วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

Symphony

Symphony คือบทเพลงขนาดใหญ่สำหรับวงดุริยางค์ แต่เดิมใช้ในแทนเพลงบรรเลงหรือใช้แทน Overture หรือใช้เป็น Intermezzo ใน Opera หรือ Oratorio ปรากฏในภาษาอิตาเลียนในคำว่า Sinfonia แต่ Symphonyในลักษณะที่รู้จักกันปัจจุบัน ถือกำเนิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 และกลายเป็นบทประพันธ์ที่สำคัญและเป็นที่นิยมมากที่สุดชนิดหนึ่ง
Symphony เริ่มถือกำเนิดขึ้นในช่วงปี 1730 มีที่มาหลายจากหลายแหล่ง แต่ที่ใกล้เคียงที่สุดคือ Italian Sinfonia หรือ Italian Overture มีลักษณะคือแบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ เร็ว – ช้า – เร็ว แต่ยังไม่แบ่งเป็นท่อนขาดจากกัน ในช่วง 1700 มี Opera Overture หลายเรื่องที่มีโครงสร้างเป็น เร็ว – ช้า – เร็ว ในช่วงที่หนึ่งเป็นจังหวะที่เร็วในอัตราของ Allegro แล้วต่อด้วยท่อนช้าในจังหวะ Andante และท่อนสุดท้ายอยู่ในจังหวะที่เร็วในลักษณะเพลงเต้นรำเช่น minuet หรือ gigue เป็นต้น บทเพลงแบบนี้สามารถเล่นแยกออกมาได้ แหล่งที่มาที่สำคัญอีกแหล่งที่ใกล้เคียงคือ Ripieno Concerto หรือ Orchestral Concerto ของ Torelli และนักประพันธ์เพลงคนอื่นๆ Ripieno Concerto อยู่ในโครงสร้างที่แบ่งเป็น 3 ท่อนคือ เร็ว – ช้า – เร็ว อยู่ Texture แบบ Homophony นอกจาก Italian Overture และ Ripieno Concerto ที่เป็นแหล่งที่มาที่สำคัญแล้ว แหล่งที่มาของ Symphony แหล่งอื่นๆประกอบไปด้วย Sonata da Chiesa จากอิตาลีทางตอนเหนือมักจะใช้โครงสร้างแบบ เร็ว – ช้า – เร็ว , Orchestral Suite เองก็เป็นแหล่งที่มาของ Symphony ได้โดยเฉพาะโครงสร้างแบบ Binary form
แหล่งกำเนิดของ Symphony นั้นอยู่ที่ Milan ในอิตาลีนักประพันธ์เพลงที่ให้กำเนิด Symphony คือ Giovanni Battista Sammatini ( 1700-1775 ) ตัวอย่างงาน Symphony ที่สำคัญคือ Symphony in F major No. 32 ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี 1740 เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย 4 parts String : Violin I, Violin II, Viola และ Bass ในแนว Bass ประกอบด้วย cellos, Bass Viol และอาจมี Harpsichord และ Bassoon มีทั้งหมด 3 ท่อนแยกจากกันคือ เร็ว – ช้า – เร็ว ในท่อนแรกอยู่ในจังหวะ Presto มี 2 ทำนองหลัก โดยที่ทำนองแรกและทำนองที่สองมีลักษณะที่ตรงข้ามกันในแบบของ Koch เช่น ทำนองแรกอยู่ใน Tonic key ทำนองที่สองอยู่ใน Dominant key หรือในกรณีที่เป็น minor key ทำนองแรกอยู่ใน Tonic key ทำนองที่สองอยู่ใน Relative major key เป็นต้น แต่ Symphony ของ Sammatini ไม่ยาวมากใช้เวลาประมาณ 10 นาที ต่อ Symphony หนึ่งบทเท่านั้น
บทเพลง Symphony ได้แพร่ขยายไปทางเหนือไปสู่ Germany, Austria, France และ England และเมืองที่โดดเด่นที่สุดคือเมือง Mannheim ที่เมืองนี้มีวงดุริยางค์อยู่ในภายใต้การนำของ Charles Berney ที่อาจเรียกได้ว่าเก่งที่สุดในยุโรปในสมัยนั้น วงนี้สามารถกระโดดขั้นคู่ไกลได้ทำให้เกิด Mannheim rocket เครื่องสายสามารถเล่น Tremolo พร้อมกันได้ทำให้วงสามารถทำ Crescendo และ Diminuendo และทำให้ Dynamic มีช่วงที่กว้างขึ้น วงสามารถเล่นโน้ตเร็วได้ ทำให้เหล่านักประพันธ์เพลงมองเห็นว่า วงดุริยางค์สามารถทำอะไรได้อีกบ้าง จำนวนเครื่องดนตรีในวงเริ่มมีความแน่นอนมากกว่าช่วงก่อนหน้านี้ และมีลักษณะคล้ายวงในปัจจุบันมากขึ้น
ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 18 เริ่มปรากฏ Form ใหม่คือ Sonata form เป็นที่นิยมมาก ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ท่อนแรกของงานดนตรีแทบจะทุกชนิด Sonata form เริ่มปรากฏครั้งแรกโดย Heinrich Christoph Koch ในตำรา Introductory Essay on Composition ตำรานี้ได้พูดถึง Phrases และ Periods Koch ได้อธิบายถึง Form ที่มีการขยายออกจาก Binary form โดยมี 2 ส่วนใหญ่ ในแต่ละส่วนจะมีการย้อน ในส่วนแรกเริ่มที่ Tonic key แล้วย้ายไป Dominant key หรือในกรณีที่เป็น minor key เริ่มที่ Tonic key แล้วย้ายไป Relative major key ในส่วนนี้มี 1 Period ในส่วนที่สองกลับมาที่ Tonic key ในส่วนนี้ 2 Periods
ตารางเปรียบเทียบระหว่าง Form ของ Koch และ Sonata form
Koch’s Model
Sonata form
First Section
First and second phrase I
Third phrase mod to V
Fourth phrase V
Appendix V
Exposition
First Theme I
Transition mod to V
Second Theme V
Closing Theme V

Second Section
First Main Period
Free mod, often vi.ii.iii
Prepare for return on V
Second Main Period
First and second phrase I
Third phrase mod
Fourth phrase I
Appendix I
Development
Development idea
from exposition mod
Retransition on V
Recapitulation
First Theme I
Transition mod
Second Theme I
Closing Theme I


ต่อมาในช่วง 1830s นักทฤษฎีดนตรีได้วิเคราะห์ Form โดยมองในลักษณะ 3 ส่วน ไม่เหมือน Koch ที่มองเป็น Expanded Binary Form แต่สอดคล้องกัน Form ที่มองในลักษณะ 3 ส่วนแบ่งได้ดังต่อไปนี้
1. Exposition ส่วนนี้จะมี Theme I หรือ Group of Theme ที่อยู่ใน Tonic key ต่อด้วย Transition ที่พาไปหา key ใหม่คือ Dominant key หรือ Relative major แล้วเข้า Theme II ใน Key ใหม่และจบด้วย Closing Theme อยู่ใน key ใหม่ เมื่อจบส่วนนี้มักจะย้อนอีกครั้ง
2. Development มีการเปลี่ยน key หลายโดยนำ Theme มาจาก exposition
3. Recapitulation เป็นส่วนย้อนกลับ มีทุกอย่างคล้ายใน exposition แต่ Theme II อยู่ใน Tonic Key และจบด้วย Closing Theme ที่อยู่ใน Tonic key

ราชสำนักในเมือง Mannheim ถือว่าเป็นผู้พัฒนาดนตรีที่สำคัญในยุโรปและทำให้เมือง Mannheim เป็นศูนย์กลางทางดนตรีในยุโรปในสมัยนั้น นักประพันธ์เพลงหลายคนได้เคยมาที่นี่มาแล้วด้วยภายใต้การนำของ Johann Stamitz ( 1717-1757 ) นักประพันธ์เพลงชาว Bohemian
ในเมือง Mannheim มีนักประพันธ์เพลงที่สำคัญคือ Johann Stamitz ( 1717-1757 ) นักประพันธ์เพลงชาว Bohemian มีความสำคัญมากด้านบทเพลง Symphony เป็นคนแรกที่ Symphony มี 4 ท่อนคือเพิ่มท่อน minuet and trio เป็นท่อนที่ 3 และท่อนที่ 4 มีความเร็วที่เร็วมาก ( Presto ) ในท่อนที่ 1 ลักษณะที่ contrast กันอย่างเห็นได้ชัดความเร็วที่ใช้ในท่อนแรกคือ Allegro มีความยาวมากกว่าของ Sammatini เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบด้วย 4 String parts เหมือนของ Sammatini แต่ Stamitz เพิ่ม 2 Oboes และ 2 Horns ต่อมาจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ
ในเมืองที่เป็นศูนย์กลางของดนตรีอีกแห่งคือ Vienna มี นักประพันธ์เพลงที่สำคัญในช่วงนี้คือ George Christoph Wagenseil ( 1715-1777 ) อีกเมืองคือ Paris เป็นศูนย์กลางของนักประพันธ์เพลงอีกแห่ง นักประพันธ์เพลงหลายคนเช่น Sammatini, Stamitz และ Wagenseil ได้เดินทางเข้ามาที่เมืองนี้โดยนำ Symphony เข้ามาด้วย หนึ่งในนักประพันธ์เพลงที่เดินทางเข้าในเมืองนี้คือ Francois – Joseph Gossec ( 1734-1829 ) มาที่ Paris ในปี 1751 ต่อมากลายเป็นนักประพันธ์เพลงคนที่สำคัญในฝรั่งเศสในช่วงที่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสและเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการของ Paris Conservatoire มีผลงานทั้ง Symphonies, String Quartet และ Comic Opera
ในช่วงปี 1770 มี Symphony ชนิดหนึ่งที่ มีลักษณะเป็น Concerto ที่มีเครื่องเดี่ยวมากกว่าหนึ่งเครื่อง มีชื่อว่า Sinfonia Concertante เป็นที่นิยมอยู่มากในยุค Classic
นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงด้านการประพันธ์ Symphony มากคนหนึ่งคือ Franz Joseph Haydn ( 1732-1809 ) โดยเขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่ง Symphony ฉายานี้ไม่ได้มาจากการสร้างเพลง Symphony แต่เป็นผู้ที่พัฒนาต่อจนสมบูรณ์
Symphony ของ Haydn มีทั้งหมด 4 ท่อนโดยท่อนแรกจะอยู่ใน Sonata form อยู่ในจังหวะที่เร็วบ่อยครั้งที่เริ่มด้วย Introduction ที่ช้า ท่อนที่ 2 มักจะอยู่ใน Ternary, Rondo หรือ Theme and Variation อยู่ในจังหวะที่ช้าและผ่อนคลาย ท่อนที่ 3 Minuet – Trio เป็นเพลงเต้นรำในจังหวะแบบ Minuet อยู่ใน Ternary form ท่อนที่ 4 อยู่ในจังหวะเร็ว มักจะอยู่ใน Sonata form, Rondo, Rondo - Sonata หรือ Theme and Variation
Haydn มี Symphony ทั้งหมด 104 บท งานที่สำคัญคือ 12 London Symphonies Haydn เป็นคนที่มีนิสัยขี้เล่นมาก เช่น ใน Symphony No. 94 in G major ( Surprise ) ในท่อนที่สอง เริ่ม Theme ด้วย Dynamic ที่เบามาก แต่ อยู่ดีๆวงก็เล่น Chord ดังมาก จุดประสงค์คือเพื่อจะแกล้งผู้ชมที่ชอบหลับเมื่อถึงท่อนสอง เป็นต้น
วงดุริยางค์ที่ Haydn ใช้เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยเพิ่ม Flute, 2 oboes, 2 Clarinets 2 Bassoons, 2 Horns, 2 Trumpet และ Timpani จะเล่นโน้ต Tonic และ Dominant ในช่วงนี้ Basso Continuo เริ่มหายไปแล้ว
นักประพันธ์เพลงคนที่มีความสำคัญต่องาน Symphony คนต่อมาคือ Wolfgang Amadeus Mozart ( 1756 -1791 ) โครงสร้างของ Symphony ยังไม่เปลี่ยนไปมากนัก ขนาดของวงยังเหมือนกันกับ Haydn มี Symphony ประมาณ 41-46 บท ( หมายเลขสุดที่ 41 แต่แผ่นบันทึกเสียงในปัจจุบันมี 46 บท ) งานที่สำคัญคือ Symphony No.25, 29, 31, 35, 36, 39, 40, 41
Ludwig van Beethoven ( 1770-1827 ) เป็นนักประพันธ์เพลงที่มีความสำคัญต่องาน Symphony เป็นอย่างมาก ไม่เพียงแค่ Symphony แต่รวมถึง Concerto, Sonata, Chamber music etc.ด้วย วงดุริยางค์ที่ Beethoven ใช้มีขนาดใหญ่ขึ้นจากวงของ Haydn และ Mozart โดยที่กลุ่ม Wind ใช้แนวละ 2 เครื่องเป็นส่วนใหญ่ Beethoven ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในงาน Symphony หลายอย่างเช่น ท่อนที่ 3 เปลี่ยนจาก Minuet เป็น Scherzo, การไม่หยุดพักระหว่างท่อน, ใช้ Trombone , Piccolo และ Contrabassoon หรือใช้วงขับประสานเสียงและนักร้องเดี่ยว เป็นต้น Beethoven มี Symphony ทั้งหมด 9 บท ทุกบทเป็นงานที่ดีหมด แต่มีบางบทที่สำคัญคือ Symphony No.3 in Eb major Op. 55 “ Eroica “ เดิมอุทิศ Napoleon Bonaparte โดยตั้งชื่อว่า Bonaparte แต่เมื่อ Napoleon สถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศส Beethoven จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Eroica แทน Symphony บทนี้มีความยาวมากกว่า Symphony บทอื่นๆก่อนหน้านี้ เสียงวงใหญ่ขึ้น มี dynamic ที่กว้างมากขึ้น ในกลุ่มเครื่อง Horns ใช้ Horn 3 เครื่อง มี Theme ใหม่เกิดขึ้นใน Development ของท่อนที่ 1 เริ่มด้วย 2 Chord ที่ดังมาก มีการขยายทั้ง Melody และ Harmony มากขึ้น ในท่อนที่ 2 ที่มีทำนองที่ผ่อนคลายแต่มีความเครียดมากขึ้นโดยที่ท่อนนี้เป็น Funeral March ที่มีความหดหู่อย่างมาก มีช่วงที่เป็น March ในลักษณะของฝรั่งเศสโดยมี March แบบ Gossec ท่อนที่ 3 มี Form เป็น Scherzo – trio แทน Minuet จังหวะมีความเร็วมากขึ้น ท่อนที่ 4 เป็น Theme and Variation โดยนำ Theme จาก Ballet เรื่อง The Creation of Prometheus ของ Beethoven เอง ตอนกลางของท่อนมีลักษณะเป็น Fugue จบด้วยลีลาที่เร็วและ มี Chord โต้ตอบกับระหว่างกลุ่มเครื่องสายและกลุ่ม Winds
Symphony No.5 in C minor Op. 67 เป็น Symphony ที่โดดเด่นที่สุดบทหนึ่งของ Beethoven จุดเด่นของ Symphony บทนี้คือ การเล่นกับ Motive เดียวทั้งเพลงโดยจะซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ แต่ท่อนที่ 1 ยังคงชัดเจนอยู่ เครื่องดนตรีที่ใช้มีมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่ม Winds เพิ่ม Piccolo, Contrabassoon, Alto Trombone, Tenor Trombone และ Bass Trombone กลุ่มเครื่อง Strings แบ่งเป็น 5 parts ในแนว String Basses กลุ่ม Cellos และ Double Basses เริ่มแยกออกจากกัน ในปลายท่อนที่ 3 และท่อนที่ 4 ไม่มีช่วงที่หยุดพัก
Symphony No.6 in F major Op. 68 “ Pastoral” Symphony บทนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อไปยังยุค Romantic เพราะเพลงมีลักษณะเป็น Program Symphony ในยุค Romantic ซึ่งเป็น Program music ชนิดหนึ่ง โครงสร้างของ Symphony เปลี่ยนไปเพราะมี 5 ท่อนจากเดิมมี 4 ท่อน มีลักษณะของการบรรยายให้เห็นภาพโดยใช้เครื่องดนตรีเลียนเสียงต่างๆเช่นใช้กลุ่มเครื่องสายแทนเสียงเสียงลมพายุและเสียงน้ำไหล, เสียงนกชนิดต่างๆ ใช้ Woodwind ในการเลียนเสียง, ใช้ Horn เสียงหมาป่า, ใช้ Timpani แทนเสียงฟ้าผ่า เป็นต้น
Symphony No.9 in D minor Op.125 “ Choral “ เป็น Symphony ที่มีขนาดใหญ่กว่า Symphony ทีเคยมีมาก่อนหน้านี้ ใช้วงที่มีขนาดใหญ่มากในสมัยนั้นเครื่องดนตรีประกอบด้วย 1 Piccolo, 2 Flutes, 2 Oboes, 2 Clarinets, 2 Bassoons 1 Contrabassoon, 4 Horns, 2 Trumpets, Alto Trombone, Tenor Trombone, Bass Tronbome , Timpani, Triangle, Cymbal, Bass Drum, Violins I, Violins II, Violas, Cellos, Double Basses ในท่อนสุดท้าย Beethoven ยังได้ใช้วงขับร้องประสานเสียงและนักร้องเดี่ยวอีก 4 คนคือ Soprano, Alto, Tenor และ Baritone โครงสร้างของ Symphony เปลี่ยนไป เพราะในท่อนที่ 2 เป็นท่อน Scherzo – trio และท่อนที่ 3 เป็นท่อนช้า และในท่อนที่ 4 มีการใช้วงขับร้องประสานเสียงและนักร้องเดี่ยวโดยที่ขับร้องบทกวีของ Friedrich von Schiller ที่มีชื่อว่า ” Ode An die Freude “ Beethoven เป็นคนแรกในท่อนนี้ยังมีลักษณะแบบ Opera นิดหน่อยคือ เมื่อถึงช่วงของที่นักร้อง Baritone เป็นช่วงที่เป็น recitative และจึงเข้า Theme หลัก
ในท่อนที่ 4 เริ่มที่จะไม่สามารถระบุ Form ที่ชัดเจนได้ มีลักษณะของ Turkish March มี Theme ใหม่ปรากฏขึ้นเยอะ ตรงกลางท่อนมีลักษณะเป็น Double Fugue ในช่วง Coda เล่นด้วยความเร็วที่เร็วมาก
Beethoven เป็นเสมือนผู้ที่วางรากฐานให้กับยุค Romantic หรือ ยุคศตวรรษที่ 19 และเลยไปถึงศตวรรษที่ 20 ด้วย นักประพันธ์เพลงรุ่นหลังที่ความสำคัญในงาน Symphony ประกอบไปด้วย Schubert, Berlioz, Mendelssohn, Schumann, Brahms, Tchaikovsky, ( Dvorak, Borodin, Saint – Sean ), Mahler, Sibelius, Prokofiev, Shostakovich, Copland, Ives, ( Nielsen ) เป็นต้น และงานประเภท Symphony ยังคงได้รับนิยมอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น