วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

Concerto

Concerto ความหมายในปัจจุบันคือ ดนตรีประชัน โดยมีทั้งประชันเป็นกลุ่มหรือเดี่ยวประชันกับวงดุริยางค์ หรือแม้กระทั่งประชันกันเองภายในวงดุริยางค์ แต่ในความหมายดั้งเดิมในศตวรรษที่ 17 Concerto มีความหมายว่า เป็นเพลงร้องที่เป็นการนำ Madrigal มาใส่เพลงบรรเลงแบบ Gabrieli โดยที่วงดนตรีทำหน้าที่เสริมแนวร้องเพียงแต่วงดนตรีไม่ได้เล่นแนวเดียวกับแนวร้อง ตัวอย่างเช่น Concerted Madrigal เป็นเพลงร้องที่มีแนวร้องแนวเดียวหรือมากกว่าประสานไปกับแนว Basso Continuo และ Sacred Concerto เป็นเพลงร้องประชันทางศาสนาที่มีเครื่องดนตรีเล่นไปด้วยแต่ไม่ได้เล่นแนวเดียวกับแนวร้อง
ในช่วงศตวรรษที่ 17 หรือช่วงต้นยุค Baroque นักประพันธ์เพลงนิยมประพันธ์เพลงศาสนาประเภทต่างๆเช่น Vesper, Psalm หรือ Mass movement โดยใช้หลายแนวเสียงประกอบกับวงดนตรี ใช้คณะนักร้องประสานเสียงจำนวนมาก เพลงศาสนาในลักษณะนี้เรียกว่า Large – scale Sacred concerto มักจะประพันธ์เมื่อโบสถ์ขนาดใหญ่ต้องการจัดงานฉลองขนาดใหญ่ เช่น Giovanni Gabrieli ได้ประพันธ์ Motet ที่ใช้วงขับร้องประสานเสียงหลายวง ให้กับโบสถ์ St. Mark’s ในเมือง Venice หรือ Orazio Benevoli ( 1605-1672 ) นักประพันธ์เพลงที่มีความสำคัญโดยเฉพาะ Catholic music ได้ประพันธ์ Psalms, motets และ Masses สำหรับ วงขับร้องประสานเสียง 3 วงหรือมากกว่า ประสานกับ Organ ส่วนมากประพันธ์สำหรับโบสถ์ St. Peter ในกรุง Rome ในช่วง 1640s
สำหรับโบสถ์ขนาดเล็กก็จะมี small sacred concerto แทน มีลักษณะคือไม่ใช้วงขับร้องประสานเสียงขนาดใหญ่หลายวงแต่ใช้นักร้องหนึ่งหรืออาจมากกว่าประสานกับ Organ เป็น Continuo บางครั้งอาจมี Violin หนึ่งหรือสองเครื่องบรรเลงประกอบด้วย นักประพันธ์เพลงที่ถือเป็นรุ่นบุกเบิกคือ Lodovico Viadana ( 1560-1627 ) มีผลงานคือ Cento concerti ecclesiastici ( One Hundred Church Concerto ) เป็นฉบับแรกในชุด 1602 collection โดย Viadana ได้แต่งทำนองและเสียงประสานที่เป็นลักษณะของ Polyphony แบบศตวรรษที่ 16 ใช้นักร้อง 1-4 คนประสานไปกับ Basso Continuo
Sacred Concerto ได้มีอิทธิไปถึงเยอรมันและพวก Lutheran มีผลงานลักษณะ Large – scale Sacred concerto มีทั้งผลงานของ Hans Leo Hassler และ Michael Praetorius นอกจากนี้อิทธิพลของ Viadana ในด้านของ small sacred concerto ยังเข้ามาอิทธิพลอย่างมากในดินแดนเยอรมัน Johann Hermann Scherin ( 1586-1630 ) ได้ตีพิมพ์อัลบัมรวมเพลงสองเล่มในปี 1618 และ 1626 ที่ใช้ชื่อว่า Opella nova ( New Little Works ) เล่มแรกส่วนมากจะเป็น Duet ประสานกับ Basso Continuo เป็นการประสานบน Chorale เล่มที่สองยังคงมี Chorale Duet แต่คำร้องส่วนใหญ่มาจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล และยังมีการใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบด้วยมีตั้งแต่เครื่องเดียวไปจนถึงลักษณะของ ensemble
นักประพันธ์เพลงที่สำคัญที่สุดใน Sacred Concerto คือ Heinrich Schutz ( 1585-1672 ) ลูกศิษย์ของ Gabriel และได้พบกับ Monteverdi เป็นนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันคนแรกที่มีชื่อเสียงไกลออกไปนอกเยอรมัน ผลงานที่สำคัญคือ อัลบัมรวมเพลงสามเล่มคือ Symphoniea sacrae I,II และ III อัลบัมชุดแรกตีพิมพ์เมื่อปี 1629 ที่ Venice รวมเพลง Latin Motet สำหรับทั้งทั้งกลุ่มนักร้องและกลุ่มเครื่องดนตรี อัลบัมชุดนี้แสดงอิทธิพลของทั้ง Monteverdi และ Grandi โดยเฉพาะ recitative, aria และ Concerted Madrigal อัลบัมชุดที่ 2 และ 3 เริ่มตีพิมพ์ในปี 1647 และ 1650 ตามลำดับ และเริ่มเผลแพร่หลังสงคราม 30 ปี ( 1618-1648 ) ในชุดนี้มี Sacred Concerto ที่เป็นภาษาเยอรมัน หนึ่งในเพลงในอัลบัมชุดนี้คือ Saul, was verfolgst du mich เป็น Large – scale Sacred concerto ใช้วงขับร้องประสานเสียงสองวงโดยมีเครื่องดนตรีเล่นแนวร้องด้วย ใช้นักร้อง 6 คน ใช้ Violins 2 เครื่อง และแนว Basso Continuo ใช้ Polychoral ในแบบของ Gabrieli พร้อมกับ dissonant ในแบบ Monteverdi
นอกจากนี้ยังมีหนังสือรวมเล่มที่สำคัญอีกชุดคือ Klein geistliche Konzert (small sacred concerto )ตีพิมพ์ในปี 1636 และ 1639 ในช่วงของ สงคราม 30 ปี ( 1618-1648 ) เป็นอัลบัมรวม Motet สำหรับนักร้อง 1-5 คนประสานกับ Basso Continuo
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 นักประพันธ์เพลงเริ่มที่จะแบ่งแยกระหว่างเพลงสำหรับ Chamber ensemble และเพลงสำหรับ Orchestra ซึ่งในกลุ่มเครื่องสายในหนึ่งแนวจะใช้คนมากกว่าสองคน เริ่มที่ฝรั่งเศสในสมัยของ Louis XIII เริ่มปรากฏ String ensemble ซึ่งสามารถเรียกว่าเป็นวงดุริยางค์หรือ Orchestra วงแรกได้ ในหนึ่งแนวจะมีนักดนตรีประมาณ 4-6 คน ต่อมาในช่วง 1670s วงดนตรีในลักษณะนี้ได้เริ่มปรากฏที่อื่นๆเช่น Rome, Bologna, Venice เป็นต้น
ในช่วง 1680s - 1690s นักประพันธ์เพลงต่างๆ ได้ให้กำเนิดบทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นชนิดของบทประพันธ์ที่สำคัญมากในช่วงยุค Baroque คือ Concerto อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากเครื่องดนตรีเริ่มมีคุณภาพมากขึ้นเริ่มผลิตเสียงที่ไพเราะขึ้น ในช่วง 1700s concerto ได้ถูกแบ่งเป็น 3ชนิด ชนิดแรกคือ Ripieno Concerto หรือ Orchestral Concerto เป็น Concerto ที่มีการประชันกันระหว่างกลุ่มเครื่องดนตรี โดยที่ไม่มีเครื่องดนตรีเครื่องใดเครื่องหนึ่งโดดเด่นออกมา ชนิดที่สองคือ Concerto Grosso เป็น Concerto ที่มีการประชันกัน 2 กลุ่มคือ กลุ่ม Concertino เป็นกลุ่มเครื่องเดี่ยวและ กลุ่ม Ripieno หรือ Tutti เป็นกลุ่มของวงดุริยางค์ มีต้นแบบจาก Trio Sonata ชนิดสุดท้ายคือ Solo Concerto เป็น Concerto ที่กำหนดให้มีเครื่องเดี่ยวเพียงเครื่องเดียวประชันกับวงดุริยางค์โดยผู้เดี่ยวมีโอกาสแสดงความสามารถได้เต็มที่ต่างจาก Concerto Grosso ที่มีผู้บรรเลงเดี่ยวหลายคน
ตั้งแต่วงดุริยางค์ในกรุง Rome สามารถแบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่ม Concertino และ Ripieno จึงเริ่มเกิด Concerto Grosso ขึ้นโดยนักประพันธ์เพลงใน Rome ที่มีชื่อว่า Arcangelo Corelli ( 1653-1713 ) มีผลงานที่สำคัญคือ Concerti Grossi Op.6 ประพันธ์ในช่วงปี 1680s Corelli ถือเป็นนักประพันธ์เพลงคนแรกที่มีความสำคัญด้าน Concerto Grosso และยังมีความสำคัญในการให้กำเนิดระบบ Tonal ขึ้น โดยไม่สนใจที่การใช้ Mode อีกต่อไป ต่อมา Concerto Grosso ได้แพร่หลายไปในประเทศอิตาลี อังกฤษ และเยอรมนี หนึ่งในคนที่สนใจใน Corellian Concerto Grosso คือ George Muffat ( 1653-1704 ) นักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน นักประพันธ์เพลงที่สำคัญใน Concerto ต่อจาก Corelli คือ Giuseppe Torelli ( 1658-1709 ) เขาประพันธ์ Concerto ทั้ง 3 ชนิดผลงานที่สำคัญคือ Concerti Op.5 ตีพิมพ์เมื่อ 1692 หนึ่งในชุดนี้มี Trumpet Concerto, Concerti Op.6 ตีพิมพ์เมื่อ 1698 ประกอบไปด้วย Solo Violin Concertos 2 บท, Concerti Op.8 ประกอบไปด้วย Solo Violin Concertos 6 บทและ Concerti Grossi 6 บท ส่วนใหญ่แบ่งเป็น 3 ท่อนคือ เร็ว – ช้า – เร็ว โดยมีต้นแบบจาก Italian Overture แบบแผนนี้เริ่มแน่นอนขึ้นในงานของ Tomaso Albinoni ( 1671-1750 ) แบบแผนนี้กลายเป็นแบบแผนของ Concerto ต่อไป
ในศตวรรษที่ 18 มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญมากคนหนึ่งในงาน Concerto คือ Antonio Vivaldi ( 1674-1741 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่พัฒนา Concerto โดย เฉพาะ Solo Concerto โดยมี Form ที่ใช้คือ Ritornello form จำนวนท่อน Vivaldi ได้ยึดตามแบบของ Albinoni คือ มีสามท่อน เร็ว – ช้า – เร็ว ในท่อนช้าใช้ key เดิมหรืออาจเป็น Closely related key ก็ได้ ได้รับอิทธิจาก Corelli และ Torelli
Vivaldi มีวงเครื่องสายอยู่ที่ Pieta มีจำนวน 20-25 คนประกอบด้วย Violins I, Violins II, Violas, Cellos, Bass Viols ( ปัจจุบันใช้ Double Bass ) เล่นแนวเดียวกับ Cellos ซึ่งวงเครื่องสายที่แบ่งแนวแบบนี้เป็นมาตรฐานจนถึงปัจจุบัน และต้องมี Basso Continuo อยู่ด้วย
Vivaldi มี Concerto มากมายนอกจาก Violin Concerto แล้วยังมีทั้ง Concerto สำหรับ Flute, Oboe, Bassoon นอกจากมีเครื่องเดี่ยวหนึ่งเครื่องแล้ว ยังมี Concerto ที่มีเครื่องมากกว่าสองเครื่องด้วย แต่ Vivaldi ไม่เรียกว่าเป็น Concerto Grosso นอกจากนี้ยังมี Ripieno Concerto อีก 60 บท
งานของ Vivaldi ถูกเรียกว่า Romantic Concerto เพราะมีลักษณะของการแสดงอารมณ์ และมีลักษณะของ Program music ในยุค Romantic ตัวอย่างเช่น The four season Op. 8 เป็น Violin Concerto 4 บท มีทั้งหมด 4 ฤดูคือ Violin Concerto in E major “ Spring ” RV. 269, Violin Concerto in G minor “ Summer ” RV. 315, Violin Concerto in F major “ Autumn ” RV. 293, Violin Concerto in F minor “ Winter ” RV. 297
Ritornello form ที่ใช้ใน Concerto ของ Vivaldi มีลักษณะคือ Tutti – Solo – Tutti – Solo ไปเรื่อยๆโดยที่ข้างในเปลี่ยน key แต่ในตอนจบต้องจบด้วย key เดิม Vivaldi ส่งอิทธิพลให้ J.S.Bach ต่อไป
Johann Sebastian Bach ( 1685-1750 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่สำคัญต่อ Concerto ได้รับอิทธิพลจาก Vivaldi Bach ได้นำ Concerto ของ Vivaldi มาเรียบเรียงเป็น Concerto for Organ หรือ Harpsichord Solos Concerto ที่สำคัญที่สุดของ Bach คือ Brandenburg Concertos อุทิศให้แก่ Margrave of Brandenburg ในปี 1721 มีทั้งหมด 6 บท form ที่ใช้เป็นแบบเดียวกันกับ Vivaldi นอกจากนี้ Bach ยังได้แต่ง Concerto สำหรับ Keyboard เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นไม่มีวงดุริยางค์คือ Italian Concerto in F major BWV. 971 แต่มีเสียงที่ฟังแล้วคล้ายกับว่ากำลังประชันกับวงดุริยางค์อยู่ในลักษณะของ Ritornello form
George Friderich Handel ( 1685-1759 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่มี Concerto ที่สำคัญหลายบท เช่น Concerti Grossi Op.3 มี 6 บท, Grand Concertos Op. 6 อยู่ใน Form แบบ Sonata da chiesa คือ ช้า – เร็ว – ช้า – เร็ว และ Concerto for Organ and Orchestra เป็น Organ Concerto บทแรกใช้เล่นระหว่างพักครึ่งการแสดงของ Oratorio ของเขา ได้รับการตีพิมพ์ 3 ครั้งคือปี 1738, 1740 และ 1761 Organ Concerto นั้นไม่ค่อยมีใครประพันธ์ในช่วงต่อมา และปรากฏอีกครั้งในงานของ Francois Poulence นักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสหนึ่งในกลุ่ม Les Six ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และในงานของ Olivier Messiaen นักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสในยุคศตวรรษที่ 20
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่กำลังเปลี่ยนรูปแบบของแนวคิดทางสังคมและมีอิทธิพลต่องานดนตรีด้วยเช่น ทำนองฟังง่ายขึ้น Alberti Bass เข้ามาแทน Basso Continuo วงดุริยางค์สามารถเล่นดัง-เบาได้
ในงาน Concerto นั้นเหลือเพียง Solo Concerto เท่านั้นที่เหลือรอดมาได้ ในช่วงนี้ Piano เริ่มได้รับความนิยมแทน Harpsichord เพราะสามารถทำเสียงดัง-เบาได้และมีกลไกที่แข็งแรงและมีเสียงที่ไพเราะมากขึ้น จึงเริ่มมีการประพันธ์ Piano Concerto ขึ้นโดยที่คนแรกที่ประพันธ์คือ Johann Christian Bach ( 1735-1782 ) ลูกชายของ J.S.Bach เป็นนักประพันธ์ในช่วง Galant Style และเป็นครูของ Wolfgang Amadeus Mozart
Concerto ในช่วงนี้ยังคงมี 3 ท่อนแต่ในมี Form ที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะท่อนที่หนึ่ง มีอิทธิพลของ Sonata form ( บางคนเรียกว่า Modified Sonata form ) อยู่ในท่อนที่หนึ่งและก่อนที่จะจบท่อนที่หนึ่งมักจะมีช่วงที่เรียกว่า Cadenza มีไว้ให้ผู้บรรเลงเดี่ยวสามารถแสดงความสามารถได้เต็มที่โดยการ Improvise ก่อนจะถึงช่วง Cadenza วงดุริยางค์จะเล่น Chord I 2nd Inversion แล้วทั้งวงจะหยุดลงเปิดโอกาสให้ผู้บรรเลงเดี่ยวสามารถแสดงความสามารถได้เต็มที่เมื่อจะส่งต่อให้วง ผู้บรรเลงเดี่ยวจะเล่น Trill ยาวๆเป็นสัญญาณให้วงรับ Chord V แล้วเข้าสู่ Closing theme
เมื่อถึงยุคของ Wolfgang Amadeus Mozart ( 1756 -1791 ) โครงสร้างของ Concerto ยังไม่เปลี่ยนจากของ J.C. Bach หรือแทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยกล่าวคือ มี 3 ท่อน ท่อนแรกใช้ Sonata form ตามแบบของ J.C.Bach คือเริ่มด้วย Orchestral Exposition ส่วนนี้วงดุริยางค์จะเล่น Theme I – Transition – Theme II – Closing Theme ทั้งหมดนี้อยู่ใน Tonic key ในส่วนของวงจะเรียกว่า Ritornello เมื่อวงดุริยางค์เล่นส่วนนี้จบแล้ว Solo ก็จะเล่น Solo Exposition ประกอบด้วย Theme I อยู่ใน Tonic key แล้วต่อด้วย Transition เพื่อนำสู่การเปลี่ยน Key ใหม่ เข้า Theme II ใน Dominant key ในกรณีที่เป็น major key ถ้าเป็น minor key Theme II จะอยู่ใน Relative major ต่อมาจะเข้าสู่ Closing Theme ใน key ของ Theme II เมื่อจบส่วนนี้วงจะรับต่อใน Theme I ที่เป็น key ใหม่และทำหน้าที่เป็น Closing Theme ของ Exposition โดย Ritornello แล้วต่อด้วย Development โดย Solo จะเข้าก่อนสลับกับ Ritornello ในส่วนนี้จะมีการเปลี่ยน key ตลอดเพื่อแสดงถึงความเก่งกาจของผู้ประพันธ์เพลง ก่อนจะจบช่วงนี้วงที่เป็น Ritornello จะรับใน Chord V แล้วจึงจะเข้าสู่ Recapitulation โดยวงนำเข้ามาก่อนแล้วต่อด้วย Solo กลับเข้าสู่ Theme I อีกครั้งใน Tonic key จากนั้นจะต่อด้วย Transition ที่ไม่พาให้เปลี่ยน key ต่อจากนั้นจึงเข้า Theme II ที่เป็น Tonic key หลังจากนั้นวงจะรับเพื่อพาเข้าสู่ Cadenza โดยที่วงเล่น Chord I 2nd Inversion ด้วยเสียงที่ดังแล้วเงียบลงเปิดโอกาสให้ผู้บรรเลงเดี่ยวสามารถแสดงความสามารถได้เต็มที่เมื่อจะส่งต่อให้วง ผู้บรรเลงเดี่ยวจะเล่น Trill ยาวๆเป็นสัญญาณให้วงรับ Chord V แล้วเข้าสู่ Closing theme ที่จบด้วย Tonic key โดย Ritornello บางครั้ง Mozart ใช้ Closing theme เพื่อที่จะเข้าสู่ Theme I ที่กลับมาโดยวงหรือส่วนของ Ritornello แบบของ J.C.Bach แต่ใน Piano Concerto in A major K.488 Mozart ใช้ส่วนของ Transition แทน
ในท่อนที่ 2 Mozart ได้ประพันธ์ทำนองในลักษณะของ aria ใน Dominant key หรือ Subdominant key หรือ Relative minor key Form ที่ใช้มักจะเป็น Sonata form ที่ไม่มี Development หรือ Theme and Variation หรือ Rondo form บางบทมี Cadenza อยู่ด้วยมีลักษณะเดียวกับกับท่อนที่หนึ่ง
ในท่อนที่ 3 Form มักจะใช้ Rondo form หรือ Sonata – rondo form อาจมี Cadenza อยู่ด้วยเช่นกันซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งครั้ง
Concerto ที่สำคัญของ Mozart เช่น Piano Concertos ทั้ง 27 บท, Violin Concertos ทั้ง 5 บท, Flute Concerto 2 บท K. 313-314, Concerto for Flute, Harp and Orchestra in C major K. 299, Clarinet Concerto in A major K. 622, Oboe Concerto in C major K.314, Horn Concerto ทั้ง 6 บท, Sinfonia Concertante for Violin, Viola and Orchestra in Eb major K.364, Bassoon Concerto in Bb major K.191 เป็นต้น
ในส่วนของ Cadenza นั้น เดิมผู้บรรเลงเดี่ยวจะ Improvise เองโดยนำทำนองที่อยู่ใน Concerto มาใช้ แต่ภายหลัง Ludwig van Beethoven ( 1770-1827 ) ได้ลงมือประพันธ์ Cadenza เองเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บรรเลงเดี่ยว Improvise จนออกนอกลู่นอกทาง ใน Piano Concerto No.4 และ No.5 เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ Cadenza ขึ้นมาก่อนที่จะเข้า Exposition เสียอีก Concerto ที่สำคัญคือ Piano Concerto ทั้ง 5 บท, Violin Concerto in D major Op.61 เพลงนี้ Beethoven ได้เรียบเรียงเป็น Piano Concerto ด้วย, Triple Concerto for Violin, Cello, Piano and Orchestra in C major Op.56 เป็นต้น
Solo Concerto ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ตลอดจนเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 หรือยุค Romantic ในช่วงที่กระแส Virtuoso เข้มข้นขึ้นโดยมี Nicolo Paganini ( 1782-1840 ) เป็นผู้นำกระแสทำให้ Concerto เป็นบทเพลงที่ยากมากขึ้นจากยุคก่อนด้วยเทคนิคที่ผาดโผนมากขึ้นและความยาวของเพลงมากขึ้นทำให้ผู้บรรเลงเดี่ยวต้องฝึกซ้อมมากขึ้นตามไปด้วย
ส่วน Concerto Grosso และ Ripieno Concerto ได้หายไปเมื่อเข้าสู่ยุค Classic แต่ปรากฏอีกเมื่อถึงยุคศตวรรษที่ 20 เริ่มปรากฏ Ripieno Concerto เช่น Concerto for Orchestra ของ Bela Bartok ( 1881-1945 ) หรือ Concerto for Orchestra ของ Elliot Carter ( 1908- ) เป็นต้น สำหรับงานของ Concerto Grosso เช่น Concerto Grosso ของ Alfred Schnittke ( 1934-1998 ) เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น