Romantic ตอนต้น มีผลงานที่สำคัญคือ Der Freischutz ( The Rifleman ) ออกแสดงครั้งแรกที่ กรุง Berlin ในปี 1821 ในช่วงปลายยุคโรแมนติก มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ German Opera คือ Richard Wagner ( 1813-1883 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่องาน German Opera มาก โดยที่เขาเขียนบทเองและประพันธ์ดนตรีเอง ในแต่ละผลงานของ Wagner ได้มีการรวมงานศิลปะทั้งหมด ไม่ว่าการแสดง บทกวี ออกแบบเวทีหรือการแสดง Wagner ได้เรียกผลงานของตัวเองว่า Gesamtkunstwerk ( total or collective artwork ) มีผลงาน Opera ที่สำคัญคือ Der fliegende Hollander อยู่ในแบบ Romantic Opera ของ Weber ประพันธ์ในปี 1842 ที่เมือง Dresden, Tanhauser ประพันธ์ในปี 1845 ที่เมือง Dresden ต่อมาได้ยกเลิกคำว่า Opera แต่ใช้คำว่า Music Dramas แทนเพราะด้วยความเป็นชาตินิยมเยอรมัน ใน Music Dramas ได้ใช้เทคนิค Leitmotif ที่พัฒนามาจาก idée fixe ของ Berlioz และ Thematic transformation ของ Liszt Music Dramas ที่สำคัญคือ Der ring des Nibelungen ( The ring of Nibelungs ) ประกอบด้วย Music Dramas 4 เรื่องคือ Das Rheingold ( The Rhein Gold ), Die Walkure ( The Valkyrie ), Siegfried และ Gotterdammerung ( The Twilight of the Gods ) ประพันธ์เมื่อปี 1874 ออกแสดงครั้งแรกที่ Bayreuth เรื่องอื่นๆที่สำคัญคือ Tristan und Isolde ประพันธ์เมื่อปี 1857-1859 เรื่องนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพังทลายของระบบ Tonal มีสาเหตุจาก Tristan Chord, Die Meistersinger von Nurnberg ( The Mastersingers of Nuremberg ) และ Pasifal
ในช่วงปลายยุค Romantic ต้นศตวรรษที่ 20 มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Richard Strauss ( 1864-1949 ) ได้รับอิทธิพลจาก Wagner มี Opera ที่สำคัญคือ Salome, Elektra เป็นต้น นักประพันธ์เพลงที่สำคัญอีกคนคือ Alban Berg ( 1885-1935 ) เป็นนักประพันธ์เพลงในกระแส Expressionism ได้รับอิทธิพลของ Schoenberg ในเรื่อง Serialism มี Opera ที่สำคัญคือ Wozzeck และ Lulu
ใน Italian Opera ช่วงหลังยุคบาโรคมีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Giovanni Baptista Pergolesi นักประพันธ์เพลงในช่วง Galant style มีผลงานที่สำคัญคือ La serva padrona เป็น Intermezzo หรือ Intermedi ใน Opera เรื่อง Il prigionero superbo ในยุค Classic นักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Wolfgang Amadeus Mozart ( 1765-1791 ) เขายังมีความสำคัญต่องาน Opera โดยเฉพาะ Opera buffa นอกจาก Singspiel มีผลงานมากมายเช่น Le nezze di Figaro, Cosi fan Tutte, La clamenza di Tito เป็นต้น สิ่งสำคัญที่ Mozart ได้พัฒนาคือ Vocal emsemble ถือว่า Mozart เชี่ยวชาญมากเช่นในฉากหนึ่งของเรื่อง Le nezze di Figaro ตัวละครหลักค่อยๆทยอยออกมาจาก 4 คนเป็น 5 คน ต่อมาเพิ่มเป็น 6 คนและเพิ่มอีกเป็น 8 คน เป็นต้น นักประพันธ์เพลงคนต่อมาคือ Ludwig van Beethoven ( 1770-1827 ) มี Opera ที่สำคัญคือ Fidelio แต่เดิมมีชื่อว่า Leonore แต่ภายหลังแก้ไขให้สั้นลงกลายเป็น Fidelio ในยุค Romantic ตอนต้นมีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Gioachino Rossini ( 1792-1868 ) ผลงานของเขามีทั้ง Opera seria และ Opera buffa มีผลงานที่สำคัญคือ L’Italiana in Algeri ( The woman in Algier ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1813 ที่ Venice, Il Barbiere di Siviglia ( The Barber of Seville ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1816 ที่ Rome โดยที่เรื่องนี้มีชื่อเสียงมากและแสดงความเป็น Italian Opera ได้ดีมากมี aria ที่มีชื่อเสียงคือ Una voce poco fa, Guillaume tell ( William Tell ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1829 ที่ Paris โดยที่ Overture ของเรื่องนี้เป็นที่รู้จักมากบทหนึ่ง นักประพันธ์เพลงคนต่อมาคือ Vincenzo Bellini ( 1809-1835 ) มี Opera คือ La Sonnambula ( The Sleepwalker ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1831, Norma ประพันธ์ขึ้นในปี 1831 และ I Puritani ( The Puritans ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1835 นักประพันธ์เพลงคนต่อมาคือ Gaetano Donizetti ( 1797-1848 ) มีผลงานที่สำคัญ Lucia di Lammermoor, E’lisir d’Amore เป็นต้น
ในช่วงยุค Romantic มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญตลอดกาลคนหนึ่งคือ Giuseppe Verdi ( 1813-1901 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่มีผลงาน Opera ที่โดเด่นมากที่สุดคนหนึ่งมี Opera ที่สำคัญมีหลายชิ้นเช่น Nabucco ประพันธ์ขึ้นในปี 1842 ที่ Milan, Luisa Miller ประพันธ์ขึ้นในปี 1849 ที่ Naples, Rigoletto ประพันธ์ขึ้นในปี 1851 ที่ Venice มี aria ที่มีชื่อเสียงคือ La donna e Mobile, Il Trovatore ( The Troubadour ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1853 ที่ Rome, La Traviata ( The Fallen Woman ) ประพันธ์ขึ้นในปี 1853 ที่ Venice มี aria ที่มีชื่อเสียงคือ Libiamo, ne'lieti caliei, Aida ประพันธ์ขึ้นในปี 1871 ได้รับการว่าจ้างให้ประพันธ์เพื่อกรุง Cairo ของ Egypt ใน Opera เรื่องนี้มีบทเพลงที่มีชื่อเสียงคือ Gloria all’Egitto Grand march and Chorus
นักประพันธ์เพลงที่สำคัญหลัง Verdi ยังมี Opera เรื่องที่สำคัญอีกสองเรื่องคือ Cavalleria rusticana ( Rustic Chivalry ประพันธ์โดย Pietro Mascagni ( 1863-1945 ) ประพันธ์เมื่อปี 1890 และ I Pagliacci ( The Clowns ) ประพันธ์โดย Ruggero Leocavallo ( 1858-1919 ) ประพันธ์เมื่อปี 1892 แต่นักประพันธ์เพลงที่สำคัญที่สุดหลังจาก Verdi คือ Giacomo Puccini ( 1858-1924 ) ได้รับอิทธิพลของ Leitmotif จาก Wagner และยังได้รับอิทธิพลจากเอเชียโดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่น Pucci ได้ประพันธ์ Opera ไว้มากมายเช่นเดียวกับ Verdi โดยมีเรื่องสำคัญคือ La Boheme ประพันธ์เมื่อปี 1896 มี aria มี่ชื่อเสียงจากการปรากฏตัวของ Musetta, Tosca ประพันธ์เมื่อปี 1900, Madama Butterfly ประพันธ์เมื่อปี 1904 และ Turandot ประพันธ์ไม่เสร็จแต่ Franco Alfano ( 1875-1954 ) ได้ประพันธ์ต่อจนจบในปี 1926
French Opera ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Christoph Willibald Gluck ( 1714-1787 ) เขาสามารถประพันธ์ Opera ได้ทั้ง Italian Style, French Style และ German Style มี Opera ที่สำคัญคือ Orfeo ed Euridice ประพันธ์เมื่อปี 1762 และ Alceste มีทั้งภาษาอิตาเลียนและฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมี Opera เรื่อง Iphigenie en Aulide ( Iphigenia in Aulis ) ประพันธ์ในปี 1774 แสดงที่ Paris อิทธิพลของเขาได้กลายเป็นแบบให้กับ Opera ในอีกหลายเรื่องโดยเฉพาะใน Paris และนักประพันธ์เพลงในศตวรรษที่ 19 เช่น Hector Berlioz เป็นต้น
ในฝรั่งเศสช่วงปลายศตวรรษที่ 17 เกิดความวุ่นวายทางการเมืองคือการปฏิวัติฝรั่งเศส ราชวงค์ถูกโค่นล้ม ผู้คนนับแสนต้องตายจนได้แม่ทัพหนุ่มที่ชื่อ Napoleon Bonaparte เข้ามากอบกู้ประเทศแต่ความสงบยังไม่บังเกิดขึ้น เกิดสงครามทั่วยุโรปโดยจักรพรรดิ Napoleon Bonaparte แต่ในที่สุด Napoleon ก็แพ้สงครามให้กับรัสเซียในปี 1812 ราชวงค์เก่ากลับมาอีกครั้งโดยกษัตริย์ Louis XVIII น้องชายของ Louis XVI ได้ขึ้นครองฝรั่งเศสแทนในช่วงนี้ได้มีการสร้าง Opera house แห่งใหม่ขึ้นใน Paris โรงละครมีชื่อว่า Rue Le Peletier สร้างขึ้นในปี 1821
นักประพันธ์เพลงที่สำคัญในฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 19 มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Giacomo Meyerbeer ( 1791-1864 ) มี Opera ที่สำคัญที่สุดคือ Les Huguenots มี 5 องก์ ประพันธ์เมื่อ 1836 เป็น Opera ที่เรียกว่า Grand Opera ในเรื่องมีฉาก Crown scene ที่ยิ่งใหญ่เป็นเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างคริสต์ศาสนา 2 นิกายคือ Catholics และ Protestants และเป็นเรื่องราวของ St. Valentine นอกจากนี้ Meyerbeer ยังได้นำ Lutheran Chorale “ Ein’ fest Burg ist unser Gott ” เป็นสัญลักษณ์ของนิกาย Protestants
นอกจาก Meyerbeer ยังมีนักประพันธ์เพลงอีกคนที่สำคัญคือ Hector Berlioz ( 1803-1869 ) มี Opera ที่สำคัญคือ Les Troyen ประพันธ์เมื่อปี 1856-1858 แสดงครั้งแรกเมื่อ 1863 เป็น Grand Opera ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งมี 5 องก์ในเรื่องนี้ Berlioz เขียนบทเองโดยอิงจากเรื่อง Aenaid เรื่องอื่นๆของ Berlioz ที่สำคัญคือ Beatrice et Benedict, Benvenuto Cellini, La damnation de Faust เป็นต้น
หลังจาก Berlioz ยังมีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญอีกคือ Charls Gounod ( 1818-1893 ) มี Opera ที่สำคัญคือ Faust มีการพูดบทสนทนา แสดงครั้งแรกที่ Theatre Lyrique ในปี 1859 Opera ที่สำคัญอีกเรื่องคือ Romeo et Juliette ประพันธ์เมื่อ 1867 นักประพันธ์เพลงคนต่อมาคือ Jules Massenet ( 1842-1912 ) มี Opera ที่สำคัญคือ Manon ประพันธ์เมื่อ 1884, Werther ประพันธ์เมื่อ 1892 และ Thais ประพันธ์เมื่อ 1894
เมื่อกระแสของ Exoticism มีอิทธิพลในฝรั่งเศส อิทธิพลได้เข้าไปมีอิทธิพลในงานดนตรีด้วย ในงานของ Opera นักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Georges Bizet ( 1838-1875 ) มี Opera ที่สำคัญคือ The Pearl Fisher ประพันธ์เมื่อ 1863 และ Carmen เรื่องนี้แสดงครั้งแรกเมื่อปี 1875 มีความเป็นวัฒนธรรมของสเปน การเต้นรำแบบสเปน นอกจากนี้ยังมี Opera เรื่องที่สำคัญในกระแสนี้อีกคือ Samson et Dalila ประพันธ์โดย Camille Saint-Saens ( 1835-1921 ) และ Lakme ประพันธ์โดย Leo Delibes
มี Opera ชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วง 1850s เป็นประเภทหนึ่งของ Comic Opera ( ปัจจุบันหมายถึง Opera ที่มีการพูดบทสนทนา ) ที่มีเนื้อหาเสียดสีสังคมหรือล้อเลียนคือ Opera bouffe ริเริ่มโดย Jacque Offenbach ( 1819-1880 ) เป็นผู้ที่นำจังหวะ can-can ให้เทพเจ้าเต้นในเรื่อง Orphee aux enfers ( Orpheus in the Underworld ) ประพันธ์เมื่อปี 1858 Opera เรื่องมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการของ Opera ในอังกฤษ เวียนนา อเมริกา และอื่นๆ ใช้ melody, rhythm, texture และ harmony ที่ง่ายและน่าสนใจ Opera ในลักษณะนี้ในภายหลังจะกลายเป็น Operetta หรือ Opera ขนาดเล็กมีเนื้อหาที่เบาสมอง สนุกสนาน Operetta ต่อมาจะกลายเป็น Musical Broadway ที่สุด
Opera เป็นละครร้องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเทพเจ้าหรือไม่ก็ทางโลกแต่ มีละครร้องที่เกี่ยวกับศาสนาเพียงอย่างเดียวไม่มีการแสดงใดๆทั้งนอกจากยืนร้องเวทีคู่กับวงดุริยางค์เท่านั้น ลักษณะของงานชนิดนี้คือ Oratorio
Oratorio ( Prayer hall ) มีพัฒนาการมาควบคู่กับ Opera ลักษณะของ Oratorio คือ มี recitative และ aria มี Overture บางช่วงมีบทขับร้องกลุ่มหรือ Vocal ensemble เช่นเดียวกันกับ Opera มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับศาสนาโดยอิงจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือมีเนื้อหาที่สั่งสอนให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีนักร้องเดี่ยวขับร้องอยู่หน้าวงดุริยางค์ และมีคณะนักร้องประสานเสียงขนาดใหญ่ยืนอยู่หลังวงดุริยางค์แต่มีบทบาทมากกว่าใน Opera เพราะไมใช่ตัวเสริม แต่มีบทร้องที่ไพเราะและยากพอๆกับกลุ่มขับร้องเดี่ยว ไม่มีการออกท่าทางการแสดงไม่มีฉากอันใหญ่โต ไม่มีชุดตามท้องเรื่อง เมื่อจบบทขับร้องเดี่ยวมักจะตามด้วยบทขับร้องประสานเสียงที่ใหญ่โตอลังการ อาจมีบทเพลงบรรเลงสั้นที่เรียกว่า sinfonie บางช่วงมีบทขับร้องกลุ่มหรือ Vocal ensemble คำร้องส่วนใหญ่เป็นภาษาละติน อิตาเลียนและอังกฤษในกรณีที่เป็น English Oratorio แต่ความนิยมของ Oratorio ยังไม่เท่ากับ Opera ดังนั้นจึงมีนักประพันธ์เพลงไม่กี่คนเท่านั้น การพัฒนาของ Oratorio ไปสุดที่ Handel เท่านั้น
เริ่มปรากฏการใช้คำว่า Oratorio โดย Pope Gregory XIII และเริ่มใช้ครั้งแรกโดย Saint Philip Neri นักประพันธ์เพลงที่มีความสำคัญคนแรกๆคือ Giacomo Carissimi ( 1605-1674 ) มี Oratorio ที่สำคัญคือ Jephte ประพันธ์เมื่อปี 1648 ใช้ภาษาละตินเป็นคำร้องโดยนำมาจาก Judge 11:29-40 นักประพันธ์เพลงที่สำคัญคนต่อมาคือ Marc-Antoine Charpentier ( 1634-1704 ) ลูกศิษย์ของ Giacomo Carissimi เริ่มแต่ง Latin Oratorio ฝรั่งเศส ใช้ต้นแบบจาก Giacomo Carissimi แต่มี recitative และ aria ในแบบทั้งอิตาเลียนและฝรั่งเศส การใช้คณะนักร้องประสานมีความโดดเด่นมาก บางครั้งใช้เป็น Double Choir ในช่วง ปลายศตวรรษที่ 17 Oratorio ยังได้รับการบรรเลงอยู่ ส่วนใหญ่คำร้องใช้ภาษาอิตาเลียนมากกว่าภาษาละติน คำร้องจะมีการวนกลับ
ในช่วงปลายยุค Baroque มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญทั้งงาน Opera และ Oratorio คือ George Friderich Handel ( 1685-1759 ) โดย Oratorio ของ Handel มักจะเป็น English Oratorio และเป็นคนที่ริเริ่มในการประพันธ์ด้วย Oratorio เรื่อง Esther เป็น English Oratorio เรื่องแรกของ Handel แสดงครั้งแรกที่ King’s Theater ในปี 1732 เรื่องต่อมาคือ Saul ประพันธ์ในปี 1739 ใช้เวลาประพันธ์สามเดือน Oratorio เรื่องนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แต่ Handel ยังคงประพันธ์ Oratorio ต่อไปโดยเรื่องต่อไปเป็นเรื่องที่โด่งดังที่สุดของ Handel คือ Messiah โดยมี Charles Jennens เป็น Librettist ออกแสดงครั้งแรกที่ Dublin ประเทศ Ireland ในวันที่ 14 เมษายน 1742 ได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นพ้น มีผู้เข้าชมอย่างล้นหลามจนกระทั่งผู้จัดได้ขอร้องให้ผู้หญิงงดใส่กระโปรงสุ่มเพื่อให้มีที่ว่างมากขึ้นและผู้ชายให้งดติดดาบเพื่อความปลอดภัย ต่อมา Messiah ได้แสดงที่กรุง London ที่ Covent Garden Theater การแสดงครั้งแรกใน London ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จแต่ภายหลังได้รับการยอมรับ ในการชม Messiah มีธรรมเนียมหนึ่งคือ เมื่อถึงท่อน Hallelujah ผู้ชมจะลุกขึ้นเสมอ ธรรมเนียมนี้มีเรื่องเล่าว่า ในการแสดงต่อหน้าพระพักตร์ของ King Georg II เมื่อถึงท่อน Hallelujah พระองค์ประทับใจมากถึงขนาดลืมพระองค์ เผลอลุกขึ้นประทับยืน ทำให้ผู้ชมคนอื่นๆต้องลุกขึ้นยืนโดยเสด็จด้วย เลยกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
นักประพันธ์เพลงที่สำคัญทั้งงาน Opera และ Oratorio ในช่วงยุค Classic คือ Franz Joseph Haydn ( 1732-1809 ) เนื่องจากช่วงที่ Haydn อยู่ที่ London และได้มีโอกาสฟัง Messiah ของ Handel ทำให้ Haydn ประทับใจมาก Haydn จึงประพันธ์ Oratorio บ้าง เรื่องแรกของเขาคือ Die Schöpfung ( The Creation ) ประพันธ์เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1798 เรื่องที่สองคือ The Season ประพันธ์เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1801 ทั้งสองเรื่องเป็นทั้ง German Oratorio และ English Oratorio เพราะมีคำร้องทั้งภาษาเยอรมันและอังกฤษ คำร้องภาษาเยอรมันเขียนโดย Baron Gottfried van Swieten ใน Die Schöpfung ( The Creation ) ยังมีความเป็น word painting อยู่ด้วยเช่น ตอนช่วงเริ่มต้นมีท่อนที่ชื่อว่า Depiction of Chaos ใช้ Harmony ที่เป็น dissonance ใน Dynamic เบา จนถึงประโยคว่า “ and there was light “ คำว่า light ลง Chord C major ด้วย Dynamic ที่ดังมาก เป็นต้น นอกจาก Haydn แล้ว ยังมี Ludwig van Beethoven ( 1770-1827 ) มี Oratorio เรื่อง Christus am Olberge ( Christ on the Mount of Olives ) Op. 85 เป็น German Oratorio
Oratorio ของทั้ง Handel และ Haydn ได้กลายเป็นแก่นของ Choral work ขนาดใหญ่ แต่ในช่วงยุค Romantic ตอนต้น มีนักประพันธ์เพลงที่สนใจในผลงานของ Bach และได้เริ่มรื้นฟื้นผลงานของ Bach โดยเมื่อขณะที่อายุ 20 ปี ได้อำนวยเพลงให้กับ Berliner Singakadamie ด้วยผลงานของ Bach เช่น Mass in B minor, St. Matthew Passion เป็นต้น นักประพันธ์คนนี้คือ Jakob Ludwig Felix Mendelsohn-Bartholdy ( 1809-1847 ) มี Oratorio ที่สำคัญคือ St. Paul ประพันธ์เมื่อปี 1836 และ Elijah ประพันธ์เมื่อปี 1846 ในช่วง final chorus ของเรื่องนี้มีลักษณะแบบ Handel เปิดด้วย Homorhythmic แล้วต่อด้วย Fugue ที่เข้มข้น แล้วจบด้วย Contrapuntal Amen
นอกจาก Mendelsohn ที่มีงาน Oratorio แล้วในช่วงปลายยุค Romantic หรือช่วงปลายศตวรรษที่ 18 คือ Franz (Ferencz) Liszt (1811-1886) มี Oratorio ที่สำคัญสองเรื่องคือ St. Elisabeth ประพันธ์เมื่อปี 1857 เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1862 เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับ St. Elisabeth of Hungary เรื่องที่สองคือ Christus ประพันธ์เมื่อปี 1866 เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1872 เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับคริสตประวัติ ทั้งสองเรื่องได้มีการนำทำนองจาก Chant เข้ามาใช้
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีกลุ่มของนักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส 6 คนคือกลุ่ม Les Six กลุ่มนี้มี Oratorio ที่สำคัญคือ King David ประพันธ์โดย Arthur Honegger ( 1892-1955 ) ประพันธ์เมื่อปี 1923 เรื่องนี้มีการผสมผสานใน style ของ Gregorian Chant – Baroque polyphony – Jazz อีกสองเรื่องต่อมาเป็นของ Darius Milhaud ( 1892-1974 ) มี Oratorio คือเรื่อง Christophe Colomb ประพันธ์เมื่อปี 1928 และเรื่อง Sacred Service ประพันธ์เมื่อปี 1947 เรื่องนี้แสดงความเป็น Jewish ของ Milhaudได้ดี
ในทางฝั่งของอังกฤษมีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญทีมีงาน Oratorio คือ Sir Edward Elgar ( 1857-1934 ) มี Oratorio เรื่อง The Dream of Gerontius ประพันธ์ในปี 1900 นำมาจากบทกวีของ Chatolic ประพันธ์โดย Henry Newman

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง Opera และ Oratorio
1. เนื้อหาของ Opera นั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้าและเรื่องของทางโลก หรือสะท้อนสังคม เสียดสีสังคมได้ เป็นเรื่องทางโลกมากกว่าทางธรรม แต่สามารถสอดแทรกคุณธรรมได้ เนื้อหาของ Oratorio มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับศาสนาโดยอิงจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือมีเนื้อหาที่สั่งสอนให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงามเท่านั้น
2. ในเรื่องของการแสดง Opera มีฉากอันใหญ่โต มีชุดตามท้องเรื่องและมีการออกท่าทางการแสดงตามบทของตนที่ได้รับแต่ Oratorio ไม่มีฉาก ไม่มีชุดตามท้องเรื่อง ไม่มีการแสดงออกท่าทางตามบทของตน เพียงแต่ยืนร้องหน้าวงดุริยางค์เท่านั้น โดยมีคณะนักร้องประสานเสียงยืนอยู่หลังวงดุริยางค์
3. Libretto ของ Opera จะมีภาษาที่หลากหลายแต่ Oratorio ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาละติน อิตาเลียน หรือไม่ก็อังกฤษ เยอรมันมีบ้างในช่วงหลังยุค Baroque บทบาทของคณะนักร้องประสานเสียงใน Opera เป็นเหมือนตัวเสริมสถานการณ์ หรือร้องแซ่ซ้องสดุดีตัวละครตามท้องเรื่องแต่บทบาทของคณะนักร้องประสานเสียงมีความสำคัญมากกว่า Opera กล่าวคือไมใช่ตัวเสริม แต่มีบทร้องที่ไพเราะ อลังการและยากพอๆกับกลุ่มขับร้องเดี่ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น